ยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาเซอร์ทราลีน

Sertraline คือยาอะไร

เซอร์ทราลีน (Sertraline) เป็นยาใช้รักษาโรคซึมเศร้า โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านเศร้า (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors :SSRIs)
  • เซอร์ทราลีน (Sertraline) จัดว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อยู่ในกลุ่ม SSRIs ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมสารสื่อประสาทภายในสมองที่เรียกว่า เซโรโทนิน (Serotonin)
  • เซอร์ทราลีนมีผลข้างเคียงมากมาย อาทิ การเพิ่มความเสี่ยงในการคิดฆ่าตัวตาย หงุดหงิด กระสับกระส่าย ความต้องการทางเพศลดลง หากเกิดอาการที่ผิดปกติควรไปพบแพทย์
  • ปฏิกิริยาต่อกันของยาเซอร์ทราลีนกับยาอื่นๆพบได้หลายชนิด หากคุณกำลังใช้ยาเซอร์ทราลีนร่วมกับยาอื่นๆควรแจ้งให้แพทย์ของคุณทราบล่วงหน้า
  • การลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มการรับประทานยาเป็นสองเท่า
  • ไม่ควรหยุด, ลด หรือเพิ่มยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ควรไปพบแทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและการตอบสนองต่อการรักษา
เซอร์ทราลีน เป็นชื่อยาสามัญ ส่วนโซลอฟท์ (Zoloft) เป็นชื่อทางการค้าของเซอร์ทราลีน จัดเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มยาต้านเศร้า(Antidepressants) กลุ่ม SSRIs ที่ออกฤทธิ์ควบคุมระดับของสารสื่อประสาทภายในสมองของเราที่เรียกว่า เซโรโทนิน (Serotonin) โดยเซโรโทนินมีหน้าที่ในการควบคุมฮอร์โมน อารมณ์ความรู้สึก และการทำงานของสมอง ปัจจุบันยากลุ่ม SSRIs เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่นิยมใช้รักษามากที่สุด เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายากลุ่มอื่นๆที่ใช้ในการรักษา

ข้อบ่งใช้ของยาเซอร์ทราลีน

ยา Sertraline การออฤทธิ์

ยับยั้งการเก็บกลับ (Reuptake) ของสารสื่อประสาทเซโรโทนินบริเวณปลายประสาท ทำให้เซโรโทนินออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ซึ่งเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมความสมดุลของอารมณ์และจิตใจ

ขนาด และวิธีการใช้

ยาที่ใช้ในการรักษาส่วนใหญ่เป็นยาเม็ดแบบรับประทาน สำหรับเด็ก
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
6 – 12 ปี: 25 มก.  1 ครั้ง/วัน 13 – 17 ปี: เริ่มที่ 50 มก. 1 ครั้ง/วัน  สำหรับผู้ใหญ่
  • โรคซึมเศร้า 
เริ่มที่ 50 – 100 มก. 1 ครั้ง/วัน
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ 
เริ่มที่ 50 มก. 1 ครั้ง/วัน
  • โรคตื่นตระหนก ,ภาวะความผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง และโรคกลัวการเข้าสังคม
เริ่มที่ 25 มก. 1 ครั้ง/วัน แล้วเพิ่มเป็น 50 มก. 1 ครั้ง/วัน ในสัปดาห์ที่ 2 
  • กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน                                        
เริ่มที่ 50 มก. 1 ครั้ง/วัน ทุกวันตลอดรอบการมีประจำเดือน หรือใช้เฉพาะช่วงหลังไขตกของรอบการมีประจำเดือน ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ โดยจะปรับขนาดเพิ่มขึ้นครั้งละ 50 มก. ตามการตอบสนองทางคลินิก ทุกรอบเดือนจนได้ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 150 มก./วัน
  • ภาวะหลั่งเร็ว25 – 50 มก. 1 ครั้ง/วัน
หมายเหตุ : หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาสามารถเพิ่มขนาดยาได้สูงสุดถึง 200 มก./วัน (ในผู้ใหญ่) โดยทิ้งช่วงก่อนการปรับขนาดยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ไม่ควรปรับยาถี่เกินกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ เนื่องจากยามีค่าครึ่งชีวิต (Half life) ของการกำจัดยาอยู่ที่ประมาณ 25 – 26 ชม. ซึ่งการที่จะเห็นผลการรักษาต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หรืออาจมากกว่านี้ในผู้ผ่วยโรคย้ำคิดย้ำทำSertraline

การลืมทานยา

หากลืมรับประทานยาเซอร์ทราลีน ให้ทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้เวลาของยามื้อถัดไปให้ทานยาของมื้อถัดไปตามเวลา โดยไม่ต้องทานเป็นสองเท่า

การรับประทานยาเกินขนาด

เมื่อเกิดการใช้ยาเกินขนาด ร่างกายจะมีอาการ เช่น สั่น, กระสับกระส่าย, อาเจียน, ง่วงซึมมาก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากคุณมีอาการดังกล่าวและคิดว่าตนเองใช้ยาเกินขนาด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน เซอร์ทราลีนเป็นยารักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฉะนั้นไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง การหยุดหรือปรับยาเองเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เพราะอาจเกิดอันตรายได้

ผลข้างเคียง

  1. ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
1. อาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับหรือฝันบ่อย สามารถแก้ไขได้ด้วยการรับประทานยานอนหลับร่วมด้วย 2. ผลทางเพศ ได้แก่ 3. กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome) เกิดจากการมีเซโรโทนินมากเกิน อาการประกอบด้วย
  • อ่อนเพลีย
  • กระวนกระวาย
  • ปวดท้อง
  • เหงื่อแตก
  • สะบัดร้อนสะบัดหนาว
  • สับสน
  • สั่น
  • อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น
  • กล้ามเนื้อกระตุกแบบ Myoclonus ซึ่งเป็นอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่ได้ตั้งใจ บังคับไม่ได้
  • ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) จนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
ซึ่งโดยรวมนั้นเป็นกลุ่มอาการที่พบได้น้อย มักเกิดกับการใช้ร่วมกับยาอื่นที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มเซโรโทนิน เช่น ใช้ร่วมกับลิเทียม หรือให้สองอย่างร่วมกัน โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการหยุดยาและรักษาตามอาการ 4. กลุ่มอาการถอนยา (Withdrawal syndrome) จะพบอาการดังกล่าวภายใน 1 สัปดาห์หลังหยุดยาในผู้ที่ใช้ยามานานกว่า 1 เดือน อีกทั้งยังพบได้บ่อยในยาที่มีค่าครึ่งชีวิต (half life) สั้น

ข้อควรระวัง

ห้ามใช้ในกรณี
  • ผู้ที่มีประวัติallergy-0094/”>แพ้ยา
  • ใช้ร่วมกับยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor : MAOI ได้แก่
    • Furazolidone (Furoxone)
    • Phenelzine (Nardil)
    • Rasagiline (Azilect)
    • Isocarboxazid (Marplan)
    • Selegiline (Eldepryl Emsam และ Zelapar)
    • Trannylcypromine (Parbate)
หากผู้ป่วยกำลังรับประทานยากลุ่มนี้อยู่และจะต้องเริ่มยาเซอร์ทราลีนร่วมด้วย ควรต้องหยุดรับประทานยาและรออย่างน้อย 14 วันก่อนที่จะเริ่มต้อนใช้เซอร์ทราลีน
  • ใช้ร่วมกับยา Pimozide ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเภท
  • ใช้ร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflamatory : NSAIDs) ซึ่งเมื่อรับประทานร่วมกับเซอร์ทราลีนจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกง่ายกว่าปกติ เกิดจุกจ้ำเลือดตามร่างกายได้ ตัวยาได้แก่
    • Ibuprofen : Advil Motrin
    • Naproxen : Aleve, Naprosyn, Naprelan และ Treximet
    • Aspirin และ Celecoxib (Celebrex)
    • Indomethacin (Indocin)
    • Meloxicam (Mobic)
    • Diclofenac : Arthrotec, Cambia, Cataflam, Voltaren, Flector, Patch, Pennsaid และ Solareze
  • ยาอื่นๆที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องรับประทานคู่กับยาเซอร์ทราลีน
    • กลุ่มยารักษาอาการปวดไมเกรน (Migraines)
    • ยาแก้ปวด เช่น Fentanyl, Tramadol
    • 5-Hydroxytryptophan (5-HTP)
    • กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด เช่น Warfarin
    • กลุ่มยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น Specialise และ Propagating
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาเซอร์ทราลีน คุณควรนำยาที่รับประทานทั้งหมดมาให้แพทย์ตรวจสอบรายการยา เพื่อการบริหารยาที่เหมาะสมและปลอดภัยแก่ตัวคุณเอง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์ระหว่างการใช้ยาเซอร์ทราลีน เนื่องจากแอลกอฮอร์อาจเพิ่มผลข้างเคียงของเซอร์ทราลีนได้ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือการใช้เครื่องจักรขณะรับประทานยา เพราะตัวยาอาจทำให้ประสิทธิภาพทางความคิดและการทำงานแย่ลง ในสตรีมีครรภ์ เซอร์ทราลีนถูกจัดอยู่ใน Category C คือ มีการศึกษาการใช้ยาในสัตว์ทดลองพบว่ายามีควาเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ยังไม่มีการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ หรือรายงานถึงประโยชน์และความเสี่ยงของยาต่อทารกในครรภ์

ใครที่ไม่ควรใช้ยา Sertraline

Sertraline เป็นยาที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคตื่นตระหนก โรควิตกกังวลทางสังคม และโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) แม้ว่าโดยทั่วไปถือว่าเซอทราลีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลจำนวนมาก แต่ก็มีสถานการณ์ที่การใช้ยาเซอทราลีนอาจมีข้อห้ามหรือต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้เซอทราลีนควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ต่อไปนี้เป็นบางสถานการณ์ที่อาจได้รับการรับประกันด้วยความระมัดระวังหรือการหลีกเลี่ยงเซอทราลีน:
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
      • บุคคลที่ทราบว่าแพ้เซอทราลีนหรือส่วนประกอบใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • สารยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs):
      • ไม่ควรใช้ Sertraline ภายใน 14 วันหลังจากหยุดการรักษาด้วย monoamine oxidase inhibitor (MAOI) การรวมกันของเซอทราลีนและ MAOI สามารถนำไปสู่ภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตที่เรียกว่ากลุ่มอาการเซโรโทนิน
  • พิโมไซด์:
      • การใช้ sertraline ร่วมกับ pimozide ร่วมกันนั้นมีข้อห้ามเนื่องจากอาจเพิ่ม QT และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ไทโอริดาซีน:
      • การใช้ sertraline ร่วมกับ thioridazine มีข้อห้ามเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการยืดตัวของ QT และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่คุกคามถึงชีวิต
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • ความปลอดภัยของเซอทราลีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้เซอทราลีน
  • โรคตับอย่างรุนแรง:
      • บุคคลที่มีความบกพร่องของตับอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือติดตามอย่างระมัดระวังเมื่อใช้เซอทราลีน ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเซอทราลีน
  • โรคสองขั้ว:
      • ในบุคคลที่มีโรคไบโพลาร์ การใช้เซอทราลีนโดยไม่มียารักษาอารมณ์อาจทำให้เกิดอาการแมเนียหรือไฮโปแมนิกได้ การตัดสินใจใช้ยาเซอทราลีนในผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
  • ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ:
    • เซอร์ทราลีนมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (ระดับโซเดียมต่ำ) โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การตรวจสอบระดับอิเล็กโทรไลต์เป็นสิ่งสำคัญ และควรใช้ความระมัดระวังในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ทั้งหมดของคุณ รวมถึงสภาวะสุขภาพที่มีอยู่ ยาที่คุณกำลังใช้อยู่ และประวัติโรคภูมิแพ้ ข้อมูลนี้จะช่วยพิจารณาว่าเซอทราลีนเป็นตัวเลือกการรักษาที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์เฉพาะของคุณหรือไม่ ใช้เซอทราลีนเสมอภายใต้การดูแลและใบสั่งยาจากแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697048.html
  • https://www.nhs.uk/medicines/sertraline/
  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1/sertraline-oral/details
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด