ยี่หร่า (Caraway) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

ยี่หร่าคืออะไร

ยี่หร่าคือเครื่องเทศที่มีลักษณะเฉพาะที่มีมายาวนาน มักนำมาใช้ในการประกอบอาหารและเป็นใช้เป็นยาสมุนไพร มักมีความเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งกับเจ้าเม็ดยี่หร่าเล็กๆ ฝักสีน้ำตาลนี้ จริงๆแล้วมันคือ ผลแห้งที่ได้มาจากต้นยี่หร่า (Carum carvi L.)  ยี่หร่าจะมีรสขมอ่อนๆ มีกลิ่นดินๆชาวให้นึกถึงชะเอมเทศผักชี โป๊ยกั๊ก และเฟนเนล จะใช้ทั้งต้นหรือแบบบดในอาหารหวานและคาว เช่น ขนมปัง เพรสตรี้ แกงกะหรี่และสตูว์ บางครั้งอาจนำไปเพิ่มกลิ่นหอมให้กับเหล้าสปิริตและลิเคอร์ก็ดีเยี่ยม  เมื่อยี่หร่าถูกนำมาใช้เป็นยา อาจนำผงยี่หร่ามาใช้ในชาหรือเป็นอาหารเสริม คุณอาจนำมาใช้เป็นน้ำมันหอมสำหรับผิวได้ด้วย ตามความจริงจากการวิจัยพบว่ากลิ่นหอมของยี่หร่ามีส่วนประกอบที่ส่งผลต่อการรับรู้รสที่ชัดเจนซึ่งอาจทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่นทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ต่อไปนี้คือข้อควรรู้เกี่ยวกับสารอาหาร ประโยชน์และวิธีการใช้ยี่หร่า

สารอาหารในยี่หร่า

ยี่หร่ามีสารอาหารที่จำเป็นมากมาย ซึ่งมักเป็นสารอาหารในคนรับประทานแบบตะวันตกมักพร่องไป ซึ่งรวมไปถึงธาตุเหล็ก สังกะสี แคลเซียมและใยอาหาร ยี่หร่าเพียงแค่ 1 ช้อนชา (6.7 กรัม) สามารถให้สารอาหารดังต่อไปนี้:
  • แคลลอรี่: 22
  • โปรตีน: 1.3 กรัม
  • ไขมัน: 0.9 กรัม
  • คาร์บ: 3.34 กรัม
  • ใยอาหาร: 2.6 กรัม
  • ทองแดง: ร้อยละ 6.7% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
  • เหล็ก: ร้อยละ 6.1% สำหรับผู้หญิง
  • แมกนีเซียม: ร้อยละ 5.4% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
  • แมงกานีส: ร้อยละ 4.8% สำหรับผู้หญิง
  • แคลเซียม: ร้อยละ 3.6% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
  • สังกะสี: ร้อยละ 4.6%สำหรับผู้หญิง
ยิ่งไปกว่านั้น ยี่หร่ายังมีสรรพคุณของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อเรื่องสุขภาพได้มาก ซึ่งรวมถึงลิโมนีน และคาร์โวน

ยี่หร่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ยี่หร่ามีการนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นยาพื้นบ้านมานานหลายศตวรรษแล้ว ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น จากการวิจัยเบื้องต้นพบว่ายี่หร่าสรรพคุณมีประโยชน์อีกมากมายหลายอย่าง

อาจช่วยลดอาการอักเสบ

ยี่หร่ามีส่วนประกอบหลายชนิดซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบและมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้มข้น ในขณะที่การอักเสบ คือ การตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกาย การอักเสบเรื้อรังก็อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคอื่นๆได้อีกมาก เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีอาการเช่นเกิดแผล ปวดเกร็ง มีแก๊ส ท้องเสีย อยากถ่ายกระทันหันและเนื้อเยื่อของการย่อยเกิดอาการระคายเคือง จากการศึกษาหนูที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง พบว่ายี่หร่าสกัดและน้ำมันหอมระเหยจะช่วยลดอาการอักเสบในเนื้อเยื่อลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีพอๆกับการใช้ยาที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม แต่จากผลที่ได้นั้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในคน

อาจช่วยทำให้ทางเดินอาหารมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ยี่หร่ามีประวัติว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคทางเดินอาหารได้หลายชนิด รวมไปถึงอาหารไม่ย่อยและแผลในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาในคนที่มีไม่มากนักแสดงให้เห็นว่าน้ำมันยี่หร่าทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหารผ่อนคลาย ดังนั้นจึงสามารถช่วยบรรเทาอาการมีแก๊ส ปวดเกร็งและท้องอืดได้ดี จากการศึกษาในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยยี่หร่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ชนิดอันตรายในขณะเดียวกันก็ไม่ได้แตะต้องกับเชื้อแบคทีเรียชนิดดี เพราะเชื้อแบคทีเรียที่ดีจะผลิตสารอาหาร ลดการอักเสบ ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและยังช่วยสนับสนุนสุขภาพที่ดีของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อีกหนึ่งกรณีศึกษายังพบด้วยว่า ยี่หร่าสกัดสามารถต่อสู้กับเชื้อเอชไพโลโร เป็นเชื้อแบคทีเรียที่รู้กันดีว่าเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและระบบการย่อยอาหารอักเสบ

อาจช่วยในการลดน้ำหนัก

ยี่หร่าอาจช่วยในการลดน้ำหนักและสัดส่วนของร่างกาย จากการศึกษาผู้หญิงจำนวน 70 คนเป็นเวลา 90 วัน โดยให้รับประทานน้ำมันยี่หร่าจำนวน 1 ออนซ์ (30มล.)ของ 10% เป็นประจำวันทุกวันสามารถลดน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายและจำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้มากกว่ากลุ่มที่กินยาหลอก อีกทั้งยังช่วยลดแคลลอรี่รวมและการบริโภคคาร์บได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับคนที่กินยาหลอก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าสิ่งนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ดีของแบคทีเรียในลำไส้นั้นส่งผลต่อการควบคุมฮอร์โมน การเผาผลาญไขมันและความอยากอาหาร Caraway

วิธีปลูกใบยี่หร่า

ต้นยี่หร่าสามารถเลือกแบบปีหรือสองปี เป็นพืชฤดูใบไม้ร่วง ถ้าเพาะปลูกในเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ในแถบช่ายฝั่งและอากาศอบอุ่น ยี่หร่าจะหว่านในเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวคตลอดฤดูหนาว เม็ดยี่หร่าแพร่กระจายได้โดยตรงจากการหว่านเมล็ดหรือต้นกล้าโดยตรง แช่เมล็ดไว้ในน้ำอุณหภูมิห้องเป็นเวลาสองวัน ยี่หร่าต้องการดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง  ใบยี่หร่าจะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะรูปกลมรี โคนใบสอบ ใบยี่หร่ามี่กลิ่นเฉพาะตัว มีรสร้อน ดอกยี่หร่าจะออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด แต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก

วิธีการใช้ยี่หร่า

ยี่หร่าคือพืชที่มีการเพาะปลูกไปทั่วโลกและมีราคาไม่แพง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำทั่วไป

เพื่อในการประกอบอาหาร

ยี่หร่าเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นส่วนผสมที่สุดที่สุดสำหรับขนมปังไรย์และขนมปังโซดาแบบไอริช และก็ยังสามารถนำไปใช้ในขนมอบอื่นๆได้ดีด้วยเช่นกัน เช่นมัฟฟิน คุ๊กกี้ ครูตองซ์ ดินเนอร์โรลและเฟรนโทสต์ และยังสามารถใส่เพิ่มเติมความเผ็ดร้อนให้กับขนมหวานที่มีส่วนผสมของผลไม้และมีรสหวานเช่น พาย ทาร์ต แยม เจลลี้และคัสตาร์ด สามารถใช้ในอาหารคาวเช่น รมควัน แกงกะหรี่ สตูว์ ซุปและซอส ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถลองใช้เป็นเครื่องปรุงรสสำหรับผักย่าง หรือเติมโรยหรือหมักในอาหารอย่างเช่นซาวเคราท์

ปริมาณอาหารเสริมและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ยี่หร่ามีมากมายหลายรูปแบบ รวมไปถึงทั้งผล (หรือเมล็ด) แคปซูล น้ำมันหอมระเหยและสารกัด. ยังไม่มีปริมาณที่แนะนำให้ใช้ที่แน่นอนว่าเท่าใดคือปริมาณที่เหมาะสม แต่บางการวิจัยก็แนะนำไว้ว่าควรใช้ ½ ช้อนชาถึง 1 ช้อนชา (1-6.7 กรัม)ของยี่หร่าทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็นวันละ 3 ครั้ง จะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล คนส่วนใหญ่ไม่มีผลใดๆกับยี่หร่า มีเพียงไม่กี่คนที่มีรางานว่ามีผลข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตาม เพราะยังไม่มีการวิจัญเรื่องความปลอดภัยที่มากเพียงพอ จึงไม่ควรให้เด็กหรือสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรรับประทาน รวมถึงทุกคนที่การทำงานของตับและถุงน้ำดีที่ทำงานไม่ปกติก็ควรหลีกเลี่ยง อาจทำให้   คำถามที่พบบ่อยของยี่หร่า ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศที่มาจากเมล็ดของต้นยี่หร่า (Carum carvi) มักใช้ในการปรุงอาหารเพื่อให้ได้รสชาติที่โดดเด่นซึ่งเป็นส่วนผสมของโป๊ยกั้กและยี่หร่า ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยี่หร่า:
  • รสชาติของยี่หร่าเป็นอย่างไร?
      • ยี่หร่ามีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ อบอุ่น หวานเล็กน้อย และชวนให้นึกถึงทั้งโป๊ยกั้กและยี่หร่า มักถูกอธิบายว่าเป็นกลิ่นดิน พริกไทย และมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
  • ยี่หร่าใช้ในการปรุงอาหารอย่างไร?
      • เมล็ดยี่หร่าใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารต่างๆ มักเติมลงในขนมปัง ไส้กรอก ซุป สตูว์ และผักดอง ยี่หร่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหาร เช่น ขนมปังข้าวไรย์ กะหล่ำปลีดอง และอาหารยุโรปตะวันออกบางประเภท
  • ยี่หร่าปราศจากกลูเตนหรือไม่?
      • ใช่แล้ว ยี่หร่าเองนั้นปราศจากกลูเตน อย่างไรก็ตาม หากใช้ในขนมปังหรือขนมอบบางชนิด จำเป็นต้องตรวจสอบสูตรโดยรวมสำหรับส่วนผสมที่มีกลูเตน
  • ยี่หร่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่?
      • ยี่หร่าถูกนำมาใช้ในยาสมุนไพรแบบดั้งเดิมเพื่อประโยชน์ในการย่อยอาหาร เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาหารไม่ย่อยได้ อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างเหล่านี้มีจำกัด และบุคคลที่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • ฉันสามารถปลูกยี่หร่าที่บ้านได้ไหม
      • ใช่ยี่หร่าสามารถปลูกที่บ้านได้ ต้องใช้ดินที่มีการระบายน้ำดีและมีแสงแดดส่องถึง โดยทั่วไปเมล็ดจะถูกเก็บเกี่ยวเมื่อเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก ซึ่งหมายความว่าพวกมันมีวงจรชีวิตสองปี
  • ฉันสามารถคั่วเมล็ดยี่หร่าได้ไหม
      • ใช่ การปิ้งเมล็ดยี่หร่าช่วยเพิ่มรสชาติได้ ตั้งกระทะแห้งบนไฟร้อนปานกลาง ใส่เมล็ดพืชลงไป คั่วจนมีกลิ่นหอม ระวังอย่าเผาเพราะอาจทำให้มีรสขมได้
  • ยี่หร่าปลอดภัยสำหรับทุกคนหรือไม่?
    • โดยทั่วไปแล้ว ยี่หร่าถือว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อใช้ในปริมาณปานกลางในการปรุงอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แพ้พืชในวงศ์ Apiaceae (เช่น แครอทและขึ้นฉ่าย) อาจมีความไวต่อยี่หร่า และควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเสมอเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีข้อกังวลเรื่องอาหารหรือภาวะสุขภาพโดยเฉพาะ

ประเด็นสำคัญ

ยี่หร่าคือเครื่องเทศที่มีความหลากหลายใช้ได้ทั้งในการประกอบอาหารและเป็นยารักษาโรค เมล็ดยี่หร่าที่ได้มาจากผลไม้ของต้นยี่หร่าและมีสรรพคุณหลากหลายมีแร่ธาตุมากมายและมีสารประกอบพืช ในความเป็นจริงแล้วยังอาจช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก บรรเทาการอักเสบและช่วยสุขภาพด้านทางเดินอาหาร เพราะเป็นส่วนผสมอเนกประสงค์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับของหวาน ซอส ขนมปังและขนมอบต่างๆ ถึงแม้ยี่หร่าจะจัดว่ามีความปลอดภัยสูง แต่กับเด็ก หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่กำลังให้นมบุตร และคนที่เป็นโรคตับหรือโรคถุงน้ำดีไม่ควรใช้ยี่หร่า ปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการใช้เพิ่มเติม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-204/caraway
  • https://www.grapetree.co.uk/caraway-seeds-150g
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด