ปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) คือมีอาการปวดเรื้อรังที่หน้า เนื่องจากเส้นประสาท trigeminal ที่มาเลี้ยงใบหน้า
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้ามีสองเส้น ซ้ายและขวา ทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวดและความรู้สึกอื่นจากใบหน้าส่งไปที่สมอง เส้นประสาทแต่ละเส้นแยกเป็นสามสาขา (หน้าผาก กลางใบหน้าและคาง) มีความเป็นไปได้ที่จะปวดเส้นประสาททุกเส้นหรือเส้นใดเส้นหนึ่ง ทำให้ปวดบางส่วนหรือทุกส่วนของใบหน้าก็ได้
ความเจ็บปวดเกิดได้แม้มีสิ่งกระตุ้นเล็กน้อย เช่นหวีผม โกนหนวด อาการปวดแปลบคล้ายไฟฟ้าช็อตหรือถูกแทง ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการปวดแปลบๆ ปวดไม่นาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะปวดนานขึ้น บ่อยขึ้น ผู้ป่วยมักมีวงจรปวด คือ ปวดๆหายๆนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และเบาลง แต่บางรายอาการปวดจะมากขึ้นและมักปวดตลอดเวลา
ไม่มีการตรวจเฉพาะสำหรับโรคนี้ ดังนั้นการวินิจฉัยอาจต้องใช้เวลา การรักษาขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรง มียาหลายชนิดที่ช่วยลดความเจ็บปวดและลดจำนวนครั้งของความปวด บางครั้งอาจต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด
อาการปวดเส้นประสาทใบหน้า
ความเจ็บปวดจากเส้นประสาทนี้มักเป็นการเจ็บแปลบและกระตุกคล้ายไฟฟ้าช็อต มักปวดที่ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งและ อาจถูกกระตุ้นโดยเสียงหรือสัมผัส ความเจ็บปวดเกิดได้จากการ กิจกรรมตามปกติเช่น
- แปรงฟัน
- โกนหนวด
- แต่งหน้า
- สัมผัสใบหน้า
- กินหรือดื่ม
- พูด
- ลมพัดปะทะใบหน้า
ความเจ็บปวดอาจนานเพียงไม่กี่วินาทีหรือนาที อาจเกิดเป็นระยะยาวนานเป็นวัน สัปดาห์หรือเดือน และตามด้วยช่วงสงบ
อาการอาจแย่ลง มีความเจ็บปวดมากขึ้น บ่อยขึ้น ในบางครั้งมีความเจ็บปวดตลอดเวลา
สาเหตุปวดเส้นประสาทใบหน้า
หลายกรณีไม่พบสาเหตุ แต่สาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น
-
เส้นเลือดบวม หรือมีเนื้องอกที่กดทับเส้นประสาท
-
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง multiple-sclerosis คือปลอกที่หุ้มเส้นประสาทเสื่อมไป ทำให้การส่งสัญญาณประสาทไม่ปกติ
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้านี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี แม้ว่าจะเกิดได้กับคนทุกวัย
การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
ยา
ยาช่วยลดความเจ็บปวดและลดความถี่ของการปวด มักเริ่มจากการให้ยากันชัก ซึ่งกดการส่งกระแสประสาท และต่อไปอาจเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านเศร้าชนิด tricyclic
การผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้จะตอบสนองดีต่อยา แต่หากเริ่มมีการไม่ตอบสนองหรือมีอาการดื้อยา จะทำให้อาการเจ็บปวดกลับมาอีก และจำเป็นการผ่าตัด้เพื่อการรักษา เช่น
การฉีดกลีเซอรอล
ผู้ป่วยจะได้รับยาให้หลับและยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะสอดเข็มเข้าไปที่แก้ม ลึกเข้าไปที่ฐานสมอง(โดยมีการเอกซเรย์ด้วยในขณะเดียวกัน เพื่อให้เห็นตำแหน่งของเข็ม) เข้าไปที่ถุงเล็กๆที่เต็มไปด้วยน้ำไขสันหลังที่ล้อมรอบรากเส้นประสาทไตรเจมินอล และฉีดกลีเซอรีนเข้าไป กลีเซอรีนจะกั้นไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณความเจ็บปวดออกไป หรืออาจทำให้เส้นประสาทที่เสียหายนั้นซ่อมแซมตนเองได้ การรักษานี้ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยไม่ต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล
Stereotactic Radiosurgery
การใช้เครื่องสร้างภาพโดยคอมพิวเตอร์ (MRI) ส่งรังสีความเข้มข้นสูงไปที่รากประสาท กระบวนการไม่เจ็บปวดและทำโดยไม่ต้องใช้ยาสลบ
Radiofrequency Thermal Lesioning
เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก กระบวนการเริ่มจาก ให้ยาชาและใช้เข็มยาวที่มีรู นำกระแสไฟฟ้าไปที่ เส้นประสาทไตรเจมินอล ผู้ป่วยจะตื่นอยู่ และช่วยแพทย์ค้นหาบริเวณที่เจ็บปวด เมื่อพบแล้ว แพทย์จะให้ความร้อนเพื่อทำลายเส้นประสาทนั้น
Gamma-Knife Radiosurgery
เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกเช่นกัน เพื่อค้นหาและใช้รังสีทำลายเส้นประสาทไตรเจมินอล วิธีนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะ แม่นยำ ได้ผลดี และปลอดภัยกว่าวิธีทางศัลยกรรมอื่นๆ และยังมีแผลน้อยกว่าด้วย
Microvascular Decompression
วิธีนี้ต้องผ่าตัดสมอง เพื่อลดความกดดันที่เส้นประสาทและปล่อยให้หายเอง จากการศึกษาพบว่า 90% ของผู้ป่วยรายงานว่าความเจ็บปวดลดลง
วิธีอื่นๆ
การผ่าตัดอื่นๆ เข่น การตัดเส้นประสาท หรือย้ายเส้นเลือดที่กดเส้นประสาท แต่มีความเสี่ยงคือทำให้ใบหน้าชา ทั้งชั่วคราวและถาวร และบางครั้งก็กลับมาปวดอีกได้
แพทย์จะแจ้งให้ทราบถึงผลดีและผลเสียของการรักษาในแต่ละแบบ และขึ้นกับอาการ ประวัติการเจ็บป่วย ความเหมาะสมในแต่ละบุคคลด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
อาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนหลักคือความเจ็บปวดที่รุนแรงและทำให้ร่างกายอ่อนแอลง แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนรองและความท้าทายหลายประการที่เกี่ยวข้องกับอาการนี้:- อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล: ความเจ็บปวดที่รุนแรงและคาดเดาไม่ได้ของโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์ ความซึมเศร้า และความวิตกกังวลในบุคคลที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากความกลัวอย่างต่อเนื่องที่จะประสบกับตอนที่เจ็บปวด
- การลดน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการ: บุคคลบางคนที่มีโรคปวดประสาทบนในหน้าอาจประสบปัญหาในการรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม เนื่องจากความเจ็บปวดที่เกิดจากการเคี้ยวหรือกลืน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การลดน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
- การแยกตัวทางสังคม: เนื่องจากโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถถูกกระตุ้นได้โดยการพูดคุย การเคี้ยว หรือการเคลื่อนไหวใบหน้าอื่นๆ บุคคลจึงอาจถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมและกลายเป็นโดดเดี่ยว ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ของพวกเขา
- ผลข้างเคียงจากยา: ยาที่จ่ายให้กับโรคปวดประสาทบนในหน้า เช่น ยากันชักหรือฝิ่น อาจมีผลข้างเคียงที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มเติม
- อาการดื้อยา: เมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจมีความอดทนต่อยาที่ใช้ในการควบคุมโรคปวดประสาทบนในหน้า โดยต้องใช้ขนาดยาที่สูงขึ้นหรือการรักษาทางเลือก
- ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด: การแทรกแซงการผ่าตัด เช่น microvascular decompression (MVD) หรือการผ่าตัดด้วยรังสีแบบ Stereotactic ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เอง รวมถึงการติดเชื้อ การสูญเสียการได้ยิน (หากเส้นประสาทการได้ยินได้รับผลกระทบ) และปัญหาการทรงตัว
- การพึ่งพายา: การใช้ยาแก้ปวดในระยะยาวอาจทำให้เกิดปัญหาการพึ่งพาและการติดยา ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในการจัดการ
- ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน: ความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องของโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ทำให้การทำงาน การทำงานประจำ หรือเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่างๆ เป็นไปได้ยาก
- การกลับเป็นซ้ำ:โรคปวดประสาทบนในหน้าอาจเป็นภาวะเรื้อรัง และแม้ว่าการรักษาอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ความเจ็บปวดก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ โดยต้องมีการจัดการอย่างต่อเนื่องและอาจต้องเข้ารับการรักษาซ้ำ
- อาการชาหรือสูญเสียความรู้สึก: โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาด้วยการผ่าตัด บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการชาหรือสูญเสียความรู้สึกในส่วนต่างๆ ของใบหน้าได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://docs.google.com/document/d/1p63StZPfWlA4g9TU9Wt9XywUjH1AfzF4rLZsRubcadM/edit
-
https://www.nhs.uk/conditions/trigeminal-neuralgia/
-
https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Trigeminal-Neuralgia-Fact-Sheet
-
https://www.webmd.com/pain-management/guide/trigeminal-neuralgia
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team