วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง (Depression Treatment)

การบำบัด ยา การช่วยเหลือตัวเอง บางคนอาจรู้สึกสับสนถึงทาเลือกที่แตกต่างกันของภาวะซึมเศร้าต่างๆเหล่านี้ ต่อไปนี้คือวิธีตัดสินใจในการเลือกเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด

การหาวิธีรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

เมื่อเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าคุณไม่สามารถหลุดพ้นออกมาจากเงาดำนี้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ ดังนั้นหากคุณมีภาวะซึมเศร้าอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ นับตั้งแต่การได้รับการบำบัดไปจนถึงการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต มีวิธีรักษาโรคซึมเศร้าทางเลือกอื่นๆที่แตกต่างอีกหลายวิธี และแน่นอน คนสองคนที่มีภาวะซึมเศร้าก็ไม่มีรูปแบบที่เหมือนกัน ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีการแบบเดียวใช้ได้หมดก็ไม่ใช่การรักษาภาวะซึมเศร้า สิ่งที่ได้ผลสำหรับคนๆหนึ่งอาจไม่ได้ผลสำหรับอีกคน คุณสามารถค้นหาวิธีการรักษาที่สามารถช่วยให้ก้าวพ้นภาวะซึมเศร้านี้ไปให้ได้ เพื่อความรู้สึกมีความสุขและกลับมามีความหวังอีกครั้ง

เคล็ดลับการรักษาภาวะซึมเศร้า

เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าให้มากที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจว่าภาวะซึมเศร้าของคุณเกิดขึ้นเพราะโรคบางอย่าง หากถ้าใช้โรคดังกล่าวนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนเป็นอันดับแรก เรื่องของความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ยิ่งภาวะซึมเศร้ามีความรุนแรงมากยิ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาเข้มข้นมากขึ้น ให้เวลากับการค้นหาการรักษาที่มีความเหมาะสม อาจต้องมีการลองผิดลองถูกในการพยายามหาวิธีการรักษาและหาสิ่งที่ให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับตัวคุณ ยกตัวอย่างเช่น  หากคุณตัดสินใจจะใช้วิธีการบำบัดคุณอาจต้องใช้ความพยายามหลายต่อหลายครั้งในการค้นหาตัวนักบำบัดที่สามารถเข้ากับคุณได้จริงๆ อย่าใช้แต่ยาเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่ายาจะสามารถแก้โรคซึมเศร้าได้ก็ตาม แต่ก็ไม่เหมาะจะใช้ในระยะยาว การรักษาด้วยวิธีอื่นๆซึ่งรวมไปถึงการออกกำลังกายและการบำบัดก็ส่งผลมีประสิทธิภาพได้ดีพอๆกับการใช้ยา รับความช่วยเหลือทางสังคม ยิ่งมีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมมากเทาไรก็เท่ากับยิ่งเป็นการป้องกันคุณจากภาวะซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น หากคุณยังรู้สึกติดขัดอย่าลังเลที่จะพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ หรือออกไปหาความสัมพันธ์ใหม่ๆกับกลุ่มที่ช่วยเหลือคนที่มีภาวะซึมเศร้า การรักษาต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น ภาวะซึมเศร้าทุกชนิดต้องใช้เวลาในการรักษาทั้งสิ้น และในบางครั้งอาจรู้สึกว่ามันยากหรือน่าผิดหวัง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ การฟื้นฟูมักจะขึ้นๆลงๆเสมอ

บำบัดโรคซึมเศร้าโดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต: 

การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตคือสิ่งที่ทำง่ายๆแต่สามารถเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการรักษาอาการซึมเศร้า บางครั้งอาจเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการ แม้คุณยังต้องการการรักษาอื่นๆ แต่การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตที่เหมาะสมก็สามารถช่วยแก้ภาวะซึมเศร้าได้รวดเร็วขึ้น-และช่วยป้องกันการกลับมาของภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง

การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อรักษาภาวะซึมเศร้า

การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำส่งผลดีในการรักษาภาวะซึมเศร้าได้มีประสิทธิภาพพอๆกับการใช้ยา การออกกำลังกายไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างเสริมสารเซโรโทนิน เอนโดฟินและสารเคมีอื่นๆที่ทำให้สมองรู้สึกดีได้เท่านั้น แต่การออกกำลังกายยังช่วยยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการเชื่อมโยงของเซลล์สมองใหม่ได้เหมือนกับยาต้านซึมเศร้า การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องฝึกหนักเพื่อให้ได้รับประโยชน์แต่เพียงแค่การเดินวันละครึ่งชั่วโมงก็สามารถสร้างความแตกต่างได้แล้ว สำหรับผลที่ได้เต็มที่ควรออกกำลังการแบบแอโรบิคราว 30 ถึง 60 นาทีเป็นประจำ การช่วยเหลือทางสังคม การมีสังคมที่เข้มแข็งสามารถการแยกตัวได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงตัวการใหญ่ของภาวะซึมเศร้า พยายามติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัวไว้เสมอหรืออาจเข้าไปรวมกลุ่มบางอย่าง การช่วยงานอาสาสมัครก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยได้ โภชนาการ การรับประทานอาหารที่ดีมีส่วนสำคัญทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การรับประทานมื้อเล็กๆและมีความสมดุลตลอดทั้งวันจะช่วยรักษาพลังงานให้สูงเสมอและช่วยลดอารมณ์เหวี่ยงขึ้นๆลงๆได้ ในขณะเดียวกันก็ลดการบริโภคน้ำตาลลง เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การนอนหลับ การนอนหลับมีผลกระทบรุนแรงต่อเรื่องของอารมณ์ เมื่อนอนไม่พออาการซึมเศร้าจะยิ่งแย่ลง การนอนไม่เพียงพอจะทำให้อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว เศร้าและอ่อนล้ามีความรุนแรงขึ้น ควรแน่ใจว่าได้นอนอย่างเพียงพอในแต่ละคืน น้อยคนนักที่สามารถนอนได้น้อยกว่าเจ็ดชั่วโมง คนส่วนใหญ่ควรได้นอนเจ็ดถึงเก้าชั่วโมงต่อคืน  ลดความเครียด การเปลี่ยนรูปแบบชีวิตจะช่วยจัดการและลดความเครียดได้ ยิ่งมีความเครียดมากอาการซึมเศร้าก็จะรุนแรงมากขึ้นและเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะซึทเศร้าได้ในอนาคต 

โรคบางอย่างที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า

หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไม่ได้ผล ให้นัดพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพ หากพบว่าภาวะซึมเศร้าเป็นผลมาจากโรคบางอย่าง การบำบัดและยาต้านเศร้สอาจช่วยได้แค่นิดหน่อย ภาวะซึมเศร้าจะยังไม่ดีขึ้นจนกว่าปัญหาทางด้านสุขภาพจะสามารถระบุได้และได้รับการรักษาให้หายเสียก่อน แพทย์จะตรวจดูโรคที่เป็นอยู่ซึ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าไม่แท้จริง และต้องทำให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ทานยาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงให้เกิดภาวะซึมเศร้า โรคหลายๆโรครวมถึงยาหลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้าได้ รวมไปถึงอาการเศร้า อ่อนล้าและเบื่อหน่าย ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์หรือภาวะขาดไทรอยด์คือตัวที่ส่งผลต่อด้านอารมณ์โดยเฉพาะในผู้หญิง ผู้สูงอายุหรือคนที่รับประทานยาแตกต่างกันหลายตัวในแต่ละวันมีความเสี่ยงจะเกิดปฏิกิริยาจากยาที่เป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้า ยิ่งรับประทานยามากเท่าไรความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยาจากยายิ่งมากขึ้นเท่านั้น

วิธีแก้โรคซึมเศร้าด้วยจิตบำบัด 

หากไม่มีโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า การพูดคุยบำบัดสามารถช่วยรักษาได้ดีเช่นกัน การได้เรียนรู้ทักษะและการทำความเข้าใจจะช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้นและช่วยป้องกันการกลับมาของภาวะซึมเศร้าอีกครั้งได้ การบำบัดบางรูปแบบจะสอนเทคนิควิธีการปรับเปลี่ยนการคิดในแง่ลบและใช้เทคนิคในการเพิ่มทักษะเพื่อต่อกรกับภาวะซึมเศร้า  การบำบัดสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจความรู้สึก รับรู้สิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้า และสิ่งที่ควรทำเพื่อให้อยู่ได้อย่างมีความสุข ความสัมพันธ์ ทำความเข้าใจรูปแบบของความสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกว่าและการมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นจะสามารถช่วยลดการแยกตัวและสร้างการสนับสนุนจากสังคม เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะซึมเศร้า ตั้งขอบเขตจุดยืนของตัวเอง หากมีความเครียดและรู้สึกเหมือนไม่สามารถตอบปฏิเสธได้ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้ามากขึ้น การตั้งขอบเขตจุดยืรมรด้านความสัมพันธ์และในที่ทำงานจะช่วยบรรเทาความเครียดลงได้ และการบำบัดจะสามารถช่วยกำหนดและตั้งขอบเขตที่ถูกต้องสำหรับคุณได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: วิธีตั้งขอบเขตของตนเอง การจัดการปัญหาชีวิต การได้พูดคุยกับนักบำบัดที่ไว้ใจจะสามารถช่วยให้เกิดผลตอบกลับที่ดีในการคิดบวกกับปัญหาและเรื่องท้าทายของชีวิตได้ Drepession treatment

การบำบัดแบบเดี่ยวหรือกลุ่มแบบไหนดีกว่ากัน?

เมื่อได้ยินคำว่า “บำบัด” เราอาจคิดไปเองโดนอัตโนมัติว่าเป็นดารพบนักบำบัดแบบตัวต่อตัว แต่การเข้ารวมกับกลุ่มบำบัดก็ได้ผลดีในการรักษาภาวะซึมเศร้าเช่นกัน การบำบัดทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่มมักใช้เวลานานราวหนึ่งชั่วโมง ประโยชน์ที่ได้ของแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร การบำบัดแบบส่วนตัว คุณจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับคนหนึ่งคนและอาจทำให้รู้สึกสะดวกใจกว่าในการแบ่งปันข้อมูลที่อ่อนไหวกับคนๆเดียวมากกว่าแบบเป็นกลุ่ม   ในกลุ่มบำบัด การได้รับฟังคนที่มีข้อติดขัดเดียวกันจะสามารถIแบ่งปันประสบการณ์และช่วยสร้างคุณค่าให้แก่ตัวเอง สมาชิกในกลุ่มอาจมจุดแตกต่างที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นอาจทำให้ได้รับเคล็ดลับจากบางคนให้ก้าวผ่านปัญหาที่ท้าทายได้ รวมไปถึงการช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความคิด ความใส่ใจเพื่อก้าวผ่านพ้นปัญหาที่ท้าทายและเนตเวิร์ค อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ทดสอบโรคซึมเศร้าได้ที่นี่

เมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบำบัด

ในขณะที่เรากำลังทำการเปลี่ยนแปลงบ้าน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตดูเหมือนจะเป็นไปได้ไม่ค่อยดีนัก สิ่งที่เกิดขึ้นมักทำให้ดูเหมือนจะแย่ลงกว่าเดิมก่อนที่ทุกอย่างจะดีขึ้นจงอย่ายอมแพ้ หากคุณปรึกษาแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นร่วมกับนักบำบัด สิ่งนี้จะยิ่งช่วยทำให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้มากขึ้น แต่หากพบว่าการพบนักบำบัดเริ่มทำให้คุณรู้สึกเหมือนถูกบังคับหรืออึดอัด อย่ากลัวที่จะหาทางเลือกอื่รสำหรับการบำบัดที่ดีกว่า การสร้างสัมพันธภาพความไว้วางใจที่เข้มแข็งคือพื้นฐานที่ดีในการบำบัด

การหานักบำบัด

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเมื่อต้องเลือกนักบำบัดคือต้องเลือกคนที่เชื่อมต่อกับคนๆนั้นได้จริง การมีนักบำบัดที่ตรงใจจะสามารถเป็นเสมือนคู่หูที่ช่วยดูแลและให้การสนับสนุนที่ดีในการรักษาภาวะซึมเศร้าและการฟื้นฟูได้

ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า

ยาภาวะซึมเศร้าอาจโฆษณาว่าสามารถรักษาภาวะซึมเศร้าได้ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพทั้งหมด ภาวะซึมเศร้าไม่ใช้แค่เรื่องเคมีในสมองไม่มีความสมดุลเท่านั้น ยาอาจจะช่วยบรรเทาอาการบางอย่างของภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงรุนแรงได้แต่ไม่สามารถรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ และไม่ควรใช้ในระยะยาวอีกด้วย ยาต้านเศร้ามักมาคู่กับผลข้างเคียงและความวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยอีกทั้งยังเลิกได้ยากมาก หากคุณตัดสินใจจะเลือกใช้ยาในการรักษาภาวะซึมเศร้า แต่ก็อย่าเพิกเฉยกับการรักษาอื่นๆ การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการบำบัดไม่เพียงแต่จะช่วยเร่งการฟื้นฟูภาวะซึมเศร้าได้ดีเท่านั้นแต่ยังเป็นตัวช่วยสร้างทักษะต่างๆเพื่อเป็นการป้องกันการกลับมาเป็นภาวะซึมเศร้าอีกครั้งได้

การบำบัดTMS สำหรับภาวะซึมเศร้า 

หากคุฯต้องทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าและต้องอดทนกับการบำบัด การทานยาและการช่วยเหลือตัวเอง การบำบัดด้วยวิธี TMS อาจเป็นอีกหนึ่งในทางเลือก การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (TMS) คือการรักษาแบบไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายด้วยการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายิงซ้ำๆตรงไปที่บริเวณสมองที่มีผลด้านอารมณ์ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กนี้จะยิงผ่านกระโหลกเข้าไปและไปกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่ทำให้การสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆของสมองดีขึ้นและบรรเทาอาการซึมเศร้าได้โดยไม่สร้างความเจ็บปวดแต่อย่างไร การรักษาด้วย TMS อาจช่วยรักษาซึมเศร้าให้ดีขึ้นได้ก็จริง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าสามารถรักษาภาวะซึมเศร้าได้หรือทำให้อาการไม่กลับมาอีกได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ที่นี่

การรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม

การรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริมสำหรับภาวะซึมเศร้าอาจรวมไปถึงวิตามินและอาหารเสริมสมุนไพร การฝังเข็มและการใช้เทคนิคการผ่อนคลายเช่นการนั่งสมาธิ โยคะหรือไทชิ

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับภาวะซึมเศร้า

หากพบว่าภาวะซึมเศร้าส่วนหนึ่งมาจากการพร่องสารอาหาร การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอาจเป็นประโยชน์ต่อภาวะโรค แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน หากตัดสินใจจะลองเลือกการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติและอาหารเสริมสมุนไพร ควรจำเอาไว้ว่าอาหารเสริมสมุนไพรสามารถมีผลข้างเคียงต่อยาหรืออาหารได้ ยกตัวอย่างเช่น เซนต์จอห์นเวิรธ์-เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง-สามารถไปขัดขวางกับยาบางชนิดเช่น ยาเจือจางเลือด ยาเม็ดคุมกำเนิดและยาต้านเศร้า ดังนั้นควรแจ้งให้แพทย์หรือนักบำบัดทราบก่อนรับประทานอาหารเสริมทุกชนิด

การรักษาทางเลือกอื่นๆ

การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย รวมไปถึงการช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า เทคนิคการผ่อนคลายอาจช่วยลดความเครียดและสร้างความรู้สึกสนุกสนานและมีความสุขได้ ลองเล่นโยคะ การหายใจลึกๆ การได้ยืดกล้ามเนื้อหรือการนั่งสมาธิ การฝังเข็ม เป็นเทคนิคการใช้เข็มเฉพาะจุดบนร่างกายเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาซึ่งสามารถช่วยเรื่องการรักษาภาวะซึมเศร้าได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด