ตรวจสุขภาพประจำปี (Preliminary Health Check-Up) – คำแนะนำ

การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร

Preliminary Health Check-Up คือ การตรวจสุขภาพ ซึ่งการตรวจสุขภาพคือสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นประจำทุกปี เนื่องจากโรคหลายๆโรค ไม่แสดงอาการ และหลายๆโรคเป็นโรคร้ายแรง  การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที เพราะอาจทำให้รู้ว่าเป็นโรคนั้นๆในระยะที่ไม่ร้ายแรง ก็สามารถรักษาได้เร็ว โอกาสหายก็มากขึ้น หรือสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้

อายุเท่าไรควรตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจเป็นประจำทุกปี หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคใดๆ ควรเข้ารับการตรวจอย่างรวดเร็ว เพราะหากพบว่าเป็นโรคเร็ว ก็สามารถรักษาได้ทันที เพื่อบรรเทาโรคและลดอัตตราการเสียชีวิต ไม่จำเป็นต้องรอเวลา

อายุเท่าไรควรตรวจอะไร

ผู้หญิงอายุ 30 ปี ขึ้นไป ควรตรวจหาเชื้อ HPV HIV และมะเร็งปากมดลูกหากเคยมีเพศสัมพันธ์ และควรตรวจมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก และเมื่ออายุครบ 40 ปี ทุกเพศควรตรวจหาเชื้อทางเดินอาหาร ตรวจช่องท้องหาความผิดปกติของถุงน้ำดี ไตและตับ และตรวจกระดูกและสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ต่อมลูกหมากโตเพราะอะไร

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง

1.การซักประวัติทั่วไป ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่แพทย์ใช้ตรวจหาความผิดปกติ พฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน 2.การทดสอบทั่วไป ได้แก่ การวัดความดัน ฟังเสียงหัวใจและปอด การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 3.การตรวจเลือด เนื่องจากโรคหลายชนิดสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด 4.การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โดยจะการตรวจเฉพาะส่วนเบื้องต้นก่อน การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ตรวจภายในการคลำหาก้อนเนื้อบริเวรเต้านม 5.การตรวจด้วยโดยใช้เครื่องแมมโมแกรมในการตรวจ หรือมีการเอกซเรย์ ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือเฉพาะทาง อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การตรวจแมมโมแกรม

ใครควรตรวจสุขภาพประจำปี

ความจริงทุกคนทุกเพสทุกวัยควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยสามารถตรวจง่ายๆโดยทั่วไปด้วยตนเองได้ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ว่าอยุ่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ การวัดเส้นรอบเอว การวัดความดันโลหิด ซึ่งสามารถวัดด้วยตนเองที่บ้านหากมีเครื่องวัดหรือไปวัดที่โรงพยาบาลก็ได้ และควรเช็กประวัติบุคคลในครอบครัวว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน อัมพาต อัมพฤกษ์ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ เช็กพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้สารเสพติด พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย ทุกคนควรประเมินสุขภาพตนเองโดยใช้แบบประเมิน อาจใช้แบบประเมินออนไลน์ที่ทางโรงพยาบาลเป็นคนสร้าง หรือแบบประเมินในรูปแบบเอกสาร เพื่อตรวจเช็กภาวะซึมเศร้า โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ภาวะการติดบุหรี่ สุรา สารเสพติด นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง ทุกคนทุกเพศทุกวัยควรดูแลสุขภาพอยู่เสมอ และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตให้ดีและมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

Preliminary Health Check-Up

การตรวจสุขภาพมีอะไรบ้าง

  1. การตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination)
เป็นซักประวัติเกี่ยวกับอาการอาการผิดปกติ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย
  1. การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
 การวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นการตรวจค่าเฉลี่ยน้ำหนักของร่างกายว่าเหมาะสมกับส่วนสูงหรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หากมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่ามาตฐาน อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายหลายโรคได้
  1. การตรวจวัดสายตา (Auto-refraction)
การตรวจวัดสายตาเป็นการตรวจค่าสายตา โดยส่วนใหญ่จะตรวจโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ยิงแสงอินฟราเรดเข้าสู่ดวงตา ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งสายตาสั้นและยาว
  1. การตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ (Dental Examination)
เป็นการตรวจสุขภาพภายในช่องปาก ฟัน ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
  1. วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital Signs)
เป็นการวัดความแรงของการสูบฉีดเลือด อัตราการเต้นของหัวใจว่าอัตราการเต้นอยู่ในเกณฑ์ปกติคือประมาณ 70-90 ครั้งต่อนาที หรือไม่
  1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar)
ปริมาณปกติสำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวานจะอยู่ที่ 5.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น แต่ระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะเพิ่มขึ้นได้ภายในภายใน 2-3 เดือน หากมีพฤติกรรมการรับประทานของหวานในปริมาณที่มาก และไม่ออกกำลังกาย
  1. ตรวจไขมันในเลือด (Cholesterol)
การตรวจไขมันในเลือดมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือการตรวจไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันที่สะสมตามเนื้อเยื่อไขมันต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง การตรวจไขมันดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่คอยกำจัดไขมันไม่ดีซึ่งเป็นไขมันอันตรายออกจากร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลในกระแสเลือด และการตรวจไขมันไม่ดี (LDL) ซึ่งเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกายที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง
  1. ตรวจหาระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid)
กรดยูริคส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิด เนื่องจากร่างกายที่มีกรดยูริคสูงเกินไป ทำให้กรดยูริคไปจับตัวกับโซเดียมในเลือดจนเกิดเป็นเกลือยูเรตไปสะสมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมาได้
  1. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวซึ่งส่งผลต่อร่างกาย เนื่องจากเลือดอยู่ทุกส่วนของร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีบทบาทในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเม็ดเลือดขาวมีบทบาทต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  1. ตรวจเอกซเรย์ปอดหัวใจ (Chest X-ray)
การตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจเพื่อหาอาการผิดปกติของหัวใจและปอด ซึ่งสามารถเอกซเรย์ได้พร้อมกัน
  1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำให้สามารถทราบการเต้นของหัวใจว่าผิดปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถนำมาพยากรณ์โรคหรืออาการเสี่ยงอื่นๆ ได้ เนื่องจากการเต้นของหัวใจถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าภายใน จึงใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูการเต้นของหัวใจ
  1. ตรวจการทำงานของไต (Creatinine, Bun)
การตรวจการทำงานของไตโดยการวัดระดับ Creatinine ในเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่ไตจะต้องขับทิ้ง หากมีปริมาณ Creatinine สูง อาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีของโรคไตควรได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สำคัญทำหน้าที่กรองของเสียในเลือดออกไปทางปัสสาวะ
  1. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT, SGOT)
การตรวจการทำงานของตับเป็นการตรวจระดับเอ็นไซม์ในตับ (ALT) ซึ่งตับมีหน้าที่คล้ายกับไส้กรองของร่างกาย ช่วยกรองสารพิษ เชื้อโรค แล้วใช้เอ็นไซม์กำจัดสารพิษทิ้ง  หากพบสัญญาณที่อันตรายต่อตับ ควรรักษา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การตรวจหาปัญหาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ: 

  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถระบุปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น บ่อยครั้งก่อนที่อาการจะแสดงออกมา การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบผลสำเร็จและสามารถป้องกันการลุกลามของภาวะบางประการได้

การดูแลป้องกัน: 

  • การตรวจสุขภาพมักรวมถึงการคัดกรอง การฉีดวัคซีน และการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย มาตรการป้องกันสามารถลดความเสี่ยงของโรคบางชนิดได้อย่างมากและส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น

การติดตามอาการเรื้อรัง: 

  • สำหรับบุคคลที่มีอาการเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ การตรวจสุขภาพเป็นประจำถือเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามและจัดการอาการเหล่านี้ การปรับเปลี่ยนแผนการรักษาสามารถทำได้โดยอาศัยการประเมินค่าพารามิเตอร์ด้านสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่

การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ: 

  • บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำการประเมินความเสี่ยงในระหว่างการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินปัจจัยต่างๆ เช่น ประวัติครอบครัว การเลือกวิถีชีวิต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลนี้ช่วยในการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง

การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ: 

  • การตรวจสุขภาพเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้หารือเกี่ยวกับปัจจัยในการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด คำแนะนำและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถกระตุ้นให้บุคคลทำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นได้

การประเมินสุขภาพจิต: 

  • นอกเหนือจากสุขภาพกายแล้ว การประเมินสุขภาพจิตอาจรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพด้วย สิ่งนี้สามารถช่วยระบุสัญญาณของความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เพื่อให้สามารถเข้าแทรกแซงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม

การคัดกรองภาวะที่สามารถป้องกันได้: 

  • การตรวจสุขภาพมักรวมถึงการคัดกรองภาวะทั่วไปที่สามารถป้องกันได้ เช่น มะเร็งบางชนิด การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการตรวจคัดกรองจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้สำเร็จได้อย่างมาก

สุขภาพที่ดีโดยรวม: 

  • การติดตามและจัดการด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตในด้านต่างๆ มีส่วนช่วยให้ความเป็นอยู่โดยรวมของแต่ละบุคคล การตรวจสุขภาพเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการรักษาและส่งเสริมสุขภาพที่ดีตลอดชีวิต
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือความถี่และองค์ประกอบเฉพาะของการตรวจสุขภาพอาจแตกต่างกันไปตามความต้องการด้านสุขภาพ อายุ เพศ และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล ขอแนะนำให้หารือเกี่ยวกับกำหนดการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะของคุณ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด