กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) คือภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดความดันกดทับเส้นประสาท

เราอาจเคยได้ยินอาการปวดตะโพกซึ่งเป็นอาการปวดที่ก้นและปวดลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างกันมาบ้าง โดยอาการปวดสะโพกร้าวลงขามักเกิดจากการกดทับหรือการบาดเจ็บของเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง

กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกเป็นกล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาจากด้านหน้าของกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ซึ่งเป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมระหว่างกระดูกสะโพกทั้งสองข้างในกระดูกเชิงกราน กล้ามเนื้อนี้อยู่เหนือเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กันโดยเยื้องไปที่ด้านบนของโคนขา ซึ่งโคนขาเป็นกระดูกขนาดใหญ่บริเวณขาหน้าแข้ง

กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ อาการกระตุกของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสนี้จะไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกและทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้ จนทำให้เกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

อาการของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

อาการปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นอาการหลักของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ขาด้านหลัง

อาการทั่วไปอื่น ๆ ของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ได้แก่ :

  • มีอาการชาและรู้สึกเสียวปลาบที่ก้นและอาจร้าวลงมายังอวัยวะด้านหลัง

  • มีอาการกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณก้น

  • นั่งไม่ค่อยสะดวกสบาย

  • เกิดอาการปวดขณะนั่งและจะแย่ลงเมื่อนั่งนาน ๆ

  • มีอาการเจ็บปวดก้นและขาซึ่งจะแย่ลงเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ

  • ปวดกล้ามเนื้อสะโพก

ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทที่รุนแรง บั้นท้ายและขาอาจมีอาการปวดรุนแรงมากจนกระทั่งเดินเหินไม่ได้ และไม่สามารถทำกิจกรรมที่จำเป็นบางอย่างได้ เช่น ไม่สามารถนั่งทำงานกับหน้าคอมพิวเตอร์ได้ ไม่สามารถขับรถเป็นเวลานาน ๆ ได้หรือทำงานบ้านไม่ได้

สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

เราใช้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเป็นประจำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เวลาเดินหรือบิดร่างกายส่วนล่าง เราใช้กล้ามเนื้อนี้เมื่อต้องการทิ้งน้ำหนักตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสอาจได้รับบาดเจ็บหรืออักเสบหากมีการใช้อีกครั้งหลังไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานหรือออกกำลังกายมากกว่าปกติ

สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ได้แก่ :

  • ใช้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสมากเกินไป เช่น จากการออกกำลังกายนานขึ้น

  • วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ขาเคลื่อนไหวต่อเนื่อง

  • นั่งเป็นระยะเวลานาน

  • ยกของหนัก

  • ขึ้นบันไดบ่อย ๆ

  • กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ

การบาดเจ็บยังทำลายกล้ามเนื้อและทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทไซอาติกได้ สาเหตุของการบาดเจ็บในกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส ได้แก่ :

  • มีการบิดสะโพกอย่างกะทันหัน

  • มีการล้มอย่างแรง

  • มีการกระแทกโดยตรงระหว่างเล่นกีฬา

  • เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

  • เกิดแผลทะลุถึงกล้ามเนื้อ

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ผู้ที่นั่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น คนที่นั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่งอยู่หน้าโทรทัศน์เป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากออกกำลังกายโดยเน้นอวัยวะช่วงล่างมากเกินไปและเป็นประจำ

การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

หากมีอาการปวดหรือชาที่ก้นหรือขาเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ ให้พบแพทย์ทันที อาการปวดสะโพกร้าวลงขาอาจเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ นอกจากนี้ ให้พบแพทย์ทันทีแม้อาการจะเกิดขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ แต่เกิดขึ้นถี่ผิดปกติ

แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยโดยถามอาการเกี่ยวกับกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ดังนั้น เตรียมพร้อมให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ให้แพทย์ด้วย หากเพิ่งหกล้มหรือเคยเกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกระหว่างเล่นกีฬามาก่อน ให้แจ้งแพทย์ได้ทันทีที่มีนัด อย่างไรก็ตาม หากจำสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

แพทย์อาจตรวจร่างกายด้วย โดยจะให้ลองเคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ เพื่อที่แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าตำแหน่งใดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด

Piriformis Syndrome

การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายบางประเภทอาจจำเป็นเพื่อช่วยแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) โดยการตรวจเหล่านี้อาจช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าผู้ป่วยมีโรคข้ออักเสบหรือหมอนรองกระดูกแตกที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือไม่ หากดูแล้วว่า ผู้ป่วยอาจมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ การตรวจอัลตราซาวนด์กล้ามเนื้ออาจเป็นประโยชน์ในแง่ของการวินิจฉัยโรค

การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ปกติแล้ว กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทมักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การพักผ่อนและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทมักเป็นแนวทางแรกที่แพทย์แนะนำ

โดยอาการจะดีขึ้นหากประคบร้อนประคบเย็นที่ก้นหรือขา โดยให้ห่อแพ็คน้ำแข็งด้วยผ้าขนหนูบาง ๆ เพื่อที่แพ็คน้ำแข็งจะได้ไม่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ประคบค้างไว้ประมาณ 15 ถึง 20 นาที จากนั้นใช้แผ่นร้อนประคบบริเวณต่ำลงมาจากที่ประคบเย็นในระยะเวลาเดียวกัน ทำแบบนี้ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด

ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟนหรือนาพร็อกเซนช่วยให้อาการปวดดีขึ้นได้

อาการปวดและชาอันเกิดจากกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจหายได้โดยไม่ต้องรักษาเพิ่มเติม หากไม่หาย ให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทเข้ารับการทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดจะให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้เรียนรู้การยืดเหยียดและบริหารกล้ามเนื้อเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส

หรือลองบริหารกล้ามเนื้อง่าย ๆ เช่น นอนหงายโดยชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น เอาข้อเท้าซ้ายวางไว้ที่หัวเข่าขวา จากนั้นค่อย ๆ ดึงเข่าขวาเข้าหาหน้าอกแล้วค้างไว้ห้าวินาที ค่อย ๆ คลายขาทั้งสองข้างกลับไปยังตำแหน่งเริ่มต้นและลองทำแบบเดียวกันกับอีกข้าง จากนั้นทำกิจกรรมบริหารกล้ามเนื้อประเภทยืดเหยียดนี้ซ้ำตามสมควร

ในกรณีที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทรุนแรง อาจต้องฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อช่วยบรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) ยังสามารถช่วยบรรเทากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้อีกด้วย โดยเครื่องกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์พกพาที่ส่งประจุไฟฟ้าขนาดเล็กผ่านผิวหนังไปยังเส้นประสาทที่อยู่ข้างใต้ พลังงานไฟฟ้าจะกระตุ้นประสาทและช่วยระงับสัญญาณความเจ็บปวดที่จะส่งไปยังสมอง

หากยังต้องการบรรเทาอาการ อาจต้องใช้ศัลยกรรมรักษาเพื่อตัดเอากล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสออกเพื่อลดแรงกดทับที่เส้นประสาทไซอาติก อย่างไรก็ตาม ศัลยกรรมผ่าตัดอาจจะไม่จำเป็น

การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

แม้ว่าบางครั้งการออกกำลังกายอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท แต่การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้ เราจำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสุขภาพดีเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่จะนำไปสู่กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้ และสามารถทำดังนี้:

  • ให้บริหารร่างกายด้วยการอบอุ่นร่างกายก่อนและทำกิจกรรมยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนวิ่งหรือออกกำลังกายหนัก ๆ

  • ให้ค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นของการออกกำลังกายหรือกีฬาที่เล่นอยู่

  • หลีกเลี่ยงการวิ่งขึ้นลงเนินหรือบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ

  • ให้ลุกเดินบ้างเพื่อที่จะได้ไม่ต้องนั่งหรือนอนนานเกินไปโดยไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย

หากเข้ารับการรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอยู่แล้ว ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่กลุ่มอาการนี้จะกลับมาเป็นอีก หากออกกำลังกายตามที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัดก็จะช่วยเลี่ยงอาการกำเริบของโรคได้และป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรง

ภาวะแทรกซ้อนของอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ซึ่งอยู่ในบั้นท้ายบีบหรือทำให้เส้นประสาท sciatic ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการปวด รู้สึกเสียวซ่า หรือชาที่บั้นท้ายและขาลง แม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เป็นภาวะที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ภาวะแทรกซ้อนและผลที่ตามมาที่อาจเกิดขึ้นของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ได้แก่:
  • อาการปวดเรื้อรัง: หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนหลักของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คืออาการปวดเรื้อรัง การกดทับหรือการระคายเคืองของเส้นประสาทอย่างต่อเนื่องอาจทำให้รู้สึกไม่สบายและปวดบริเวณก้นและขาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บุคคลทำกิจกรรมประจำวันได้ยาก
  • ความบกพร่องทางการทำงาน: ความเจ็บปวดและไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจจำกัดความสามารถของบุคคลในการออกกำลังกาย เดิน นั่ง หรือยืนเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง: การระคายเคืองของเส้นประสาทเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณขาที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทส่วนที่ควบคุมอยู่ สิ่งนี้อาจทำให้ความบกพร่องทางการทำงานรุนแรงขึ้นอีกและอาจต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • ความผิดปกติของการเดิน: กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท สามารถเปลี่ยนการเดิน ของบุคคลได้ เนื่องจากพยายามชดเชยความเจ็บปวดและไม่สบายตัว เมื่อเวลาผ่านไป การเดินที่เปลี่ยนแปลงนี้อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกและความเจ็บปวดในส่วนอื่นๆ ของร่างกายเพิ่มเติม
  • ความเสียหายของเส้นประสาท Sciatic: ในกรณีที่รุนแรง การกดทับเส้นประสาท Sciatic ในระยะยาวอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น รวมถึงอ่อนแรงและสูญเสียความรู้สึกบริเวณขาที่ได้รับผลกระทบ และอาจต้องได้รับการผ่าตัด
  • ผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจ: การมีชีวิตอยู่กับความเจ็บปวดเรื้อรังอาจส่งผลเสียต่อความอยู่ดีมีสุขทางจิตใจและอารมณ์ของบุคคล ซึ่งนำไปสู่สภาวะต่างๆ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า การรับมือกับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องและการเคลื่อนไหวที่จำกัดอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์
  • คุณภาพชีวิตที่ลดลง: ความเจ็บปวด ข้อจำกัดทางกายภาพ และความทุกข์ทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน สามารถลดคุณภาพชีวิตโดยรวมของบุคคลได้อย่างมาก ส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน เข้าสังคม และเพลิดเพลินกับกิจกรรมในแต่ละวัน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือไม่ใช่ทุกคนที่เป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท จะประสบกับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ และหลายกรณีสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม เช่น กายภาพบำบัด การออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย และการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รุนแรงหรือทนไฟได้ ผู้ให้บริการด้านการแพทย์อาจพิจารณาการรักษาที่รุกล้ำมากขึ้น เช่น การฉีดยาหรือการผ่าตัด เพื่อลดแรงกดดันต่อเส้นประสาทไขสันหลัง หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรค Piriformis หรือกำลังมีอาการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันหรือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

แนวโน้มของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทเป็นภาวะผิดปกติและวินิจฉัยได้ยาก ซึ่งโดยปกติแล้ว สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการพักกล้ามเนื้อและการทำกายภาพบำบัดด้วย

ทั้งนี้ ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยให้เน้นกิจกรรมยืดเหยียดก่อนออกกำลังกายตามปกติโดยจะช่วยให้ด้านหลังและขารู้สึกดีขึ้นทั้งก่อน ระหว่างและหลังออกกำลังกาย


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/piriformis-syndrome-causes-symptoms-treatments

  • https://www.medicinenet.com/piriformis_syndrome/article.htm

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448172/

  • https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000776.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด