8 ประโยชน์ยอดเยี่ยมของพาร์สลีย์ (Benefits of Parsley)

พาร์สลีย์ คืออะไร

พาร์สลีย์ เป็นพืชตระกูลไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พบมากในฝรั่งเศส อิตาลี พาร์สลีย์นั้นนิยมนำมาใช้เพื่อรักษาสุขภาพมาเนิ่นนาน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ และอาการอักเสบต่างๆ ปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะสมุนไพร การปรุงอาหาร รวมทั้งเป็นเครื่องเทศ พาร์สลีย์ใบนั้นมีสีเขียวสด และมีรสขมอ่อน ๆ ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย พาร์สลีย์นั้นได้รับการยอมรับว่าให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีเยี่ยม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย พาร์สลีย์เป็นสมุนไพรอเนกประสงค์ที่ให้สารอาหารปริมาณมาก อุดมไปด้วยวิตามิน A C และ K วิตามิน และสารสกัดจากพาร์สลีย์ช่วยในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมสุขภาพกระดูก และป้องกันโรคเรื้อรังบางชนิด คุณสามารถใส่ใบพาร์สลีย์แห้งหรือสดลงในอาหารของคุณได้อย่างง่ายดาย เช่นการเพิ่มลงในซุป สลัด และซอส เป็นต้น เนื้อหานี้จะเล่าถึงประโยชน์ 8 ประการของพาร์สลีย์

1. ผักพาสลีย์อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์

พาร์สลีย์นั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปริมาณ1/2 ถ้วย หรือ 30 กรัม ให้สารอาหารดังนี้ 
  • แคลอรี่: 11 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต: 2 กรัม
  • โปรตีน: 1 กรัม
  • ไขมัน: น้อยกว่า 1 กรัม
  • ไฟเบอร์: 1 กรัม
  • วิตามินเอ: 108% ของโภชนาการที่แนะนำต่อวัน
  • วิตามินซี: 53% ของโภชนาการที่แนะนำต่อวัน
  • วิตามินเค: 547% ของโภชนาการที่แนะนำต่อวัน
  • โฟเลต: 11% ของโภชนาการที่แนะนำต่อวัน
  • โพแทสเซียม: 4% ของโภชนาการที่แนะนำต่อวัน
พาร์สลีย์นั้นอุดมไปด้วยวิตามินมากมาย โดยเฉพาะวิตามิน K ซึ่งจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด และสุขภาพของกระดูก พาร์สลีย์ยังเป็นแหล่งของวิตามิน A และ C ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีแคลอรี่ต่ำมาก แต่มีรสชาติดี เหมาะสำหรับประกอบอาหารแคลอรี่ต่ำ

2. ใบพาสลีย์มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก

พาร์สลีย์ มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก โดยเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารประกอบที่จะช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์จากโมเลกุลที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ ร่างกายของคุณต้องกสารต้านอนุมูลอิสระที่สมดุล เพื่อรักษาสุขภาพของร่างกายให้ดี สารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในพาร์สลีย์ได้แก่
  • ฟลาโวนอยด์
  • แคโรทีนอยด์
  • วิตามิน C
พาร์สลีย์เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ โดยพบฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิด ได้แก่ Myricetin และ Apigenin มีงานวิจัยที่พบว่า อาหารที่อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีน และลูทีน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของ แคโรทีนอยด์ มีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูง จะช่วยความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด และมะเร็งปอด วิตามิน C มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยม และมีสรรพคุณในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเรื้อรัง สิ่งที่น่าสนใจคือ พาร์สลีย์อบแห้งอาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าใบสด มีงานวิจัยที่พบว่า พาร์สลีย์อบแห้งมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าใบสด 17 เท่า

3. เสริมสุขภาพของกระดูก

กระดูกนั้นต้องการวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะให้แข็งแรง พาร์สลีย์อัดแน่นไปด้วยวิตามิน K ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพกระดูก 1/2 ถ้วย (30 กรัม) ให้ปริมาณตามที่โภชนาการแนะนำต่อวันมากถึง 547% วิตามิน K ช่วยสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ด้วยการส่งเสริมเซลล์สร้างกระดูก อีกทั้งยังกระตุ้นโปรตีนบางชนิดที่เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ความหนาแน่นของกระดูกมีความสำคัญ เนื่องจากหากความหนาแน่นของกระดูกลดลงจะทำให้มีความเสี่ยงกระดูกหักที่สูงมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานอาหารที่มีวิตามิน K สูง นั้นช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกหักได้ และการบริโภควิตามิน K ในปริมาณมากมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักลดลงถึง 22% การรับประทานวิตามิน K ของคนทั่วไปมักจะต่ำกว่าปริมาณที่จำเป็นในการปรับปรุงความหนาแน่นของกระดูก ดังนั้นการรับประทานพาร์สลีย์นั้นเป็นประโยชน์ต่อกระดูก สรุป พาร์สลีย์อุดมไปด้วยวิตามิน K ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพกระดูก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดความเสี่ยงจากการกระดูกหักได้

4. มีสารต้านมะเร็ง

พาร์สลีย์ มีสารประกอบจากพืชที่คาดว่าจะสามารถต้านมะเร็งได้ ความเครียดจากการออกซิเดชั่นในร่างกาย – ภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลของระดับสารต้านอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระของร่างกาย – เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของโรคเรื้อรังบางชนิดรวมถึงมะเร็งด้วย พาร์สลีย์อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ และวิตามิน C ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดจากการออกซิเดชั่นในร่างกายของคุณ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งบางชนิดไปด้วย ตัวอย่าง เช่น การบริโภคฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูงมีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้ถึง 30% นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์บางชนิดที่พบในพาร์สลีย์ เช่น Myricetin และ Apigenin ได้แสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งในห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน C มีแนวโน้มในการลดความเสี่ยงของมะเร็งได้อีกด้วยพาร์สลีย์ 1/2 ถ้วย (30 กรัม) ให้สารนี้53% ของปริมาณทางโภชนาการที่แนะนำต่อวัน มีงานวิจัยพบว่า การเพิ่มวิตามิน C 100 มก. ต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งโดยรวมได้ 7% นอกจากนี้การเพิ่มวิตามิน C ในอาหาร 150 มก. ต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 21% สรุป พาร์สลีย์มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ และวิตามิน C ที่มีแนวโน้มจะเป็นประโยชน์ในการต้านมะเร็ง<a href=Benefits of Parsley” width=”600″ height=”338″ />

5. อุดมไปด้วยสารอาหารที่ปกป้องดวงตา

ลูทีน เบต้าแคโรทีน และซีแซนทีนเป็นแคโรทีนอยด์ 3 ชนิดที่พบในพาร์สลีย์ มีสรรพคุณปกป้องดวงตาของคุณแ ละส่งเสริมการมองเห็นที่ดี  แคโรทีนอยด์เป็นเม็ดสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพที่เราพบในพืช ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (AMD) ซึ่งเป็นโรคตาที่ไม่สามารถรักษาได้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการตาบอดที่พบได้ทั่วโลก การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยลูทีน และซีแซนทีนมีแนวโน้มที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรค AMD แม้ในระยะสุดท้ายได้ถึง 26% เบต้าแคโรทีนเป็นอีกหนึ่งแคโรทีนอยด์ที่ส่งเสริมสุขภาพดวงตา แคโรทีนอยด์นี้สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกายของคุณได้ พาร์สลีย์ใบสดอุดมไปด้วยวิตามิน A ปริมาณ 1/2 ถ้วยตวง (30 กรัม) ให้ปริมาณตามที่โภชนาการแนะนำถึง 108% วิตามิน A มีความสำคัญต่อสุขภาพดวงตา เนื่องจากช่วยปกป้องกระจกตาซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของตา – รวมถึงเยื่อบุตา – ที่เป็นเยื่อบาง ๆ ที่ปิดด้านหน้าตา และด้านในเปลือกตา สรุป พาร์สลีย์มีลูทีน ซีแซนทีน และเบต้าแคโรทีน ที่เป็นสารประกอบพืชที่มีฤทธิ์ช่วยปกป้องสุขภาพดวงตา และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสายตาที่เกี่ยวข้องกับอายุ AMD

6. ปรับปรุงสุขภาพหัวใจ

พาร์สลีย์เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ที่ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น เช่น เป็นแหล่งวิตามิน B โฟเลต โดย 1/2 ถ้วยตวง (30 กรัม) ให้ปริมาณที่โภชนาการแนะนำต่อวันมากถึง 11% การบริโภคโฟเลตในปริมาณสูงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจในบางบุคคลได้ มีงานวิจัยพบว่า การได้รับโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ 38% และในทางกลับกันพบว่า การบริโภคโฟเลตในปริมาณน้อยนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยศึกษาในผู้ชาย 1,980 คนพบว่า ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 55% ในผู้ที่รับประทานสารอาหารนี้ในปริมาณน้อย ผู้เชี่ยวชาญบางคนตั้งสมมติฐานว่า โฟเลตมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจโดยการลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีน ระดับโฮโมซีสเตอีนที่สูงนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคหัวใจ 

7. พาร์สลีย์มีสารต้านแบคทีเรีย

พาร์สลีย์เป็นประโยชน์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียเมื่อทำเป็นสารสกัด มีการศึกษาในหลอดทดลองที่พบว่า สารสกัดพาร์สลีย์มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อยีสต์ เชื้อรา และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ S. aureus สารสกัดพาร์สลีย์ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหาร มีการศึกษาที่พบว่า สามารถป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายเช่น Listeria และ Salmonella ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ 

8. เหมาะสำหรับอาหารลดน้ำหนัก

พาร์สลีย์เป็นตัวเลือกที่ดีในการปรุงรสที่หลากหลายและราคาไม่แพง คุณสามารถใช้พาร์สลีย์แห้งเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติของซุปสตูว์ และซอสมะเขือเทศ นอกจากนี้ยังพบใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารอิตาลี่ บางคนใช้ในการทำน้ำสลัด และหลายคนใช้ใบสดในสูตรอาหารที่ไม่ต้องปรุง หรือเป๋ยผักโรยในอาหาร วิธีการเพิ่มพาร์สลีย์ในอาหาร
  • ผัดใบพาร์สลีย์สดลงในซอสชิมิชูริ
  • ผสมใบพาร์สลีย์สับละเอียดลงในน้ำสลัด
  • โรยใบพาร์สลีย์สด หรือแห้งลงบนอาหารที่เป็นปลาแซลมอน
  • สับพาร์สลีย์ให้ละเอียดแล้วใส่ลงในสลัด
  • ใส่พาร์สลีย์แห้งในซอสมะเขือเทศ
สิ่งที่น่าสนใจ คือ สมุนไพรนี้ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ดังนั้นคุณอาจจะเคี้ยวใบสดเพื่อเพิ่มความสดชื่นได้

ใครที่ควรระวังในการทานพาร์สลีย์

โดยทั่วไปแล้วพาร์ลีย์ปลอดภัยและคนส่วนใหญ่ยอมรับได้เมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสมในการทำอาหาร อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางกลุ่มที่ควรใช้ความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคพาร์ลีย์มากเกินไป:
  • สตรีมีครรภ์:พาร์ลีย์มีสารประกอบ เช่น apiol และ myristicin ซึ่งสามารถกระตุ้นการหดตัวของมดลูก และอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดหรือการแท้งบุตรหากบริโภคในปริมาณมาก ขอแนะนำให้สตรีมีครรภ์ใช้ผักชีฝรั่งในปริมาณที่พอเหมาะและขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
  • ความผิดปกติของไต:ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคนิ่วในไตหรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไต ควรระมัดระวังการบริโภคผักชีฝรั่งในปริมาณมาก เนื่องจากมีออกซาเลต ซึ่งอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้
  • อาการแพ้:บางคนอาจแพ้พาร์ลีย์หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในตระกูล Apiaceae ซึ่งรวมถึงสมุนไพร เช่น คื่นฉ่ายและแครอท ปฏิกิริยาการแพ้อาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น ผื่นที่ผิวหนัง คัน ลมพิษ บวม หรือปัญหาทางเดินอาหาร หากคุณสงสัยว่ามีอาการแพ้ ควรไปพบแพทย์
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:พาร์ลีย์มีสารประกอบบางชนิดที่สามารถโต้ตอบกับยาบางชนิดได้ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (คูมาดิน) ปริมาณวิตามินเคสูงในพาร์ลีย์อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์หากคุณกังวลเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์
  • ปวดท้อง:พาร์ลีย์อาจมีเส้นใยค่อนข้างมากและอาจทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สบายในผู้ที่มีกระเพาะแพ้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริโภคในปริมาณมาก
อาหารเสริมพาร์สลีย์:ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากพาร์ลีย์เข้มข้นหรือน้ำมันพาร์ลีย์อาจมีผลต่อร่างกายแตกต่างจากสมุนไพรสด ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีภาวะสุขภาพผิดปกติหรือกำลังใช้ยาอยู่

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/diet/health-benefits-parsley
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/284490
  • https://www.verywellhealth.com/parsley-for-better-digestion-88688
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด