ยาบอลซาลาไซด์ (Balsalazide) คืออะไร
ยาบอลซาลาไซด์ ชื่อภาษาอังกฤษว่า Balsalazide มีสูตรทางเคมีว่า C17H15N3O6 ยาบอลซาลาไซด์นั้นมีฤทธิ์เป็นกรด เป็น Monohydroxybenzoic ที่ประกอบด้วยกรด 5-Aminosalicylic (Mesalazine) ที่สร้างพันธะเอโซกับ 4-Aminobenzoyl-beta-alanine โดยยาบอลซาลาไซด์เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และต้านแผลในกระเพาะอาหาร ยาบอลซาลาไซด์ที่ใช้กันอยู่ในรูปแบบเกลือ Disodium ทำให้ร่างกายผลิตสารต้านการอักเสบที่เราเรียกว่า Mesalazine ทำหน้าที่เฉพาะที่บนเยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่ช่วยลดการอักเสบโดยการปิดกั้นการผลิตเมตาโบไลต์ของกรด Arachidonic รวมถึง Leukotrienes, Prostaglandins และกรด Hydroxyeicosatetraenoic และสารอักเสบอื่น ๆ ทางการแพทย์โดยปกติแล้วจะใช้ยาบอลซาลาไซด์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังยาคุณสมบัติ และสรรพคุณของบอลซาลาไซด์
ยาบอลซาลาไซด์เป็นยาต้านการอักเสบที่ใช้รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม และเป็นแผล มีชื่อทางการค้าที่เรารู้จักว่า Colazal หรืออื่นๆ มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ยาบอลซาลาไซด์จะถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่โดยที่มันถูกแยกออกโดยอะโซเรดักชั่นของแบคทีเรีย และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารต้านการอักเสบที่เราเรียกว่า Mesalazine ทำหน้าที่เฉพาะที่บนเยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่ช่วยลดการอักเสบ กลไกการออกฤทธิ์ของยาบอลซาลาไซด์ แต่มีแนวโน้มว่าจะออกฤทธิ์เฉพาะที่เยื่อบุลำไส้มากกว่าที่จะเป็นระบบโดยรวม ช่วยแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังวิธีการใช้ยาบอลซาลาไซด์
รับประทานยาตามที่แพทย์หรือฉลากแนะนำ แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ แล้วก็ตาม โดยปกติวันละ 3 ครั้งหรือตามที่แพทย์ของคุณกำหนด รับประทานไปจนกว่าจะครบปริมาณตามคำแนะนำ ควรดื่มน้ำให้มากระหว่างการใช้ยานี้ เพราะยานี้ทำให้มีความเสี่งเป็นนิ่วในไตได้ในระยะยาว ถ้าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ และเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดิมๆ ทุกวัน ทั้งนี้ปริมาณยาที่แพทย์แนะนำขึ้นกับน้ำหนัก สุขภาพ อายุ และการตอบสนองของผู้ป่วยในการใช้ยาชนิดนี้
ผลข้างเคียงในการใช้ยาบอลซาลาไซด์
ผลข้างเคียงจากยาบอลซาลาไซด์ที่สามารถเกิดขึ้น ได้แก่- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- อาเจียน
- ปวดข้อต่อ
- นอนหลับยาก
- อ่อนเพลีย
- มีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร
- น้ำมูกไหล
- ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดหลัง
- ไอ
- เบื่ออาหาร
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ท้องผูก
- ปากแห้ง
- ผิวหนังหรือดวงตาซีดเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- ท้องอืดหรือบวม
- ท้องเสียรุนแรง
- เลือดออกทางทวารหนัก
- มีไข้ เจ็บคอ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
ข้อควรระวังในการใช้ยาบอลซาลาไซด์
ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบหากแพ้ยาบอลซาลาไซด์ และสารในกลุ่ม Mminosalicylates อื่น ๆ (เช่น Mesalamine, Olsalazine) หรือ แอสไพริน ซัลซาเลต และซัลฟาซาลาซีน หรือยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ หากเป็นผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารกระเพาะ ลำไส้ ตับ และไต ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มใช้ยาบอลซาลาไซด์ ยาบอลซาลาไซด์อาจจะทำให้ไวต่อแสงแดดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีปัญหาผิวหนัง (เช่น โรคผิวหนังภูมิแพ้ กลาก) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด เพราะจะทำให้เกิดอาการแดง เป็นตุ่ม ซึ่งหากเกิดต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ยานี้มีส่วนประกอบที่เป็นโซเดียม ดังนั้นควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นผู้ป่วยที่ต้องควบคุมปริมาณการบริโภคเกลืออย่างเช่นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ยานี้ห้ามใช้ในด็กและวัยรุ่นที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เช่นเดียวกับข้อห้ามในการรับประทานยาแอสไพริน ห้ามใช้เด็ดขาดหากพวกเขาเป็นโรคอีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือเพิ่งได้รับวัคซีน เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงได้ ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์โดยละเอียดก่อนเริ่มใช้ยาทางเลือกอื่น ๆ ที่ให้ผลเช่นเดียวกับยาบอลซาลาไซด์
หากคุณไม่สามารถรับประทานยาบัลซาลาไซด์ได้หรือต้องการยาตัวอื่น ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำหนึ่งในตัวเลือกต่อไปนี้:- 5-aminosalicylates อื่นๆ (5-ASAs): Balsalazide เป็นยาประเภท 5-ASA และมียา 5-ASA อื่นๆ อีกหลายชนิดที่อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ตัวอย่าง ได้แก่ เมซาลามีน (หรือที่เรียกว่าเมซาลาซีน) ซัลฟาซาลาซีน และออลซาลาซีน ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์คล้ายกับบัลซาลาไซด์และสามารถช่วยลดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้
- Corticosteroids:ในบางกรณี อาจกำหนดให้ corticosteroids เช่น prednisone หรือ budesonide เพื่อควบคุมการอักเสบระหว่างอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลพุพอง คอร์ติโคสเตียรอยด์ออกฤทธิ์โดยการกดระบบภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบ แต่โดยทั่วไปมักใช้เพื่อการรักษาระยะสั้นเนื่องจากอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงหากใช้ในระยะยาว
- สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน:อาจใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันเช่น azathioprine, mercaptopurine หรือ methotrexate เพื่อช่วยรักษาการบรรเทาอาการและลดความถี่ของการเกิดอาการวูบวาบในลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์โดยการกดระบบภูมิคุ้มกันและสามารถช่วยป้องกันการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้
- การบำบัดทางชีวภาพ:การบำบัดทางชีวภาพ เช่น infliximab, adalimumab, golimumab, vedolizumab และ ustekinumab เป็นยาอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในการรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลในระดับปานกลางถึงรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ ยาเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่โมเลกุลเฉพาะในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดการอักเสบและปรับปรุงอาการ
- การบำบัดแบบผสมผสาน:ในบางกรณี อาจใช้ยาร่วมกันเพื่อรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปานกลางถึงรุนแรง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ได้ดี ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาประเภทต่างๆ ร่วมกันเพื่อควบคุมอาการได้ดีขึ้นและลดการอักเสบในลำไส้ใหญ่
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น