ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดคืออะไร
ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด (Disseminated intravascular coagulation :DIC) เป็นสภาวะที่พบได้น้อยและเป็นอันตรายถึงชีวิต ในช่วงแรกของอาการดังกล่าวเกิดจากเลือดจับตัวเป็นก้อนมากเกินไป จึงเป็นผลให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ทำให้ไปลดการไหลเวียนของเลือดและขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ขณะที่อาการดำเนินไป เกล็ดเลือดและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะตอบสนองต่อการรวมตัวกันของเลือดเป็นลิ่มเลือด เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นคุณจะเริ่มมีเลือดออกมากเกินไป
ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดเป็น dic ภาวะที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากคุณมีเลือดออกแล้วไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ให้ไปหน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล หรือโทร 1669 ติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา
อาการของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
การมีเลือดออก บางครั้งเกิดจากหลายที่ในร่างกาย หนึ่งในอาการที่พบบ่อยของภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดคือการมีเลือดออกในเนื้อเยื่อเยื่อเมือก(Mucosal tissue) (ภายในปากและจมูก) และบริเวณภายนอกร่างกายส่วนอื่นๆก็อาจเกิดได้ นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากการมีเลือดออกภายใน
อาการอื่นๆได้แก่:
-
มีลิ่มเลือด
-
พกช้ำง่าย
-
มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือทวารหนัก
-
มีจุดแดงตามผิวหนัง(Petechiae)
หากคุณเป็นโรคมะเร็ง ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำมากกว่าที่จะเกิดภาวะเลือดออกมากเกิน
สาเหตุของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
เมื่อโปรตีนถูกใช้ในกระบวนการการแข็งตัวของเลือดตามปกติกลายมาเป็นถูกใช้มากเกินไป จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด การติดเชื้อ, การบาดเจ็บที่รุนแรง(เช่น การบาดเจ็บที่สมอง หรือการประสบอุบัติเหตุจากการชนกัน), การอักเสบ, การผ่าตัด และโรคมะเร็ง ทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันดีว่ามีส่วนทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
สาเหตุที่พบได้น้อยที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด ได้แก่:
-
อุณหภูมิร่างกายต่ำมากๆ(Hypothermia)
-
ถูกงูพิษฉก
-
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดของคุณอาจลุกลามหากคุณเกิดภาวะช็อก
ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดจะขึ้นๆลงๆหากคุณพึ่งจะ:
-
เข้ารับการผ่าตัด
-
คลอดลูก
-
มีการทำแท้งที่ไม่สมบูรณ์
-
มีการเปลี่ยนถ่ายเลือด
-
มีการใช้ยาระงับความรู้สึก
-
มีการติดเชื้อ หรือเชื้อราอื่นๆ หรือแบคทีเรียในเลือด
-
เป็นโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-
เนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ, แผลไฟไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง
-
เป็นโรคตับ
การวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด
ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดอาจระบุผ่านการตรวจที่หลากหลายที่สัมพันธ์กับระดับเกล็ดเลือด, ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด และส่วนประกอบของเลือดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ขั้นตอนพื้นฐาน การตรวจตามข้างล่างนี้จะถูกสั่งตรวจ หากแพทย์สงสัยภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด:
-
การตรวจหาการย่อยสลายของไฟปริน
-
การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ จากการตรวจเลือด
-
การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ จากตัวอย่าง
-
การตรวจเกล็ดเลือด
-
การตรวจการแข็งตัวของเลือด (Partial thromboplastin time)
-
D-dimer test
-
การตรวจหาเซรัมไฟปริโนเจน
-
การตรวจการแข็งตัวของเลือด (Prothrombin time)
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด
ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นทั้งจากการที่เกิดลิ่มเลือดมากเกินไปที่ซึ่งเกิดในระยะแรกของภาวะดังกล่าวและการเกิดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ซ้อนเร้นในช่วงระยะท้ายๆ ภาวะแทรกซ้อนได้แก่:
-
ลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนไปยังอวัยวะส่วนปลาย
-
เลือดออกมากเกินไปจนนำไปสู่การเสียชีวิต
การรักษาภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
การรักษาภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดขึ้นอยู่กับสาเหตุของความผิดปกติที่ทำให้เกิดขึ้น การรักษาที่สาเหตุจึงเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อรักษาปัญหาลิ่มเลือดคุณอาจได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีชื่อว่า เฮปปาริน(Heparin) เพื่อลดและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด อย่างไรก็ตาม เฮปปารินอาจจะไม่ได้ถูกจ่ายให้ หากคุณอยู่ในภาวะขาดเกล็ดเลือดรุนแรงหรือเลือดออกมากเกินไป
ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน(กระทันหัน)ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งมักอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) โดยการรักษาจะจะมุ่งเป้าไปที่สาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวระหว่างนั้นก็รองรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ
การเปลี่ยนถ่ายเลือดอาจจำเป็นเพื่อใส่เกล็ดเลือดเข้าไปแทนที่ในส่วนที่หายไป การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่าสามารถเติมปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเข้าไปแทนที่ในส่วนที่ขาดไปได้
แนวโน้มในระยะยาวของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
แนวโน้มของการรักษาขึ้นอยู่กับว่าอะไรคือสาเหตุที่ลุกลามไปสู่การเกิดภาวะดังกล่าว หากสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ ปัญหาลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดก็จะคลี่คลายเช่นกัน หากไม่ แพทย์อาจสั่งให้เลือดน้อยๆเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ผู้ที่ได้รับเลือดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพทั่วไป แพทย์จะต้องการให้คุณตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าเลือดของคุณเป็นลิ่มหรือไม่
โภชนาการที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
โภชนาการสามารถมีบทบาทสนับสนุนในการจัดการลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด ซึ่งเป็นภาวะทางการแพทย์ที่ซับซ้อนซึ่งมีลักษณะของการแข็งตัวของเลือดผิดปกติและมีเลือดออกทั่วร่างกาย แม้ว่าโภชนาการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาภาวะนี้ได้ แต่สามารถช่วยตอบสนองความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจงและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมในระหว่างการรักษาได้ ข้อควรพิจารณาด้านโภชนาการสำหรับบุคคลที่มีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด คือ :- ดื่มน้ำให้เพียงพอ:การมีน้ำเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่มีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด อาจทำให้หลอดเลือดเสียหายได้ และภาวะขาดน้ำอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ การให้ความชุ่มชื้นที่เพียงพอช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีและสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
- อาหารที่สมดุล:การรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งรวมถึงอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญ อาหารที่สมดุลจะให้วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพโดยรวมและการรักษา
- โปรตีน:โปรตีนมีความสำคัญต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาสุขภาพของระบบหลอดเลือด รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมันในอาหารของคุณ เช่น สัตว์ปีก ปลา เนื้อไม่ติดมัน เต้าหู้ พืชตระกูลถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม
- วิตามินเค:บางครั้งภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด อาจส่งผลให้ระดับวิตามินเคต่ำ ซึ่งจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือดอย่างเหมาะสม ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเพิ่มอาหารที่มีวิตามินเคสูงในอาหารของคุณ เนื่องจากอาหารเหล่านั้นอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาโรคภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
- วิตามินซี:วิตามินซีมีความสำคัญต่อสุขภาพของหลอดเลือด และสามารถช่วยรักษาความสมบูรณ์ของผนังหลอดเลือดได้ รวมแหล่งวิตามินซี เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว เบอร์รี่ และผัก เช่น บรอกโคลีและพริกหยวก ในอาหารของคุณ
- ธาตุเหล็ก:ธาตุเหล็กจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินและเซลล์เม็ดเลือดแดง หากภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด ส่งผลให้มีเลือดออกมาก ผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณอาจแนะนำอาหารเสริมธาตุเหล็กหรืออาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว และผักใบเขียว
- โฟเลตและวิตามินบี 12:วิตามินเหล่านี้มีความสำคัญต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดที่แข็งแรง หากคุณมีเลือดออกมาก ให้พิจารณาอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต (เช่น ผักใบเขียวและถั่ว) และวิตามินบี 12 (พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม)
- กรดไขมันโอเมก้า 3:ไขมันที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม แหล่งที่มา ได้แก่ ปลาที่มีไขมัน (เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล) เมล็ดแฟลกซ์ และวอลนัท
- ไฟเบอร์:อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์สามารถสนับสนุนสุขภาพทางเดินอาหารและช่วยป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
- ความต้องการแคลอรี่:ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง คุณอาจต้องได้รับแคลอรี่เพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการพลังงานของร่างกาย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
https://medlineplus.gov/ency/article/000573.htm
https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/disseminated-intravascular-coagulation
https://www.msdmanuals.com/home/blood-disorders/bleeding-due-to-clotting-disorders/disseminated-intravascular-coagulation-dic
Disseminated Intravascular Coagulation (DIC)
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team