แผลงูกัดคืออะไร
ทุกปีมีการรายงานข่าวในสหรัฐอเมริกาที่พบว่าไม่ค่อนมีผู้เสียชีวิตจากการโดนงูที่มีพิษกัดแต่เมื่อโดนงูกัดควรได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ฉุกเฉินเสมอ แม้ว่าถูกงูไม่มีพิษกัดก็ตามเนื่องจากสามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือติดเชื้อรุนเเรงได้ เมื่อถูกงูที่มีพิษกัดอาจทำให้เกิดอาการหลายอย่างได้แก่มีอาการเจ็บปวดบริเวณที่โดนงูกัดและมีอาการบวม มีอาการชัก คลื่นไส้อาเจียนหรือเป็นอัมพาตได้ การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัดควรล้างแพทย์ให้สะอาด ทำใจให้สงบและไม่ขยับบริเวณที่ถูกงูกัด อย่างไรก็ตามควรไปพบเเพทย์ทันทีเนื่องจากถ้าหากรักษาได้ทันเวลา อาการทั้งหมดจะดีขึ้นวิธีบ่งบอกลักษณะงูที่มีพิษ
ถ้าหากคุณไม่คุ้นเคยกับงูแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกันและไม่สามารถระบุลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างงูมีพิษและงูไม่มีพิษได้จึงทำให้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อถูกงูกัด ดังนั้นจึงควรรักษาแผลงูกัดเสมือนถูกงูที่มีพิษกันเสมอ ในขณะที่งูในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษแต่ก็ยังมีงูหลายชนิดที่มีพิษ ในสหรัฐอเมริกางูทุกชนิดเป็นงูที่มีพิษเช่นงูประการังสีแดงและงูตะปะ ซึ่งงูตะปะมีลักษณะโดดเด่นคือบริเวณตาและจมูกมีลักษณะยุบลง โดยบริเวณที่ยุบลงเป็นหลุมเป็นส่วนที่ใช้รับความร้อนของงู ในขณะที่งูตะปะทั่วไปมีหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมแต่ไม่ใช่งูที่มีหัวสามเหลี่ยมทุกตัวจะเป็นงูที่มีพิษ ถ้าหากคุณหรือมีใครบางคนโดนงูกัด คุณจะสามารถรู้ได้ทันที เป็นไปได้ว่าเมื่อถูกงูกัดแล้ว งูสามารถหายไปได้รวดเร็วมาก วิธีระบุแผลงูกัดสามารถพิจารณาจากลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้- มีรอยเขี้ยวงูกัด 2 จุด
- มีอาการบวมเเละแดงรอบๆแผล
- มีอาการปวดบริเวณรอบๆที่ถูกงูกัด
- หายใจลำบาก
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มองเห็นภาพเบลอ
- มีเหงื่อออกและน้ำลายไหล
- มีอาการชาที่ใบหน้าและลำตัว
- อาการเจ็บปวดรุนเเรง
- เปลือกตาปิดลง
- ความดันเลือดต่ำ
- กระหายน้ำ
- เหนื่อยล้าและกล้ามเนื้ออ่อนเเรง
- มีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน
- สีผิวเปลี่ยนไป
- เกิดอาการช็อก
- ความดันเลือดต่ำ
- อ่อนแรง
- มีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน
- สีผิวเปลี่ยนไป
- เกิดอาการช็อก
- ความดันเลือดต่ำ
- อ่อนแรง
- มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นแบบไม่เฉียบพลัน
- มีอาการเกิดขึ้นภายหลังจากถูกกัดหลายชั่วโมง
- มีอาการชักกระตุก
- เปลือกตาย้อยคล้อย
- ผิวหนังเปลี่ยนสี
- ปวดท้อง
- กลืนลำบาก
- ปวดหัว
- เกิดอาการช็อก
- เป็นอัมพาต
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด
เมื่อถูกงูกัดควรได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ฉุกเฉินทันทีถ้าเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามมีข้อควรปฏิบัติที่คุณควรจดจำไว้- โทรหาเบอร์ 191 ทันที
- จดเวลาที่ถูกงูกัด
- ทำใจให้สงบและอยู่นิ่งๆเพราะเมื่อขยับร่างกายจะทำให้พิษแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้เร็วขึ้น
- ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับออกเนื่องจากบริเวณรอบแผลงูกัดอาจบวมขึ้น
- ไม่ควรให้ผู้ที่ถูกงูกัดเดิน ควรเคลือนย้ายพวกเขาด้วยยานพาหนะ
- ไม่ควรฆ่าหรือจับงู ควรถ่ายรูปงูไว้ ถ้าคุณมีเวลาแต่ไม่ควรเสียเวลาไล่จับงู
การปฐมพยาบาลงูกัดและความเชื่อ
มีวิธีปฐมพยาบาลที่ล้าสมัยหลายวิธีที่ยังคงเป็นความเชื่อที่ผิดหรือไม่ได้ช่วยทำให้แผลงูกัดดีขึ้นและยังทำให้เกิดอันตรายมากขึ้นอีกด้วย- ไม่ความใช้สายรัดห้ามเลือด
- ไม่ควรตัดบริเวณที่ถูกงูกัด
- ไม่ควรประคบเย็นบริเวณที่ถูกงูกัด
- ไม่ควรให้ผู้อื่นรักษานอกจากแพทย์
- ไม่ควรยกบริเวณที่ถูกงูกัดให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจของผู้ที่ถูกงูกัด
- ไม่ควรดูดพิษออกด้วยปาก
- เมื่อก่อนไม่ควรใช้เครื่องดูดที่ใช้สำหรับดูดพิษงู แต่ปัจจุบันมีความเชื่อว่าการใช้เครื่องดูดพิษงูทำให้เกิดอันตรายมากกว่าเป็นผลดี
วิธีรักษาแผลงูกัด
สิ่งสำคัญที่ควรทำเมื่อถูกงูกัดคือการเข้ารับการรักษาจากทีมแพทย์ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ แพทย์จะทำการประเมินอาการผู้ที่ถูกงูกัดเพื่อตัดสินใจเลือกใช้วิธีรักษาที่เหมาะสม ในกรณีที่ถูกงูมีพิษกัดแต่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ควรรุนเเรงขึ้นอยู่กับบริเวณที่ถูกงูกัดและอายุรวมถึงสุขภาพของผู้ที่ถูกงูกัด ถ้าหากแผลงูกัดไม่ก่อให้เกิดอันตราย แผลจะทำความสะอาดบาดแผลตามปกติและฉีดวัคซีนบาดทะยักให้คนไข้ แต่ถ้าหากแพทย์งูกัดเป็นอันตรายต่อชีวิต แพทย์จะฉีดเซรุ่มต้านพิษงูให้คนไข้ ซึ่งเซรุ่มทำมาจากพิษของงูที่ใช้รักษาแผลถูกงูกัด เมื่อผู้ป่วยได้รับเซรุ่มต้านพิษงูเเล้วจะมีอาการดีขึ้นลักษณะภายนอกของแผลงูกัด
ลักษณะภายนอกของผู้ที่ถูกงูกัดมีความแตกต่างและหลากหลายมาก สำหรับผู้ที่ถูกงูไม่มีพิษกัด แผลภายนอกอาจดูไม่เลวร้าย สามารถล้างแผลให้สะอาดตามปกติและควรทำการรักษาทันที สำหรับแผลงูมีพิษกัด ควรนำผู้ที่ถูกงูกัดไปพบเเพทย์ทันที ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจะมีแผลงูกัดที่ไม่ค่อยลึกซึ่งแตกต่างจากเด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอทำให้เมื่อถูกงูกัดจะมีแผลงูกัดที่ลึกกว่านี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/niosh/topics/snakes/symptoms.html
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15647-snake-bites
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น