สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอะดรีนาลีน (What to Know About Adrenaline)

อะดรีนาลีน คืออะไร

อะดรีนาลีน (Adrenaline) คือ ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต และเซลล์ประสาทบางเซลล์  บางครั้งเรียกว่า เอพริเนฟรีน ต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อที่มีตำแหน่งอยู่ที่ส่วนบนของไตแต่ละข้าง  ถูกควบคุมการทำงานด้วยต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดรวมถึง อัลโดสเตอโรน คอร์ติซอล อะดรีนาลีน และนอร์ดรีนาลีน  ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex)  และต่อมหมวกไตชั้นใน (Adrenal cortex ) ซึ่งเป็นบริเวณที่สร้างอะดรีนาลีน   อะดรีนาลีน รู้จัก ในชื่อของ “ฮอร์โมนที่ทำให้สู้หรือทำให้หนี” ซึ่งจะหลั่งออกมาเพื่อตอบสนองต่อสภาวะต่างๆ เช่น เมื่อมีความเครียด ตื่นเต้นสุดขีด  เผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นอันตราย หรือถูกคุกคามต่อชีวิต อิทธิพลของฮอร์โมนอะดรีนาลีนจะช่วยให้ร่างกายของคุณตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็ว มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อลำเลียงเลือดไปสู่สมองและกล้ามเนื้อ เพื่อเร่งการสลายน้ำตาลให้เป็นพลังงานของร่างกาย  เมื่ออะดรีนาลีนถูกหลั่งออกมาอย่างกะทันหัน มักเรียกว่า อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน

อะดรีนาลีนที่หลั่งพลุ่งพล่านมีผลต่อร่างกายอย่างไร

อะดรีนาลีนเริ่มหลั่งพลุ่งพล่านออกมาจากสมอง เมื่อคุณอยู่เผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นอันตรายหรือมีความเครียด จะส่งสัญญาณไปที่สมองส่วน Amygdata ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ความทรงจำทางด้านอารมณ์  เมื่อสมองส่วน Amygdata รับรู้ถึงอันตรายจะส่งสัญญาณไปสมองส่วนที่เป็นศูนย์สั่งการที่เรียกว่า ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะสื่อสารกับส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านระบบประสาทซิมพาเทติก สมองส่วนไฮโพทาลามัสถ่ายทอดสัญญาณผ่านเส้นประสาทอัตโนวัติไปสู่ต่อมหมวกไตส่วนใน  หลังจากต่อมหมวกไตส่วนในได้รับสัญญาณประสาทแล้วจะตอบสนองโดยการหลั่งอะดรีนาลีนเข้าสู่กระแสเลือด สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่ออะดรีนาลีนถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือด :
  • จับกับตัวรับสัญญาณที่เซลล์ตับเพื่อทำหน้าที่สลายไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่หญ่ที่เก็บสะสมไว้ที่ตับให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถนำไปใช่เป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อของคุณได้  
  • จับกับตัวรับสัญญาณบทเซลล์กล้ามเนื้อเรียบในปอด ทำให้คุณหายใจถี่ขึ้น 
  • กระตุ้นการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น 
  • กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อกลุ่มหลักๆ ของร่างกาย 
  • เชื่อมต่อกับเซลล์กล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง  
  • เพื่อกระตุ้นการขับเหงื่อ 
  • จับกับตัวรับสัญญาณที่ตับอ่อนเพื่อยับยั้งการสร้างฮออร์โมนอินซูลิน 
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายเนื่องจากอะดรีนาลีนไหลเวียนไปทั่วร่างกายพร้อมกับกระแสเลือด เรียกว่า อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ในความเป็นจริงก็คือมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากเสียจนคุณตั้งตัวไม่ทัน  การที่คุณสามารถหลบหลีกรถที่กำลังพุ่งเข้ามาหาโดยที่ไม่เสียเวลาคิดเลย เป็นผลมาจากอะดรีนาลีนที่หลั่งออกมาอย่างพลุ่งพล่านนั่นเอง What to Know About Adrenaline

กิจกรรมที่มีผลทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน 

แม้ว่าอะดรีนาลีน มีจุดมุ่งหมายทางวิวัฒนาการ แต่กิจกรรมบางอย่างของคนบางคนก็มีส่วนที่ทำให้เกิดอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านได้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นได้แก่ :
  • การดูหนังสยองขวัญ
  • กระโดดร่ม  
  • กระโดดหน้าผา
  • กระโดดบันจีจัมพ์ 
  • ดำน้ำในกรงฉลาม 
  • การเล่น ซิฟไลน์ 
  • การล่องแก่ง 

อาการของอะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน  

นอกจากจะอธิบายถึงผลการทำงานของอะดรีนาลีนในแง่ของการเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายแล้ว ยังมีอาการอีก เช่น :
  • มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น 
  • ร่างกายขับเหงื่อออกมามาก 
  • ความรู้สึกต่อสิ่งใดๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
  • หายใจถี่
  • รู้สึกเจ็บปวดน้อยลง
  • เพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายและทำให้แข็งแรงขึ้น
  • ม่านตาขยาย 
  • รู้สึกกระวนกระวายใจ หรือตื่นกลัว 
หลังจากความเครียด หรือสิ่งที่เป็นอันตรายผ่านพ้นไปแล้ว ผลกระทบที่เกิดจากอะดรีนาลีนอาจยังคงอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง

อะดรีนาลีนหลั่งในตอนกลางคืน  

หากคุณมีความวิตกกังวล หรือมีความเครียด สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายของคุณหลั่งอะดรีนาลีนและฮอร์โมนอื่นๆ ที่ทำให้คุณเครียดออกมา เช่น คอร์ติซอล (ที่รู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณนอนอยู่บนเตียงในยามค่ำคืนภายในห้องนอนที่แสนเงียบและมืดมิด ในหัวของคุณ หรือในหัวของบางคนอาจจะยังคงครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นภายในวันนี้ หรืออาจจะวิตกกังวลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้บ้าง ในขณะที่คุณก็รู้อยู่เต็มอกว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณในตอนนี้คือความเครียด และไม่มีอะไรที่เป็นอันตรายจะเกิดขึ้นกับคุณได้ ดังนั้นการได้รับพลังงานพิเศษจากอะดรีนาลีนที่หลั่งออกมาในช่วงเวลานั้นจึงไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย  ในทางตรงกันข้ามอะดรีนาลีนที่หลั่งออกมานี้กลับจะทำให้คุณรู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิด และทำให้คุณหลับไม่ลงอีกต่างหาก อะดรีนาลีนสามารถที่จะหลั่งออกมาได้เพื่อตอบสนองต่อเสียงดัง แสงไฟ และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ตอบสนองต่อการดูโทรทัศน์ การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการฟังเพลงดัง ๆ ก่อนนอน ก็มีส่วนทำให้อะดรีนาลีนหลั่งออกมาได้เช่นกัน

จะควบคุมอะดรีนาลีนได้อย่างไร 

สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้วิธีการหรือเทคนิคในการรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้น การที่คุณมีความเครียดถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งบางครั้งความเครียดอาจจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณด้วยซ้ำ แต่หากคุณปล่อยให้มีความเครียดเกิดขึ้นกับคุณนานเกินไป จะทำให้อะดรีนาลีนพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันสามารถทำลายหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเกิดหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ นอกจากนี้ยังทำให้คุณมีความวิตกกังวล น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปวดหัว และนอนไม่หลับ เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมอะดรีนาลีนได้ คุณจะต้องทำการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก หรือที่เรียกว่า “ระบบพักผ่อนและย่อยอาหาร” ระบบพักผ่อนและย่อยอาหารนี้ จะทำงานตรงกันข้ามกับระบบ “สู้หรือหนี” ซึ่งหากระบบประสาทส่วนนี้ทำงาน จะช่วยสร้างความสมดุลในร่างกายของคุณและช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน ซึ่งร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเองได้ ลองวิธีนี้ดูสิ:  
  • ฝึกหายใจลึกๆ  
  • นั่งสมาธิ   
  • การฝึกโยคะหรือไทเก็ก ซึ่งผสมผสานการเคลื่อนไหวกับการหายใจเข้าลึกๆ
  • พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดที่ทำให้คุณไม่ค่อยมีโอกาสที่คลุกคลีกับพวกเขาในเวลากลางคืนได้ หรือคุณอาจจะทำการจดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับความคิดหรือความรู้สึกของคุณก็ได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ 
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ 
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ บริเวณที่มีแสงจ้า งดใช้คอมพิวเตอร์ งดฟังเพลงหรือดนตรีเสียงดัง และไม่ดูทีวีก่อนเข้านอน 

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

หากคุณมีความเครียด หรือความวิตกกังวลเรื้อรัง และทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืนได้ คุณควรไปพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับคำปรึกษาในเรื่องดังกล่าวนี้ แพทย์อาจจะให้ยาต้านความวิตกกังวล เช่น SSRIs ซึ่งเป็นยาที่มีสารยับยั้งการดูดซึม เซโรโทนิน ให้กับคุณ ภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้อะดรีนาลีนหลั่งออกมามากเกินไปนั้นเป็นไปได้ยากมาก แต่ก็สามารถเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น เนื้องอกของต่อมหมวกไตสามารถกระตุ้นการผลิตอะดรีนาลีนในปริมาณที่มากกว่าปกติ และทำให้อะดรีนาลีนหลั่งออกมามากๆ ได้ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเครียดหลังจากการได้รับบาดเจ็บ (PTSD) การนึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจนั้นอาจทำให้ระดับของอะดรีนาลีนเพิ่มสูงขึ้นได้ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด