กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) คือ โรคผิวหนังที่ส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อเด็ก และคนหนุ่มสาวโดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามมีความเชื่อว่าอาการนี้อาจเกี่ยวข้องกับโรคกลากซึ่งเป็นความผิดปกติของผิวหนังที่ทำให้เกิดผื่นคันและแผลตกสะเก็ดได้  ผู้ที่เป็นโรคกลากน้ำนมมักจะมีรอยแดงหรือชมพูบนผิวหนังซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นรูปวงกลม หรื อรูปวงรีรอยแดงที่เกิดขึ้นมักจะใสขึ้นด้วยครีมที่ให้ความชุ่มชื้นหรือหายไปเอง แต่ก็มักจะทิ้งรอยจางๆไว้บนผิวหนังหลังจากที่รอยแดงจางลง  Pityriasis Alba

อาการกลากน้ำนม 

คนที่เป็นโรคกลากน้ำนมจะมีรอยบนผิวสีชมพูอ่อน หรือแดงเป็นรูปทรงกลมรี หรือไม่สม่ำเสมอ โดยที่รอยที่เกิดมักจะตกสะเก็ดและแห้ง ซึ่งอาจจะปรากฏบน: 
  • ใบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่ที่พบมากที่สุด 
  • ต้นแขน 
  • คอ 
  • หน้าอก 
  • หลัง 
รอยสีชมพูอ่อน หรือสีแดงที่เกิดขึ้นอาจจางลงหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ โดยที่รอยเหล่านั้นมักจะหายไปภายในเวลาไม่กี่เดือน  แต่บางกรณีอาจอยู่ได้นานหลายปีซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน มากขึ้นในช่วงฤดูร้อนเมื่อผิวกายกลายเป็นสีแทน นี่เป็น เพราะรอยที่เกิดจากโรคกลากน้ำนมจะไม่เป็นสีแทน เพราะฉนั้นการทาครีมกันแดดอาจทำให้เห็นรอยแดงได้น้อยลงในช่วงฤดูร้อน นอกจากนี้ ยังเห็นได้ชัดมากขึ้นในผู้ที่มีผิวคล้ำ

สาเหตุของกลากน้ำนม

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคกลากน้ำนม อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปถือว่าเป็นรูปแบบของโรคผิวหนังภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง หรือกลากชนิดหนึ่ง กลากอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ไวเกินซึ่งตอบสนองต่อสิ่งระคายเคืองอย่างรุนแรงซึ่งความสามารถของผิวหนังในการเป็นเกราะป้องกันจะลดลงในผู้ที่เป็นโรคกลาก โดยปกติระบบภูมิคุ้มในร่างกายจะเพิกเฉยต่อโปรตีนปกติที่มีอยู่ และโจมตีเฉพาะโปรตีนของสารอันตรายเช่น แบคทีเรียและไวรัส  แต่อย่างไรก็ตามหากมีแผลเปื่อย ระบบภูมิคุ้มกันอาจแยกความแตกต่างระหว่างสองอย่างนี้ไม่ได้เสมอไป และอาจจะโจมตีสารที่มีประโยชน์ในร่างกายของทนจนทำให้เกิดการอักเสบคล้ายกับการมีอาการแพ้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายได้เร็วกว่าโรคกลาก และโรคกลากน้ำนม ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นกลากน้ำนม 

โรคกลากน้ำนมพบบ่อยที่สุดในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ในเด็ก และพบบ่อยที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี  นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังซึ่งเป็นอาการคันที่เกิดจากผิวหนังอักเสบ โรคกลากน้ำนมมักปรากฏในเด็กที่อาบน้ำร้อนบ่อยๆ หรือตากแดดโดยไม่ทาครีมกันแดด อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดโรคนี้หรือไม่ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคไม่ติดต่อ 

การรักษากลากน้ำนม

โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา รอยที่เกิดมักจะหายไปตามกาลเวลา ซึ่งแพทย์จะให้ใช้ครีมให้ความชุ่มชื้น หรือครีมสเตียรอยด์ เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน เพื่อรักษาสภาพผิว ในบางกรณีแพทย์จะสั่งให้ใช้ครีมที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่น พิเมโครลิมัส ครีมต้านการอักเสบ โดยที่ครีมทั้งสองประเภทสามารถช่วยลดการเปลี่ยนสีของผิว และบรรเทาความแห้งกร้าน หรืออาการคันบริเวณผิวได้  แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม แต่รอยจากโรคกลากน้ำนมก็สามารถกลับมาเกิดได้อีกครั้ง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ครีมอีกครั้ง ส่วนใหญ่แล้วกลากน้ำนมจะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

สรุปเกี่ยวกับกลากน้ำนม

  1. กลากน้ำนมมักจะเป็นเรื้อรัง หรืออาจเป็นๆหายๆนาน 1-2 ปี แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด และไม่ติดต่อให้ผู้อื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง
  2. กลากน้ำนมต่างจากเกลื้อน ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง คอ และหน้าอก และพบมากในคนหนุ่นสาวที่มีเหงื่ออกมาก แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่ และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว ถ้าหากแยกกันไม่ออกให้ลองรักษาแบบเกลื้อนดูก่อน หรือถ้าใช้สเตอรอยด์ทาแล้ว กลับลุกลามมากขึ้น ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้วให้ยารักษาเกลื้อนแทน
  3. กลากน้ำนม ในชื่อมีคำว่าน้ำนมแต่ไม่ได้เกิดจากการกินนม ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะ ที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม
  4. ผู้ที่มีอาการ ไม่ควรซื้อยาทาประเภทแสบร้อนหรือขี้ผึ้งเบอร์ต่าง ๆ มาทา อาจทำให้หน้าไหม้เกรียม หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำถ้าจะให้หายดีและรักษาได้อย่างถูกต้องควรปรึกษาเเพทย์ผิวหนัง
  5. การป้องกันกลากน้ำนมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่การดูแลเพื่อลดอาการกลากน้ำนมได้ดีคือ การไม่ตากแดดเป้นเวลานานๆ ดูแลผิวใวห้เกิดความชุ่มชื่นอยู่เสมอ และควรใช้สบู่อ่อนๆโดยเฉพาะทารกควรใช้สบู่สำหรับผิวทารกโดยเฉพาะ แค่นี้ก็ห่างไกลจากลากน้ำนม เกลื้อน้ำนมแล้วค่ะ 

เทคนิคดูแลกลากน้ำนมด้วยธรรมชาติ

เคล็ดลับธรรมชาติบางประการที่อาจช่วยจัดการและบรรเทาอาการของกลากน้ำนม มีดังนี้
  • ให้ความชุ่มชื้นกับผิวอย่างสม่ำเสมอ:การรักษาผิวให้ชุ่มชื้นสามารถช่วยลดความแห้งกร้านและเป็นขุยที่เกี่ยวข้องกับกลากน้ำนมได้ ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ที่อ่อนโยนและปราศจากน้ำหอมอย่างน้อยวันละสองครั้งเพื่อกักเก็บความชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงสบู่และน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง:เลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดสูตรอ่อนโยนที่ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ซึ่งไม่ดึงน้ำมันตามธรรมชาติออกจากผิว สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ความแห้งและการระคายเคืองแย่ลงได้
  • การอาบน้ำเย็น:หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนและฝักบัว เนื่องจากน้ำร้อนอาจทำให้ผิวแห้งได้ ให้เลือกน้ำอุ่นและจำกัดเวลาอาบน้ำแทน
  • การทำความสะอาดอย่างอ่อนโยน:เมื่อล้างบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ให้ใช้ผ้านุ่มหรือมือของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการขัดถูมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้
  • การป้องกันแสงแดด:ปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงและปกปิดด้วยเสื้อผ้า โดยเฉพาะบริเวณที่ได้รับผลกระทบ การถูกแดดเผาอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง:พยายามระบุและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้สภาพผิวของคุณแย่ลง เช่น ผ้าบาง ผงซักฟอก หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
  • การอาบน้ำข้าวโอ๊ต:การเติมข้าวโอ๊ตคอลลอยด์ลงในน้ำอาบสามารถช่วยบรรเทาอาการคันและระคายเคืองได้ ข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติผ่อนคลายที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อผิวที่อักเสบได้
  • น้ำมันธรรมชาติ:น้ำมันธรรมชาติบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันโจโจ้บา หรือน้ำมันอัลมอนด์ สามารถให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้ อย่างไรก็ตาม 
  • รักษาความชุ่มชื้น:การดื่มน้ำปริมาณมากช่วยรักษาสุขภาพผิวโดยรวมและความชุ่มชื้น
  • อาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ:การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสามารถช่วยให้สุขภาพผิวดีขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการเกา:อาการคันอาจทำให้เกิดการเกา ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงได้ รักษาเล็บให้สั้นและสวมถุงมือผ้าฝ้ายตอนกลางคืนเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนระหว่างนอนหลับ
  • การจัดการความเครียด:บางครั้งความเครียดอาจทำให้สภาพผิวรุนแรงขึ้น การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือโยคะอาจช่วยได้
  • ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง:หากอาการของคุณรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นด้วยวิธีการรักษาแบบธรรมชาติ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ผิวหนัง พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคล และแนะนำการรักษาทางการแพทย์ เช่น ครีมหรือขี้ผึ้งตามใบสั่งแพทย์ หากจำเป็น
โปรดจำไว้ว่าการเยียวยาตามธรรมชาติอาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน  สิ่งสำคัญคือต้องติดตามปฏิกิริยาของผิวหนังและหยุดการรักษาใดๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือไม่สบายตัว ปรึกษาแพทย์เสมอ โดยเฉพาะแพทย์ผิวหนัง ก่อนที่จะลองวิธีการรักษาใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังเผชิญกับสภาพผิว

นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา

  • https://www.verywellhealth.com/pityriasis-alba-1068759
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/skin-pityriasis-alba

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด