โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง โดยจุลินทรีย์มีหลากหลายสายพันธ์ุ ทั้งสายพันธุ์ที่ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพ และไม่ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพ หากจะเปรียบระบบทางเดินอาหารของเราเป็นชุมชนหนึ่ง จุลินทรีย์ก็คือ ประชากรภายในชุมชน ถ้าหากภายในชุมชนมีแต่ประชากรที่ดี ช่วยกันดูแลชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ไม่สร้างความเดือนร้อนขึ้นในชุมชน ชุมชนนั้นก็จะน่าอยู่ ระบบทางเดินอาหารของเราก็ เช่น กัน หากมีแต่จุลินทรีย์ที่ดี สร้างความสมดุลภายในระบบทางเดินอาหาร ร่างกายของเราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง
คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Gut-Brain” หรือ “Gut Is The Second Brain” ว่าด้วยเรื่องของระบบทางเดินอาหารนั้นมีโคร่งข่ายประสาทที่มีความละเอียดอ่อน และซับซ้อนมากจนได้รับการขนานนามว่าลำไส้เป็นเหมือนสมองที่สองของมนุษย์ เพราะหน้าที่ของโครงข่ายประสาทดังกล่าวนี้นอกจากจะควบคุมการบีบตัวของทางเดินอาหารแล้วนั้นยังทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทไปยังสมอง จึงเกิดการประสานงานกันระหว่างลำไส้ และสมองอันเป็นส่วนหนึ่งในการประมวลผลด้านอารมณ์ ความคิด และการเรียนรู้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบสารสื่อประสาทที่พบได้ในสมอง ก็สามารถสร้างขึ้นได้ในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความสุขสงบ และผ่อนคลาย ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายในโครงข่ายประสาทภายในทางเดินอาหารกว่าร้อยละ 95 ของฮอร์โมนเซโรโทนินที่ใช้ในร่างกาย จึงจะเห็นได้ว่าสุขภาพของลำไส้นั้นมีผลโดยตรงต่อสุขภาพสมอง
หากเมื่อใดที่สุขภาพของลำไส้ไม่ดี สุขภาพสมองก็จะไม่ดีตามมาด้วย ซึ่งสุขภาพของลำไส้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอาหารที่บริโภคเข้าไป ตรงกับคำที่ว่า “You Are What You Eat” โปรไบโอติกสายพันธ์ุที่ก่อประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วพวกมันจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ช่วยปรับสมดุลให้กับจุลินทรีย์ที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ก่อประโยชน์มีจำนวนมากขึ้นภายในร่างกาย ส่วนจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อประโยชน์ก็จะลดจำนวนลง เช่น พวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง และสารที่มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น มีรายงานการปลูกถ่ายอุจจาระ (Faecal Microbiome Transparent) ถูกนำมาใช้นการรักษาโรคอ้วนในมนุษย์ โดยมีผู้หญิงรูปร่างปกติ เข้ารับการปลูกถ่ายอุจจาระเพื่อรักษาการติดเชื้อโรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง (C.Diff) ซึ่งเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะมากเกินไป
เมื่อมีโปรไบโอติก ก็ต้องมีพรีไบโอติกเป็นของคู่กัน
พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ อาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย หรือดูดซึมทางลำไส้ได้ ต้องอาศัยตัวกลางนั้นก็คือจุลินทรีย์โปรไบโอติกในการย่อยสลาย จึงเป็นผลให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโต และเกิดการทำงานของจุลินทรีย์ภายในลำไส้ ตัวอย่างของพรีไบโอติก ได้แก่ หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ใยอาหารในผัก และผลไม้ต่างๆ เป็นต้นจุลินทรีย์สายพันธุ์ใดบ้างที่เป็นโปรไบโอติก
ปัจจุบันมีโปรไบโอติกอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบทั้งแบบผงแป้ง แคปซูล ยาเม็ดแบบเคี้ยว แบบสารละลาย หรือแบบยาเหน็บช่องคลอด โดยแต่ละรูปแบบก็มีวิธีเก็บรักษา และประกอบไปด้วยสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป โดยสายพันธุ์ที่ก่อประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่- เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Lactobacillus Spp. เป็นแบคทีเรียที่เกาะภายในลำไส้
- เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Bifidobacterium Spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน
แหล่งที่มาของจุลินทรีย์ที่ก่อประโยชน์ต่อร่างกาย
1. อาหารประเภทหมักดอง ซึ่งเกิดจากการใช้ Lactobacillus Spp. ในการหมักเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง นำมาซึ่งรสชาติอาหารที่แปลกใหม่ แต่ประเด็นคือ ด้วยวิธีนี้เราจะไม่สามารถปริมาณของแลคโตบาซิลัดว่ามีอยู่เท่าไร ตัวอย่างอาหารหมักดอง ได้แก่- กิมจิ
- นัดโตะ (Natto)
- ผักผลไม้ดองต่างๆ
บทบาทของโปรไบโอติก
- ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
- ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อก่อโรคบริเวณเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณดังกล่าว
- เหนี่ยวนำให้เกิดการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกัน และกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะปกติได้
อาการข้างเคียงที่อาจพบได้จากการรับประทานโปรไบโอติก
หากรับประทานในปริมาณมากเกิน อาจก่อให้เกิดลมในกระเพาะอาหาร เกิดอาการท้องอืด หรือแน่นท้องได้ปริมาณของโปรไบโอติกที่แนะนำ
ปริมาณโปรไบโอติกที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สายพันธุ์เฉพาะของโปรไบโอติก วัตถุประสงค์ในการรับประทาน และสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โปรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพของโฮสต์ คำแนะนำทั่วไปสำหรับการบริโภคโปรไบโอติกมีดังนี้:- หน่วยการขึ้นรูปอาณานิคม (CFUs):
-
-
- โปรไบโอติกวัดใน Colony Forming Units ซึ่งแสดงถึงจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปปริมาณการบริโภคประจำวันที่แนะนำจะอยู่ระหว่าง 1 พันล้านถึง 10 พันล้าน CFU แต่ปริมาณที่สูงกว่าอาจเป็นประโยชน์ในบางสถานการณ์
-
- วัตถุประสงค์ของการใช้โปรไบโอติก:
-
-
- เหตุผลในการรับประทานโปรไบโอติกอาจส่งผลต่อปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารโดยทั่วไป ปริมาณที่น้อยลงอาจเพียงพอ อย่างไรก็ตาม สำหรับอาการเฉพาะ เช่น อาการท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะหรืออาการลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจแนะนำให้ใช้ขนาดที่สูงกว่า
-
- ปริมาณเฉพาะสายพันธุ์:
-
-
- โปรไบโอติกสายพันธุ์ต่างๆ มีผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป บางชนิดอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทางเดินอาหารมากกว่า ในขณะที่บางชนิดอาจสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหรือด้านสุขภาพเฉพาะอื่นๆ ปริมาณที่แนะนำอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของสายพันธุ์
-
- ภาวะสุขภาพ:
-
-
- บุคคลที่มีภาวะสุขภาพบางอย่างหรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจต้องใช้ปริมาณโปรไบโอติกที่แตกต่างกัน ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสมที่สุดตามสถานะสุขภาพของคุณ
-
- ผลิตภัณฑ์ผสม:
-
-
- อาหารเสริมโปรไบโอติกบางชนิดมีส่วนผสมของสายพันธุ์ และ CFU ทั้งหมดคือผลรวมของสายพันธุ์ทั้งหมด ให้ความสนใจกับฉลากเพื่อทำความเข้าใจปริมาณของแต่ละสายพันธุ์และ CFU ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์
-
- แหล่งอาหาร:
-
-
- โปรไบโอติกยังพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น โยเกิร์ต เคเฟอร์ กะหล่ำปลีดอง และกิมจิ ปริมาณโปรไบโอติกในอาหารเหล่านี้อาจแตกต่างกันไป แต่สามารถส่งผลต่อการบริโภคโดยรวมของคุณได้
-
- ระยะเวลาการใช้งาน:
-
-
- ระยะเวลาที่คุณวางแผนจะรับประทานโปรไบโอติกอาจส่งผลต่อปริมาณยาได้ การใช้ในระยะสั้น เช่น หลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะไประยะหนึ่ง อาจมีขนาดยาที่แนะนำแตกต่างออกไป เมื่อเทียบกับการใช้ในระยะยาวเพื่อช่วยในการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่อง
-
- คำตอบส่วนบุคคล:
-
- การตอบสนองของแต่ละคนต่อโปรไบโอติกอาจแตกต่างกันไป บางคนอาจได้รับประโยชน์เมื่อรับประทานในปริมาณที่น้อยลง ในขณะที่บางคนอาจต้องการปริมาณที่สูงกว่าจึงจะเห็นผล การเริ่มด้วยขนาดยาที่น้อยลงและปรับเปลี่ยนตามการตอบสนองของร่างกายอาจคุ้มค่า
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น