แพ้ไข่คืออะไร
การแพ้ไข่ (Egg Allergy) เป็นการแพ้อาหารชนิดหนึ่งที่มักเกิดในเด็ก จากการวิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับภูมิแพ้อาหาร หากเด็กมีอาการแพ้ไข่ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะจำแนกโปรตีนที่พบในไข่ว่าเป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อเด็กรับประทานโปรตีนจากไข่ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กจะตอบสนองโดยการหลั่งสารฮีสทามีนและสารเคมีอื่นๆเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของอาการการแพ้ ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้
ใครที่มีความเสี่ยงในการแพ้ไข่
ทุกคนสามารถแพ้ไข่ได้ แต่ในบางคนจะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่:
-
อายุ: การแพ้ไข่มักเกิดในเด็กมากที่สุด
-
สภาพผิว: หากลูกของคุณมีอาการทางผิวหนังบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) พวกเขามีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การแพ้อาหาร
-
พันธุกรรม: หากพ่อ, แม่ หรือทั้งคู่มีประวัติแพ้อาหาร บุตรหลานก็มักมีอาหารแพ้อาหารด้วยเช่นกัน ครอบครัวไหนที่มีประวัติการแพ้ เช่น แพ้อาหารทะเล สิ่งเหล่านี้สามารถส่งต่อความเสี่ยงสู่ลูกหลานได้
ส่วนใดของไข่ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้
ผู้ที่แพ้ไข่มักจะมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนที่พบในไข่ที่เรียกว่าอัลบูมิน (Albumin) ผู้ป่วยจะมีปฏิกิริยาการแพ้ต่อโปรตีนในไข่แดง หากเด็กที่มีการแพ้ไข่ แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไข่
อาการแพ้ไข่ที่ไม่รุนแรง
อาการแพ้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางชนิดก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่เด็กบริโภคไข่ และมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก
ผื่นลมพิษเป็นหนึ่งในอาการแพ้ โดยจะมัลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงบนใบหน้าของเด็ก หรือส่วนต่างๆของร่างกาย ภายหลังรับประทานไข่ อาการเล็กๆน้อยๆของการแพ้ ได้แก่:
อาการแพ้ไข่รุนแรง
บางราย เด็กของคุณอาจมีปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงต่อไข่ เรียกว่า Anaphylaxis การแพ้ชนิดนี้เกิดขึ้นเร็วมากและส่งผลต่อระบบต่างๆของร่างกายภายในครั้งเดียว นอกเหนือจากอาหารที่ไม่รุนแรงขึ้นแล้ว อาการการแพ้แบบ Anaphylaxis อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น:
- ลิ้นและริมฝีปากบวม
- รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ
- หายใจลำบาก
- วิงเวียนศีรษะ
- ความดันโลหิตต่ำกระทันหัน
- หมดสติ
การแพ้แบบ Anaphylaxis ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วโดยการฉีดอะดรีนาลีน
การป้องกัน
หากลูกของคุณแพ้ไข่ ทางเดียวที่จะช่วยป้องกันปฏิกิริยาการแพ้ก็คือหลีกเลี่ยงการบริโภคไข่ การเรียนรู้วิธีตรวจสอบว่าอาหารหรือผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของไข่หรือโปรตีนจากไข่หรือไม่ ก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่ง บางครั้งโปรตีนจากไข่ก็มีชื่อที่หลากหลาย เช่น:
-
ไวเทลลิน (vitellin)
-
ซิมเพลส (simplesse)
-
ไลโซโซม (lysozyme)
-
ลิฟติน (livetin)
-
เลซิติน (lecithin)
-
โกลบูลิน (globulin)
-
อัลบูมิน (albumin or albumen)
-
คำที่ขึ้นต้นด้วย “ova” or “ovo,” คำนำหน้าของ ovum, จะเป็นคำในภาษาลาติน หมายถึง ไข่
ควรช่วยเด็กในการเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากไข่ หรือมีไข่เป็นส่วนประกอบ
ระวังแหล่งที่มาของไข่
ไข่สามารถปรากฏได้ในอาหารหรือเครื่องดื่มหลายชนิด แม้ในสถาณที่ที่ไม่คาดคิด นอกเหนือจากนี้ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่นคุกกี้และเค้ก ไข่เป็นส่วนประกอบในนั้น:
-
พาสต้า
-
น้ำสลัด
-
มายองเนส
-
มีทโลฟ และลูกชิ้น
-
พุดดิ้ง
-
มาร์ชเมลโลว์
-
เค้กเคลือบน้ำตาล
-
เครื่องดื่มพิเศษ
หากคุณไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีไข่หรือโปรตีนจากไข่เป็นส่วนประกอบหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามผู้ผลิตได้
การรักษาอาการแพ้ไข่
หากเด็กเคยถูกวินิจฉัยว่าแพ้ไข่มาแล้ว แพทย์จะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ โดยแพทย์เฉพาะทางดังกล่าวจะช่วยให้คุณและบุตรหลานของคุณเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงและรักษาอาการแพ้
การรักษาปฏิกิริยาการแพ้ที่ไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ยาต้านฮีสตามีน ส่วนการรักษาปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรง เด็กควรได้รับอะดรีนาลีน ซึ่งยาดังกล่าวจะช่วยลดอาการบวม, กระตุ้นการเต้นของหัวใจ, เพิ่มความดันโลหิต และช่วยให่หายใจดีขึ้น อะดรีนาลีนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ในขั้นแรกของอาการแพ้ชนิดรุนแรงและรีบนำส่งหน่วยฉุกเฉินเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษา การแพ้แบบ Anaphylaxis อาจถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนของไข่
การแพ้ไข่เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในเด็ก อาจมีตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ไข่อาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่เป็นโรคภูมิแพ้สัมผัสกับไข่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนและข้อควรพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ไข่:- ปฏิกิริยาการแพ้: ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของการแพ้ไข่คือปฏิกิริยาการแพ้ ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ลมพิษ คัน หรือน้ำมูกไหล ไปจนถึงปฏิกิริยาที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่คุกคามถึงชีวิตซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตลดลง และหมดสติได้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ทันทีหากเกิดภาวะภูมิแพ้
- ผลกระทบทางสังคมและอารมณ์: การมีชีวิตอยู่กับอาการแพ้ไข่สามารถส่งผลทางสังคมและอารมณ์ได้ การรับมือกับสถานการณ์ทางสังคม เช่น งานวันเกิดหรือการรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งอาจเป็นเรื่องท้าทายที่อาจมีอาหารที่มีไข่อยู่ด้วย เด็กที่แพ้ไข่อาจรู้สึกว่าถูกกีดกันหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเอง
- ข้อกังวลด้านโภชนาการ: ไข่เป็นแหล่งโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ ผู้ที่แพ้ไข่อาจต้องทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจำเป็นต้องงดไข่ออกจากอาหาร
- กลุ่มอาการภูมิแพ้ในช่องปาก: ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ไข่บางรายอาจมีอาการภูมิแพ้ในช่องปาก (OAS) เมื่อบริโภคผลไม้หรือผักดิบที่มีโปรตีนคล้ายกับในไข่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคันหรือรู้สึกเสียวซ่าในปากหรือลำคอ การปรุงผักหรือผลไม้มักจะช่วยขจัดปฏิกิริยานี้
- โรคหอบหืดและกลาก: ในบางกรณี การแพ้ไข่อาจสัมพันธ์กับอาการแพ้อื่นๆ เช่น โรคหอบหืดหรือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การจัดการสภาวะเหล่านี้อาจต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุมซึ่งรวมถึงการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในไข่
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/egg-allergy/symptoms-causes/syc-20372115
-
https://kidshealth.org/en/kids/egg-allergy.html
-
https://www.webmd.com/allergies/egg-allergy
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team