โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ( Multiple Sclerosis) หมายถึงอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทภายในระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายไมอีลิน ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่ทำหน้าที่ป้องกันเส้นใยประสาท
นอกจากนี้การที่ปลอกประสาทอักเสบและการเป็นแผลเป็นเนื้อเยื่อหรือรอยโรคส่งผลทำให้สมองส่งสัญญาณไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ลำบากมากขึ้นเช่นกัน
สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหมายความว่าเกิดความเสียหายที่เนื้อเยื่อปลอกหุ้มประสาทไมอีลินที่อยู่บริเวณรอบเส้นประสาทส่วนกลาง
ความเสียหายเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ นักวิจัยคาดว่าเกิดจากการปัจจัยกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม เช่นเชื้อไวรัสหรือสารพิษ ซึ่งส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำลายไมอีลินก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นและนำไปสู่การเกิดแผลเป็นที่เนื้อเยื่อหรือรอยโรค ซึ่งการอักเสบและเนื้อเยื่อแผลเป็นสิ่งที่ขัดขวางการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทจากสมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
แม้ว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งไม่ใช่โรคที่เกิดจากพันธุกรรม แต่หากบุคคลใดมีพ่อแม่หรือญาติเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง บุคคุลนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้ระบุว่ามียีนบางตัวที่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
การประมาณอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
อายุขัยเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะสั้นกว่าคนทั่วไปประมาณ7.5ปี แต่ข่าวดีก็คืออายุขัยของคนเป็นโรคนี้มีเพิ่มมากขึ้น
อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะมีอาการที่หลากหลายอาการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละคน
ความรุนแรงของโรคอาจเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ปีต่อปี เดือนต่อเดือน วันต่อวัน
อาการหลักที่พบได้ทั่วไปได้แก่ อาการเหนื่อยล้าและมีปัญหาในการเดิน
ร่างกายอ่อนเพลีย
จากข้อมูลพบว่ากว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะมีอาการอ่อนล้าและอ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงและการดำเนินแบบผิดปกติ
มีปัญหาในการเดิน
ปัญหาเกี่ยวกับการเดินที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้แก่
-
มีอาการชาที่ขาหรือเท้า
-
สูญเสียการทรงตัว
-
เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินอาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับบาดเจ็บอื่นๆตามมา ถ้าหากมีล้มเกิดขึ้น
อาการอื่นๆ
อาการอื่นๆที่สามารถพบได้จากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้แก่
-
มีอาการเจ็บปวดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
-
มีอาการหนาวสั่น
-
มีปัญหาด้านการคิดและการใช้สมาธิสั้นจดจ่อส่งผลให้มีความจำไม่ดีและทำความเข้าใจข้อมูลได้ช้า
ซึ่งอาการดังกล่าวอาจทำให้ปัญหาด้านการพูดได้
วินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
แพทย์จำเป็นต้องตรวจทางระบบประสาทวิทยา รวมถึงประวัติการรักษาและอาจสั่งตรวจสอบอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมเช่น
-
การทำ MRI แพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้มองเห็นร่องรอยทำให้แพทย์สามารถระบุรอยแผลบริเวณสมองและไขสันหลังของผู้ป่วยได้
-
การตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical coherence tomography (OCT)คือการถ่ายภาพชั้นของเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังนัยน์ตาและสามารถประเมินความบางของประสาทตาได้ด้วย
-
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง แพทย์จะทำการเจาะเพื่อดูดเอาน้ำจากไขสันหลังไปตรวจเพื่อหาสิ่งผิดปกติ โดยการตรวจสอบด้วยวิธีนี้จะช่วยหาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการหาดูโอลิโกโคลนอลแบน ซึ่งสามารถนำมาตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้
-
การตรวจเลือด แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อช่วยคัดกรองโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
-
การตรวจด้วย Visual evoked potentials (VEP) เป็นการตรวจเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทเพื่อวิเคราะห์คลื่นกระแสไฟฟ้าในสมอง ในอดีตจะใช้การตรวจด้วยวิธีวัดคลื่นจากประสาทหูและก้านสมองหรือวัดคลื่นไฟฟ้าของระบบประสาทรับความรู้สึก เพื่อวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
นอกจากนี้การวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถดูได้จากการเสื่อมสลายของปลอกไมอีลีนที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน รวมถึงแต่ละพื้นที่ในบริเวณสมองและไขสันหลังหรือประสาทตา
นอกจากนี้การวินิจฉัยโรคจำเป็นต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของอาการที่เกิดจากโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เช่นโรคลายม์และโรคภูมิแพ้ลูปัสรวมถึงกลุ่มอาการโจเกรน
สัญญาณแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการที่หลากหลาย ซึ่งอาการที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย โดยอาการทั่วไปที่พบได้ในช่วงแรกได้แก่:
-
มีอาการเหน็บชาและรู้สึกเจ็บเหมือนเข็มทิ่มที่แขนและขาหรือเกิดอาการชาที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ความรู้สึกคล้ายโดนเข็มทิ่ม
-
ขาอ่อนแรงและสูญเสียการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยล้มง่ายในขณะเดินหรือออกกำลังกาย
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นอย่างเช่น ตามัวหรือสูญเสียการมองเห็น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญาณแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการตาเจ็บร่วมด้วย
อาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่หมายความว่าคุณจะเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเสมอไป
การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีทางเลือกในการรักษาหลายวิธีได้แก่
การรักษาด้วยกลุ่มยาเพื่อการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค Disease-modifying therapies (DMTs)
Disease-modifying therapies (DMTs) การรักษาวิธีนี้เป็นการรักษาที่ออกแบบมาเพื่อชะลอโรคและลดอัตราการกำเริบของโรคลง
การรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ
แพทย์จะให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นยาเมทิลเพรดนิโซโลน (Medrol) หรือแอคธาร์ เจล(ACTH) เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
นอกจากนี้ยังการรักษารูปแบบอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยแต่ละราย
การใช้ชีวิตร่วมกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งพบวิธีในการรับมือกับอาการต่างๆได้โดยวิธีดังนี้
การรักษาด้วยยา
เมื่อมีภาวะโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นหมายความว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการชะลอการลุกลามของโรค ( DMTs) ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งแพทย์อาจให้ยาชนิดอื่นๆเพื่อรักษาอาการบางอย่างโดยเฉพาะอาการร่วมด้วย
การดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับร่างกายและจิตใจ ยกเว้นว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
หากการออกกำลังกายทั่วไปทำได้ลำบาก การว่ายน้ำหรือการออกกำลังกายในน้ำก็สามารถช่วยได้ ซึ่งบางครั้งการออกกำลังแบบโยคะได้ถูกออกแบบมาให้สำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเช่นกัน
การรับประทานอาหารที่สมดุล รับประทานอาหารแคลลอรี่ต่ำ อาหารที่มีกากใยและสารอาหารสูงจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น
อาหารที่ควรรัยประทานมีดังนี้:
-
รับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลาย
-
ทานอาหารจำพวกโปรตีนที่ไขมันต่ำ เช่นปลา หรือเนื้อไก่ไม่มีหนัง
-
ถั่วชนิดต่างๆ
-
ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
-
ดื่มน้ำและของเหลวอื่นๆในปริมาณที่เหมาะสม
การรับประทานอาหารที่ดี จะทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย ผู้ป่วยจะไม่เพียงแค่รู้สึกดีในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้นในอนาคตได้ด้วย
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง:
-
ไขมันอิ่มตัว
-
อาหารที่มีไขมันทรานซ์แฟต
-
เนื้อแดง
-
อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
-
อาหารที่มีโซเดียมสูง
-
อาหารแปรรูป
หากมีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการรับประทานอาหารแบบพิเศษหรือทานวิตามินเสริม
การรับประทานอาหารในรูปแบบพิเศษอื่นๆเช่นการทานแบบคีโต เพลโลหรือเมดิเตอร์เรเดียน อาจช่วยในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้
การบำบัดเสริมอื่นๆ
การบำบัดต่อไปนี้อาจช่วยลดความตึงเครียดของปลอกประสาทที่อักเสบและเพิ่มความรู้สึกสบายได้:
-
การนวด
-
กายบริหารไทชิ
-
การฝังเข็ม
-
สะกดจิตบำบัด
-
ดนตรีบำบัด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงสมองและไขสันหลัง แม้ว่าอาการและอาการของ MS อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรค ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและอาจต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ได้แก่:- ความเมื่อยล้า : ความเหนื่อยล้าเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดและมักทำให้ร่างกายอ่อนแอลง อาจส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันและทำให้การทำงานตามปกติเป็นเรื่องยาก
- ปัญหาการเคลื่อนไหว : โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง และมีปัญหาในการทรงตัวและการประสานงาน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหว รวมถึงการเดินลำบากและความเสี่ยงที่จะหกล้มเพิ่มขึ้น
- ความเจ็บปวด : ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจำนวนมากมีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการตึงของกล้ามเนื้อ การกระตุก หรือความเสียหายของเส้นประสาท อาจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การจัดการความเจ็บปวด
- ปัญหากระเพาะปัสสาวะและลำไส้ : โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปัสสาวะเร่งด่วน ปัสสาวะบ่อย หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รวมถึงอาการท้องผูก
- ความบกพร่องทางสติปัญญา : บุคคลบางคนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับความจำ สมาธิ และการแก้ปัญหา
- อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล : ผลกระทบทางอารมณ์จากการมีชีวิตอยู่กับภาวะเรื้อรังเช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่มีโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะต้องขอความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเมื่อจำเป็น
- ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น : โรคประสาทตาอักเสบเป็นอาการทั่วไปของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวรหรือมองเห็นภาพซ้อน การรบกวนการมองเห็นอาจรวมถึงการมองเห็นภาพซ้อนและความยากลำบากในการโฟกัส
- การกลืนลำบาก : ความอ่อนแอในกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการกลืนอาจทำให้เกิดปัญหาในการกินและดื่มได้อย่างปลอดภัย
- ปัญหาการพูด : โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่รับผิดชอบในการพูด ทำให้เกิดปัญหาในการพูด
- ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ : ในกรณีของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งขั้นรุนแรง กล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจอาจได้รับผลกระทบ ส่งผลให้เกิดปัญหาการหายใจ
- โรคกระดูกพรุน : การเคลื่อนไหวที่ลดลงและการใช้ยาบางชนิดเพื่อจัดการกับอาการของ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่มีลักษณะกระดูกอ่อนแอ
- การติดเชื้อ : การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนโรคบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
- ผลข้างเคียงจากยา : ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อหรือปัญหาเกี่ยวกับตับ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/multiple-sclerosis/symptoms-causes/syc-20350269
-
https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/
-
https://www.webmd.com/multiple-sclerosis/default.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team