ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ (What We Need to Know About Psychologist)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์

ปรึกษาจิตแพทย์ต้องรู้อะไรบ้าง

เพื่อช่วยเหลือเรื่องทางด้านจิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาน หรือปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ที่เป็นเรื่องยุ่งยาก เพื่อเป็นการพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาสุขภาพจิตที่ถูกต้องก็จะสามารถช่วยให้คุณสามารถควบคุมปัญหาต่างๆในชีวิตได้ เราจะรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่คุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของผู้เชี่ยวชาญทางจิตใจที่มีความแตกต่างกันออกไปให้ทราบ การเรียนรู้นี้จะสามารถช่วยคุณได้

นักจิตวิทยา

ภาพแรกที่เรามักนึกได้เมื่อคิดถึงคำว่านักจิตวิทยา คือคนที่นอนอยู่บนโซฟากำลังเล่าความรู้สึกของตนเองให้แพทย์ฟัง บางครั้งมันก็ใช่-แต่หน้าที่ของหมอที่จะทำมีมากกว่ามานั่งถามแค่ว่าคุณรู้สึกอย่างไร นักจิตวิทยาจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านพฤติกรรม อารมณ์และความคิด นักจิตวิทยาจะทำงานในที่ทำงานส่วนตัว โรงพยาบาลหรือตามโรงเรียน นักจิตวิทยาจะดูแลรักษาปัญหานับตั้งแต่เรื่องปัญหาความสัมพันธ์ไปจนถึงอาการป่วยทางด้านจิตใจ ผ่านการปรึกษาพูดคุย บางทีเราสามารถปรึกษานักจิตวิทยาฟรีได้  นักจิตวิทยาตามปกติมักต้องจบระดับปริญญาเอกเช่น ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา (Ph.D. Psychologists)  

จิตแพทย์

จิตแพทย์มีหน้าที่หลักๆคือปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต วินิจฉัย รักษาและช่วยป้องกันโรคทางด้านพฤติกรรม อารมณ์และทางด้านจิตใจ จิตแพทย์สามารถใช้ยาในการรักษาทางจิต ตรวจร่างกายและทดสอบทางห้องปฏิบัติการณ์ จิตแพทย์คือแพทย์ที่ต้องจบทั้งแพทยศาสตร์บัณทิต แพทย์เวชปฏิบัติสามารถสี่งจ่ายยาเพื่อช่วยปัญหาทางอารมณ์และจิตใจได้ แต่คนส้วนใหญ่มักจะไปจิตแพทย์เมื่อเป็นโรคที่ยากจะเข้าใจ จิตแพทย์เฉพาะทางร่วมไปถึง:
  • จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น
  • นิติจิตเวชศาสตร์ หรือหมอจิตเวช
  • ความบกพร่องในการเรียนรู้

What We Need to Know About Psychologist

นักจิตวิเคราะห์

นักจิตวิเคราะห์จะทำตามหลักทฤษฎีและการปฏิบัติตามซิกต์มันต์ ฟรอยด์ ด้วยการช่วยบางคนค้นหาสิ่งที่เก็บอยู่ข้างในหรือพลังจิตใต้สำนึก ความวิตกกังวลและความขัดแย้งภายใน ซึ่งสิ่งนี้อาจต้องใช้ผ่านเทคนิคเช่น:
  • การเชื่อมโยงเสรี
  • การตีความความฝัน
  • วิเคราะห์การต่อต้าน 
นักจิตวิเคราะห์จะนำไปวิเคราะห์ แต่คนส่วนใหญ่จะพบว่ามันทำช่วยทำให้พวกเขาค้นพบสิ่งที่อยู่ลึกๆในจิตใจและสิ่งที่มารบกวนอารมณ์ของตน ซึ่งอาจเป็นตัวทำให้เกิดรูปแบบพฤติกรรมที่เลวร้ายโดยที่เจ้าตัวไม่เคยตระหนักรู้มาก่อน

พยาบาลจิตเวช

พยาบาลจิตเวชคือพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสุขภาพจิตใจ พยาบาลจะรู้วิธีสร้างความรู้สึกสบายใจให้กับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจิตเวชจะทำการบำบัดทางจิตและสั่งจ่ายยาทางจิตได้ พยาบาลมักต้องรับมือกับพฤติกรรมที่ท้าทายอันเนื่องมาจากอาการทางจิตเสมอๆ พยาบาลจิตเวชจะดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลจากแพทย์

นักจิตบำบัด

“นักจิตบำบัด” คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตที่มีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งรวมไปถึงนักจิตวิทยาและนักบำบัด ผู้เชี่ยวชาญนี้ทุกแขนงเราเรียกว่านักจิตบำบัด หน้าที่ของนักจิตบำบัดคือ “การบำบัดผ่านการพูดคุย” ซึ่งจะช่วยทำให้สุขภาพจิตและภาวะความเป็นอยู่ที่มีดีขึ้น นักจิตบำบัดจะใช่การสนทนาพูดคุย การแสดงความรู้สึกและอื่นๆเพื่อบำบัด รูปแบบที่นิยมคือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม สามารถใช้การบำบัดนี้เพื่อช่วยในการเรียนรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รูปแบบทางความคิดหรืออารมณ์ได้

ที่ปรึกษาทางด้านสุขภาพจิต

“ที่ปรึกษาทางด้านสุขภาพจิต” คืดคำเรียกอธิบายตนที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งควรต้องมี “ใบอนุญาติ” หรือ “เป็นผู้เชี่ยวชาญ” จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะถามหาระดับการศึกษาของที่ปรึกษา ประสบการณ์และรูปแบบการบริการ ที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเช่น:

ที่ปรึกษาครอบครัวและการสมรส

ที่ปรึกษาครอบครัวและการสมรสจะเชี่ยวชาญในปัญหาทั่วๆไปที่อาจมาจากในครอบครัวหรือชีวิตคู่ รูปแบบการบำบัดนี้จะเป็นการบำบัดแบบรายบุคคล การบำบัดแบบกลุ่มอาจนำมาใช้บ้างในบางครั้งหากปัญหาของคนๆหนึ่งส่งผลต่อคนใกล้ตัว คุณอาจพบเห็นการบำบัดนี้สำหรับโรคเช่นโรคการกินผิดปกติหรือสิ่งเสพติด 

ที่ปรึกษาด้านสิ่งเสพติด

ที่ปรึกษาด้านสิ่งเสพติดจะรักษาตนที่ติดสิ่งเสพติด ซึ่งมักรวมไปถึงการเสพติดของบางอย่างหรือการติดการพนัน ยังรวมไปถึงการติดเช่นโรคเสพติดเซ็กส์หรือโรคเก็บสะสมของ ที่ปรึกษาด้านการเสพติดมักทำเป็นกลุ่ม เป็นวิธีที่คล้ายคลึงกันกับวิธีที่นำไปใช้กับสมาคมอดเหล้าในอเมริกา

ที่ปรึกษาทางด้านศาสนา

ที่ปรึกษาทางด้านศาสนาหรือที่รู้จักกันดีว่า Pastoral counselors ที่ปรึกษาจะได้รับการฝึกเพื่อช่วยคนที่มีปัญหาหลากหลายอย่าง เรื่องหลักๆที่จะเป็นที่ปรึกษาคือเรื่องของความศรัทธา การสมรสและครอบครัว ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ  ที่ปรึกษารูปแบบนี้มักเป็นผู้นำในบริเวณโบสถ์ อาจทำตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่ม เราอาจเลิกทำการปรึกษาร่วมกับกับคู่ของเราหรือครอบครัว

นักศิลปะบำบัด

นักศิลปะบำบัดคือการบำบัดที่เป็นรูปแบบเฉพาะมากๆ วิธีการบำบัดอาจใช้ความคิดสร้างสรรในหลายรูปแบบเช่น การวาดรูป การปั้นและการเขียนเพื่อค้นหาและช่วยเรื่องซึมเศร้า อาการรเจ็บป่วย ผ่านเหตุการณ์รุนแรงในอดีตและสิ่งเสพติด

นักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์คือกลุ่มข้าราชการที่ทำงานเพื่อช่วยคนรู้จักการรับมือกับปัญหาและแก้ปัญหาในชีวิตของพวกเขาได้ ซึ่งรวมไปถึงปัญหาส่วนตัวและความพิการ อีกทั้งเรื่องของปัญหาทางสังคมเช่นเรื่องยาเสพติด ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน นักสังคมสงเคราะห์มักจะต้องดูแลเรื่องพิพาทในครอบครัวซึ่งรวมไปถึงความรุนแรงในครอบครัวหรือการล่วงละเมิดในเด็ก

รักษาโรคซึมเศร้าที่ไหนดี

การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากยังไม่สะดวกหรือไม่กล้าไปพบแพทย์ให้ใช้สายด่วนให้คำปรึกษา หรือพบทางแอพ ข้อดีคือสะดวกใจและไม่ต้องลางาน แต่ข้อเสียคือบำบัดได้เพียงจิตบำบัดหรือแนะนำได้เท่านั้น  ใครที่ควรเข้าพบจิตแพทย์ ผู้คนแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาด้วยเหตุผลหลายประการ และสิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าการขอความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเป็นก้าวเชิงบวกสู่ความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม แม้ว่าจะไม่สามารถระบุรายการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ แต่ต่อไปนี้คือสาเหตุทั่วไปบางประการว่าทำไมแต่ละบุคคลจึงอาจพิจารณาไปพบนักจิตวิทยา:
  • ภาวะสุขภาพจิต:
      • บุคคลที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โรคไบโพลาร์ หรือโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) จะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของนักจิตวิทยา
  • ความเครียดและการเผชิญปัญหา:
      • ความเครียดในระดับสูง ความลำบากในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือความรู้สึกที่ล้นหลาม สามารถแก้ไขได้ด้วยการบำบัด นักจิตวิทยาสามารถช่วยให้บุคคลพัฒนากลยุทธ์การรับมือและความยืดหยุ่นได้
  • ประเด็นความสัมพันธ์:
      • คู่รักหรือบุคคลที่เผชิญกับความท้าทายในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก ครอบครัว หรือสังคม อาจขอคำแนะนำจากนักจิตวิทยาเพื่อปรับปรุงการสื่อสาร แก้ไขข้อขัดแย้ง หรือนำทางสถานการณ์ที่ยากลำบาก
  • ความโศกเศร้าและความสูญเสีย:
      • การสูญเสียคนที่รักหรือประสบกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งสำคัญอาจเป็นเรื่องท้าทายอย่างไม่น่าเชื่อ นักจิตวิทยาสามารถให้การสนับสนุนและช่วยเหลือแต่ละบุคคลในการดำเนินกระบวนการโศกเศร้าได้
  • ปัญหาการเสพติด:
      • บุคคลที่ต้องดิ้นรนกับการใช้สารเสพติดหรือพฤติกรรมเสพติดอื่นๆ จะได้รับประโยชน์จากการบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซ่อนอยู่ และพัฒนากลยุทธ์ในการฟื้นฟู
  • การบาดเจ็บและ PTSD:
      • ผู้ที่เคยประสบกับบาดแผลทางจิตใจ เช่น การทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ อุบัติเหตุ หรือความรุนแรง อาจพบว่าการบำบัดมีประโยชน์ในการจัดการกับบาดแผลทางจิตใจ และการจัดการอาการของโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)
  • ปัญหาพฤติกรรมในเด็ก:
      • ผู้ปกครองอาจขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาสำหรับเด็กที่ประสบปัญหาด้านพฤติกรรม ความยากลำบากในการเรียนรู้ หรือความท้าทายทางอารมณ์ นักจิตวิทยาเด็กมีความเชี่ยวชาญในการทำงานกับเยาวชน
  • ความเครียดหรือความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน:
      • ความเครียด ความเหนื่อยล้า หรือความยากลำบากในที่ทำงานในระดับสูงอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ นักจิตวิทยาสามารถให้การสนับสนุนในการจัดการความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับงานได้
  • ความผิดปกติของการนอนหลับ:
      • บุคคลที่ประสบปัญหาความผิดปกติของการนอนหลับหรือการหยุดชะงักอาจได้รับประโยชน์จากการแทรกแซงทางจิต เช่น การบำบัดความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมสำหรับการนอนไม่หลับ (CBT-I)
  • ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร:
    • บุคคลที่ประสบปัญหาความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia Nervosa) หรือบูลิเมีย (bulimia) สามารถทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาเพื่อจัดการกับปัจจัยทางจิตใจที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงเท่านั้น การบำบัดยังสามารถเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่เผชิญกับความท้าทายในชีวิตประจำวันหรือแสวงหาการพัฒนาตนเอง นักจิตวิทยาได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้การสนับสนุน คำแนะนำ และการแทรกแซงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อช่วยให้บุคคลต่างๆ ปรับปรุงสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังพิจารณาขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกังวลเฉพาะด้านและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด