มะกรูด คือ พืชในตระกูลผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว น้ำมันจากเปลือกของมะกรูด และสารสกัดมาจากน้ำมะกรูด นำไปใช้ทำยารักษาโรค มะกรูดเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม
มะกรูดมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงหรือไขมัน(ลิพิด)ในเลือดอื่นๆ (ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง) และยังมีประโยชน์สำหรับโรคอื่นอีกด้วย และบ่อยครั้งมักถูกนำมาใช้ในการบำบัดโรคด้วยกลิ่นหอมเช่นกัน
ในเรื่องของอาหาร น้ำมันมะกรูดมักถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นสารปรุงแต่งในอาหาร โดยเฉพาะในเจลาตินและพุดดิ้ง
ในขบวนการผลิต น้ำมันมะกรูดมักถูกนำมาใช้กับพวกน้ำมันหอม ครีม โลชั่น สบู่และน้ำมันกันแดด
ประโยชน์ของมะกรูด
ประสิทธิผลที่อาจเป็นไปได้คือ
- ลดระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมัน(ลิพิด)ในเลือด (ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง) สารสกัดจากมะกรูดช่วยลดระดับคอเคสเตอรอลในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงได้ ซึ่งอาจได้ผลดีพอๆกับการได้รับยาลดคอเลสเตอรอลที่เรียกว่า โรซูวาสแตติน (Crestor) เมื่อใช้เป็นเวลา 30 วัน จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการได้รับสารสกัดมะกรูดช่วยให้ระดับไขมันในเลือดที่เรียกว่าไตรกลีเซอร์ไรด์ดีขึ้นได้
อาจไม่ได้ผลสำหรับอาการดังนี้
- อาการวิตกกังวล การใช้น้ำมันมะกรูดในการบำบัดโรคด้วยกลิ่นอาจจะไม่ได้ช่วยลดอาการวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยรังสีหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- ภาวะตื่นตัวทางจิตใจ การใช้น้ำมันมะกรูดเพื่อบำบัดโรคด้วยกลิ่นดูเหมือนจะไม่ช่วยในเรื่องการตื่นตัวทางจิตใจได้ ในความเป็นจริงแล้ว อาจช่วยลดอาการตื่นตัวทางจิตใจในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีเพราะมีผลให้ผ่อนคลาย
ขาดแคลนหลักฐานสำหรับ
- ผลข้างเคียงของระบบเผาผลาญที่มีสาเหตุมาจากยาต้านอาการทางจิต จากการวิจัยในช่วงต้นแสดงให้เห็นว่าการได้รับน้ำมันมะกรูดสกัดโดยรับประทานเป็นเวลา 60 วันนั้นไม่สามารถทำให้ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านอาการทางจิตดีขึ้น เช่นการเพิ่มของน้ำตาลในเลือด น้ำหนักของร่างกายและระดับคอเลสเตอรอล
- อาการปวดข้อต่อ ที่มีสาเหตุมาจากยาที่เรียกว่ายาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ จากการวิจัยขั้นต้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมะกรูดสกัดเป็นส่วนประกอบและส่วนผสมอื่นๆเป็นเวลา 6 เดือนสามารถช่วยลดการปวดข้อต่อในคนที่ปวดข้อที่มีสาเหตุมาจากยาที่เรียกว่า ยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์
- ภาวะออทิสติก จากการวิจัยขั้นต้นแสดงให้เห็นว่าการสูดดมกลิ่นของมะกรูดไม่ช่วยลดความวิตกกังวลในเด็กที่มีภาวะออทิสติกที่รอพบแพทย์
- ภาวะซึมเศร้า จากการวิจัยขั้นต้นแสดงให้เห็นว่าการสูดดมกลิ่นของลาเวนเดอร์ ผลส้มที่มีรสหวานและน้ำมันมะกรูดช่วยทำให้อาการของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ดีขึ้นได้
- คลื่นไส้และอาเจียน จากการวิจัยพบว่าการใช้น้ำมันมะกรูดในการบำบัดโรคด้วยกลิ่นไม่ได้ช่วยลดอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
- อาการคันผิวหนัง ตกสะเก็ด (โรคสะเก็ดเงิน) จากกการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้น้ำมันมะกรูดที่ผิวในการสัมผัสแสงยูวีไม่เกิดประสิทธิผลมากกว่าการใช้แสงยูวีอย่างเดียวเพื่อลดผื่นหนา
- โรคจิตเภท จากการวิจัยแสดงให้เห็นการได้รับมะกรูดสกัดโดยการรับประทานเป็นเวลา 8 สัปดาห์อาจช่วยควบคุมจิตใจและควบคุมตัวเองในคนที่เป็นโรคจิตเภทดีขึ้น
- ภาวะนอนไม่หลับเมื่อสูดดม
- สูญเสียการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง (โรคด่างขาว)
- ปกป้องร่างกายจากเห็บเหาและปรสิตอื่นๆ
- ช่วยรักษาโรคมะเร็งซึ่งเริ่มต้นที่เม็ดเลือดขาวและส่งผลต่อผิวหนัง (มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) เมื่อใช้ร่วมกับแสงอัลตราไวโอเลต (แสงยูวี)
- โรคอื่นๆ
ผลข้างเคียง
เมื่อรับประทาน : น้ำมันมะกรูดปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ มะกรูดสกัดมีความปลอดภัยเพียงพอในการรับประทานเป็นยา หากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ผลข้างเคียงของมะกรูดสกัดพบได้น้อยมาก อาจมีอาการมึนงง กล้ามเนื้อเกร็งหรืออาการแสบร้อนกลางอก เมื่อนำไปทาที่ผิวหนัง: น้ำมันมะกรูดอาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำมาทาที่ผิวหนัง อาจทำให้ผิวไวต่อแสงแดด เมื่อใช้สูดดม: ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอว่ามะกรูดมีความปลอดภัยหรือมีผลข้างเคียงอย่างไรข้อควรระวังพิเศษและคำเตือน
หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตร: ไม่ควรทาน้ำมันมะกรูดบนผิวหนังหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะอาจไม่ปลอดภัย เด็ก: น้ำมันมะกรูดอาจไม่ปลอดภัยในเด็กเมื่อรับประทานปริมาณมาก อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงซึ่งอาจรวมไปถึงอาการชักกระตุกและเสียชีวิต การผ่าตัด: มะกรูดอาจลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายเพราะหากใช้ร่วมกับการควบคุมน้ำตาลในเลือดก่อนการผ่าตัด อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ควรหยุดใช้มะกรูดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนหมอนัดการผ่าตัดสรรพคุณของใบมะกรูด
ดับกลิ่นคาวในอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร ช่วยขับลม แก้หน้ามืดตาลาย คลื่นไส้อาเจียน ต้านมะเร็งผิวมะกรูดทำอะไรได้บ้าง
ชับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง ช่วยให้นอนหลับ แก้ลมหน้ามืด เวียนหัว ใช้ผสมในเครื่องแกงสรรพคุณของมะกรูด
- มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
- กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
- เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่ยหอมช่วยคลายความเครียด คลายความกังวล
- เป็นยาบำรุงหัวใจ
- แก้เป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
- แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยฟอกโลหิต
- แก้เลือดออกตามไรฟัน
- ขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง
- ช่วยบำรุงหนังศีรษะและบำรุงเส้นผม
- แก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น
การนำผลมะกรูดมาใช้
- ฝานเป็นชิ้น ดับกลิ่นในห้องน้ำ
- น้ำมะกรูด ดับกลิ่นคาว ปรุงอาหารให้รสเปรี้ยว ทำน้ำผลไม้ปั่น
- คั้นน้ำมะกรูดสระผม ช่วยให้ผมดกดำ กระตุ้นการงอกของรากผม
- น้ำมันหอมระเหยจากลูกและใบมะกรูด ผสมในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- น้ำมะกรูด ใช้ขับเสมหะ แก้ไอ บำรุงสุขภาพเหงือก
- มะกรูดไล่ยุงได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น