ฟันบิ่น (Chipped Tooth) มีสาเหตุมาจากเคลือบฟันที่ปกคลุมอยู่ด้านนอกสุดของฟันเป็นส่วนที่มีความแข็งแรงมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถูกแรงอัดหรือเมื่อมีการสึกหรอเสื่อมสภาพก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ฟันบิ่นได้ รอยบิ่นทำให้พื้นผิวของฟันไม่เรียบเนียน มีลักษณะแหลม มีฟันผิดรูป
อาการของฟันบิ่น
หากการบิ่นเกิดขึ้นเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและไม่ใช่ฟันซี่ที่อยู่ด้านหน้า คุณอาจไม่มีทางรู้ได้เลย เมื่อคุณมีอาการนั้นอาจเป็นอาการต่างๆดังต่อไปนี้:- รู้สึกว่าฟันแหลมคมเมื่อลิ้นไปสัมผัสโดน
- การระคายเคืองของเหงือกรอบๆบริเวณที่เกิดฟันบิ่น
- การระคายเคืองลิ้นจากการสัมผัสขอบฟันที่สากและขรุขระ
- มีอาการเจ็บเมื่อเคี้ยวอาหารหรือกัดฟัน และอาจรู้สึกปวดมากหากฟันที่บิ่นอยู่ใกล้เส้นประสาทฟัน
สาเหตุที่ทำให้ฟันบิ่น
ฟันบิ่นเกิดหลายจากหลายสาเหตุ สาเหตุทั่วๆไปเช่น :- การกัดของที่มีลักษณะแข็งอย่างเช่นน้ำแข็งหรือลูกอม
- การหกล้มหรือการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
- การเล่นกีฬาที่ต้องปะทะกันโดยไม่ได้ใส่ฟันยางป้องกัน
- การนอนกัดฟัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฟันบิ่น
ฟันที่อ่อนแอมักเสี่ยงเกิดฟันแตกได้มากกว่าฟันที่แข็งแรง ปัจจัยที่ทำให้ฟันอ่อนแอเช่น:- ฟันผุและฟันเป็นโพรง การอุดโพรงฟันขนาดใหญ่จะทำให้ตัวเคลือบฟันเสียหาย
- การกัดฟันทำให้เคลือบฟันสึกหรอ
- การรับประทานอาหารที่มีกรดอย่างเช่นน้ำผลไม้ กาแฟและอาหารรสจัดสามารถทำความเสียหายให้เคลือบฟัน และทำหน้าผิวหน้าฟันง่ายต่อการถูกทำลาย
- ภาวะกรดไหลย้อนหรืออาการแสบร้อนกลางอก ปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยทำให้กรดในกระเพาะอาหารย้อนออกมาทางปากและทำลายเคลือบฟัน
- กลุ่มโรคการกินผิดปกติหรือการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนทำให้อาเจียนออกมาบ่อยครั้ง ทำให้กรดไปกัดกร่อนเคลือบฟันเสียหาย
- การสะสมของแบคทีเรียที่เกิดจากน้ำตาล
- เคลือบฟันเสื่อมสภาพตามเวลา คนที่อายุมากกว่า50ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่เคลือบฟันจะอ่อนแอมากขึ้น จากการศึกษาของ Journal of Endodonticsพบว่า2ใน3ของคนที่ฟันบิ่นมีอายุมากกว่า50ปี
ฟันแบบใดที่มีความเสี่ยง
ฟันที่อ่อนแอเป็นฟันที่มีความเสี่ยง แต่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าฟันกรามล่างซี่ที่สองมีความเสี่ยงสูงเพราะเป็นซี่ที่ต้องรับแรงกระแทกจากการเคี้ยวมากที่สุด และฟันที่ผ่านการอุดมามีแนวโน้มที่จะบิ่นได้ง่ายการวินิจฉัยฟันบิ่น
ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยอาการฟันบิ่นได้ด้วยการตรวจช่องปากและฟัน โดยจะประเมินจากลักษณะอาการและสอบถามพฤติกรรมของผู้ป่วยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยบิ่นทางเลือกในการรักษาฟันบิ่น
การรักษาฟันบิ่นขึ้นอยู่กับตำแหน่งซี่ฟัน ระดับความรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้น หากยังไม่พบว่ามีอาการปวดที่รุนแรงจนทำให้ไม่สามารถรับประทานได้หรือไม่สามารถนอนหลับได้ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบพบแพทย์ แต่ผู้ป่วยก็ควรรีบนัดแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อหรือความเสียหายของฟันในอนาคต ฟันบิ่นเล็กน้อยอาจใช้วิธีการรักษาง่ายๆอย่างการกรอฟันหรือขัดฟัน อาการฟันบิ่นที่เป็นในวงกว้างแพทย์อาจให้คำแนะนำดังต่อไปนี้การนำฟันส่วนที่แตกกลับมาติดใหม่
หากพบเศษที่แตกออกมาให้ผู้ป่วยนำไปแช่ไว้ในนม แคลเซียมจากนมจะช่วยให้เศษฟันคงสภาพที่เหมาะสมต่อการนำกลับมาติด ในกรณีที่ไม่มีนม ให้ผู้ป่วยเหน็บเศษฟันนั้นไว้ระหว่างเหงือกกับกระพุ้งแก้ม ต้องแน่ใจว่าจะไม่กลืนมันลงไปด้วย จากนั้นให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อติดเศษฟันกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งการอุดฟันด้วยวัสดุที่มีสีเหมือนฟัน
ด้วยวัสดุอุดฟันอย่างพลาสติกเรซิ่นหรือเซรามิค พอร์ชเลน นำมายึดเกาะกับฟันซี่ดังกล่าวและตกแต่งรูปร่างให้เหมือนฟันจริง จากนั้นจะฉายแสงอัลตราไวโอเลตเพื่อให้วัสดุอุดฟันแห้งและแข็งตัว หลังจากแห้งแล้วรูปทรงของฟันก็จะคงรูปติดอยูกับฟัน การอุดฟันชนิดนี้สามารถอยู่ได้นานประมาณ10ปีการทำวีเนียร์
ขั้นตอนการทำวีเนียร์คือทันตแพทย์จะกรอผิวชั้นเคลือบฟันประมาณ0.3-1.2มิลลิเมตรออกก่อน ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบฟันเพื่อส่งไปทำวีเนียร์ ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวทันตแพทย์อาจจะติดวีเนียร์ชั่วคราวไว้ให้ เมื่อวีเนียร์ถาวรพร้อมแพทย์จะทำงานติดเข้ากับฟันจริง วีเนียร์มีอายุการใช้งานนานถึงประมาณ30ปีการซ่อมแซมทันตกรรมแบบออนเลย์
หากรอยบิ่นที่ฟันที่เกิดขึ้นมีผลกระทบในการบดเคี้ยวอาหารบ่อยๆอย่างบริเวณผิวหน้าฟันกราม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบฟันเพื่อสร้างออนเลย์ในห้องปฏิบัติการ หลังออนเลย์เสร็จสมบูรณ์ทันตแพทย์จะนำมาใช้อุดฟันซี่ที่มีปัญหา ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทันตแพทย์สามารถทำออนเลย์ได้และติดมันได้ในวันเดียวกันเลย การซ่อมแซมทันตกรรมแบบออนเลย์สามารถอยู่ได้นานราว10ปี แต่ความคงทนของออนเลย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารเองด้วย หากคุณรับประทานอาหารที่ส่งผลให้ออนเลย์เสื่อมสภาพง่ายหรือใช้ฟันซี่ที่ติดออนเลย์ในการบดเคี้ยวอาหารบ่อยๆก็อาจทำให้ออนเลย์สึกหรอได้ง่ายการดูแลตนเองสำหรับฟันบิ่น
ในระหว่างรอพบทันตแพทย์เพื่อซ่อมแซมฟันบิ่น ผู้ป่วยอาจต้องลดอาการบาดเจ็บของฟันตนเองก่อนไปพบทันตแพทย์ดังนี้- ทำอุปรณ์ชั่วคราวใส่ทดแทนด้วยวัสดุเช่น ถุงชา หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล แวกซ์สำหรับฟันคลุมฟันที่แหลมคมไว้เพื่อป้องกันลิ้นกับเหงือกของผู้ป่วยเอง
- รับประทานยาแก้ปวดเช่นไอบูโรเฟน(Advil, Motrin IB)หากมีอาการปวด
- ประคบน้ำแข็งบนแก้มด้านนอกหากรอยบิ่นฟันทำให้บริเวณดังกล่าวระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงการใช้ฟันซี่ที่บิ่นในการเคี้ยวอาหาร
- อมน้ำมันกานพลูรอบๆบริเวณที่เหงือกมีอาการปวดเพื่อให้บริเวณดังกล่าวชา
- ใส่ยางกันกระแทกสำหรับฟันเมื่อต้องเล่นกีฬาหรือใส่ตอนนอนหากคุณนอนกัดฟัน
ภาวะแทรกซ้อนของฟันบิ่น
หากรอยบิ่นขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อรากฟัน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การดูแลรากฟันจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ และนี่คืออาการของภาวะติดเชื้อ- ปวดฟันขณะรับประทานอาหาร
- เสียวฟันเมื่อกินอาหารร้อนหรือเย็น
- มีไข้สูง
- มีกลิ่นปากและกลิ่นเปรี้ยวภายในปาก
- มีต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณคอหรือกราม
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/oral-health/guide/repairing-a-chipped-or-broken-tooth
- https://www.nhs.uk/conditions/chipped-broken-or-cracked-tooth/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น