ปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ปัสสาวะบ่อย
การปัสสาวะบ่อย คือ การปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การนอนหลับ และอาจเป็นอาการของโรค คนจำนวนมากที่ปัสสาวะบ่อย ในทางการแพทย์ หากคุณปัสสาวะออกมามากกว่าสามลิตร เรียกว่า ปัสสาวะมาก (Polyuria) แต่ส่วนใหญ่จากสาเหตุที่รักษาได้ง่าย การปัสสาวะบ่อยไม่ใช่การปัสสาวะเล็ด การปัสสาวะเล็ดคือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่บางครั้ง การปัสสาวะมากอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรง การวินิจฉัยได้เร็วจะช่วยให้ป้องกันได้ และรักษาได้เร็วขึ้น

ปัสสาวะบ่อย หรือฉี่บ่อย

คนทั่วไปปัสสาวะ 6-7 ครั้งใน 24 ชั่วโมง การปัสสาวะบ่อยกว่านี้อาจจัดว่าบ่อย สำหรับแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อมันกระทบต่อคุณภาพชีวิต การปัสสาวะบ่อยอาจแก้ได้ด้วยการออกกำลังกล้ามเนื้อเชิงกราน แต่ถ้ามีโรค เช่น เบาหวานด้วย ก็ต้องรักษา

ปัสสาวะบ่อย บ่อยแค่ไหนผิดปกติ

การปัสสาวะเป็นการที่ร่างกายกำจัดของเหลว และของเสีย ปัสสาวะประกอบด้วยน้ำ กรดยูริก ยูเรีย สารพิษ และของเสียที่กรองออกจากร่างกายโดยไต  ปัสสาวะจะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนกว่าจะเต็ม และจะเริ่มปวดปัสสาวะ และปัสสาวะออกมา การปัสสาวะบ่อยไม่ใช่การปัสสาวะเล็ด การปัสสาวะเล็ดคือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คนทั่วไปจะปัสสาวะ 6-7 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หากปัสสาวะมากกว่า 7 ครั้งใน 24 ชั่วโมงเมื่อดื่มน้ำราวสองลิตรต่อวันถือว่าปัสสาวะบ่อย แต่ว่า แต่ละคนก็ต่างกันไป คุณควรไปพบแพทย์เมื่อรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยเกินไป เด็กจะมีกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่า จึงปัสสาวะบ่อยกว่าผู้ใหญ่

สาเหตุที่ปัสสาวะบ่อย

การปัสสาวะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับหลายระบบของร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะทำงานมากขึ้น สาเหตุของการปัสสาวะบ่อย เช่น การดื่มนำ้มาก โดยเฉพาะถ้ามีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ ทำให้ปัสสาวะมาก ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ทำให้รบกวนการนอน แต่การปัสสาวะบ่อยก็เป็นนิสัยได้เหมือนกัน หรืออาจเป็นอาการของไตและท่อไต กระเพาะปัสสาวะหรือโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน เบาจืด ตั้งครรภ์ หรือโรคของต่อมลูกหมาก

อื่นๆ เช่น

  • ความวิตกกังวล 
  • ยาขับปัสสาวะ
  • อาหาร และเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของสมอง และระบบประสาท
  • การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
  • เนื้องอกบริเวณช่องเชิงกราน
  • การอักเสบของผนังกระเพาะปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเอง ทำให้ปวดปัสสาวะกะทันหัน
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • นิ่วในไต หรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเล็ด
  • ท่อปัสสาวะตีบ
  • การฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น การรักษามะเร็ง
  • ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ 
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ติดเชื้อรา

อาการปัสสาวะบ่อย

อาการหลักคือปัสสาวะบ่อย หากมีอาการอื่นด้วยแสดงว่าอาจมีโรคอื่นที่อาจร้ายแรงด้วย เช่น การปัสสาวะยามดึกอาจเป็นอาการของเบาหวาน หรือเบาจืด อาการอื่นๆก็เช่น
  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายเมื่อปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีเลือด ขุ่นหรือสีผิดปกติ
  • ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้น้อยลง หรือปัสสาวะเล็ด
  • ปัสสาวะออกยากแม้จะเบ่ง
  • มีของเหลวออกจากช่องคลอด หรือองคชาต
  • หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดหลังส่วนล่างหรือเอว
หากมีอาการอื่น หรือการปัสสาวะบ่อยกระทบวิถีชีวิต ควรไปพบแพทย์ การปัสสาวะบ่อย อาจแสดงถึงการอักเสบของไต การไม่ได้รักษาจะทำให้ไตเสียหายถาวร และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อาจเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้อวัยวะอื่นติดเชื้อ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ 

Frequent Urination

การวินิจฉัยอาการปวดปัสสาวะบ่อย

แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกาย ถามความถี่ของการปัสสาวะ และอาการอื่นๆ เช่น
  • การปัสสาวะบ่อย เช่น เริ่มตั้งแต่เมื่อไร มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และมักเป็นช่วงไหนของวัน 
  • ยาที่ใช้ประจำ
  • ดื่มน้ำมากน้อยเพียงใด
  • ปัสสาวะเปลี่ยนสี กลิ่นและปัสสาวะติดขัดหรือไม่
  • ดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์มากน้อยเพียงใด และมีการเปลี่ยนแปลงในเร็วๆนี้หรือไม่
การตรวจอื่นๆ 
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาความผิดปกติในปัสสาวะ
  • อัลตราซาวด์ เพื่อดูความผิดปกติของไต
  • เอกซเรย์หรือ CT Scan ท้องและอุ้งเชิงกราน
  • ตรวจระบบประสาทเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาท
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ป่วยจะไปตรวจกับแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้หญิงอาจต้องตรวจกับนรีแพทย์ การตรวจ Urodynamic  เพื่อตรวจประสิทธิภาพของกระเพาะปัสสาวะในการเก็บ และปล่อยปัสสาวะ และตรวจการทำงานของท่อปัสสาวะ การสังเกตง่ายๆ เช่น 
  • จับเวลาการปัสสาวะ
  • กะปริมาณปัสสาวะ
  • ลองขมิบระหว่างการปัสสาวะ
แพทย์อาจใช้วิธีการ
  • ใช้เครื่องมือเฝ้าดูกระเพาะปัสสาวะเมื่อเต็มและว่าง
  • วักความดันในกระเพาะปัสสาวะ
  • ติดเครื่องรับสัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท
ก่อนการตรวจผู้ป่วยอาจต้องลด หรืองดการดื่มเครื่องดื่ม ยาบางชนิด และต้องมาตรวจเมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับโรคที่ทำให้เกิดอาการ หากเกิดเพราะเบาหวาน ก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากเกิดจากการติดเชื้อที่ไต จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวด หากเกิดจากกระเพาะปัสสาวะทำงานมากไป อาจต้องให้ยากลุ่ม Anticholinergic เพื่อลดการทำงานของผนังกระเพาะปัสสาวะ และการปรับพฤติกรรมก็ช่วยได้  การฝึกและออกกำลังกระเพาะปัสสาวะ เช่น Kegel Exercises: การขมิบ ควรทำทุกวัน ส่วนใหญ่จะทำเมื่อตั้งครรภ์เพื่อให้กล้ามเนื้อเชิงกราน และท่อปัสสาวะแข็งแรง การออกกำลัง 10-20 ครั้งต่อเซ็ท  สามเซ็ทต่อวัน อย่างน้อย 4-8 สัปดาห์  การขมิบเริ่มจากลองขมิบในขณะปัสสาวะให้ปัสสาวะหยุดทันที แสดงว่าควบคุมกล้ามเนื้อนั้นได้ และฝึกขมิบค้าง 10 วินาที ปล่อย 10 วินาทีนับเป็นหนึ่งครั้ง  ในขณะขมิบไม่ควรเกร็งหน้าท้อง หรือหนีบขา ไม่กลั้นหายใจ ปัสสาวะให้เสร็จก่อนฝึกขมิบ Biofeedback: ใช้ร่วมกับการขมิบ การบำบัดชนิดนี้ช่วยให้ผู้นั้นตระหนักถึงการทำงานของร่างกาย ช่วยให้ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเชิงกรานได้ การฝึกกระเพาะปัสสาวะ: เพื่อให้เก็บปัสสาวะไว้ในกระเพาะปัสสาวะได้นานขึ้น อาจต้องฝึก 1-3 เดือน ควบคุมการดื่มน้ำ: เพื่อจะดูว่าการดื่มน้ำมากเป็นเหตุของการปัสสาวะบ่อยหรือไม่

การป้องกัน 

รับประทานอาหารที่สมดุล และมีกิจกรรมทางร่างกายให้มากขึ้น เพื่อปรับปริมาณปัสสาวะ รวมทั้งการจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์และคาเฟอีน และลดอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะหรือมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น ช็อคโกแลต อาหารรสจัด และสารให้ความหวานเทียม การกินอาหารที่ใยอาหารสูงช่วยลดอาการท้องผูก อาจช่วยให้ปัสสาวะไหลผ่านท่อปัสสาวะได้ดี การท้องผูกทำให้มีแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะหรือทั้งสองอย่าง

การจัดการกับภาวะปัสสาวะบ่อย

การปัสสาวะบ่อยอาจเป็นปัญหาที่น่ารำคาญและก่อกวนซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคคลจำนวนมาก แม้ว่าอาการดังกล่าวมักเป็นอาการของสภาวะแวดล้อมต่างๆ แต่ก็มีขั้นตอนการปฏิบัติที่คุณสามารถทำได้เพื่อบรรเทาอาการและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคุณ ในบทความนี้ เราจะมาดูคำแนะนำในการจัดการกับการปัสสาวะบ่อยและส่งเสริมสุขภาพทางเดินปัสสาวะโดยรวม รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอแต่ต้องติดตามปริมาณของเหลวที่ดื่มกิน: 
  • การรักษาความชุ่มชื้นอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ แต่การตรวจสอบปริมาณของเหลวของคุณเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้ถึงเวลานอน ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสามารถทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะ เพิ่มการผลิตปัสสาวะ และมีส่วนทำให้เกิดความถี่ในตอนกลางคืน
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ: 
  • การฝึกกระเพาะปัสสาวะเกี่ยวข้องกับการค่อยๆ เพิ่มเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำเพื่อฝึกกระเพาะปัสสาวะให้กลั้นปัสสาวะมากขึ้น เริ่มต้นด้วยการขยายเวลาระหว่างการเดินทางทีละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป กระเพาะปัสสาวะอาจปรับตัวให้กลั้นปัสสาวะได้มากขึ้น ช่วยลดความอยากที่จะเข้าห้องน้ำบ่อยๆ
จัดการความเครียดและความวิตกกังวล: 
  • ความเครียดและความวิตกกังวลอาจทำให้อาการทางเดินปัสสาวะรุนแรงขึ้น ฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือโยคะ เพื่อช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจส่งผลให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง
ประเมินยา: 
  • ยาบางชนิดอาจทำให้ปัสสาวะเพิ่มขึ้นได้ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อตรวจสอบยาปัจจุบันของคุณและหารือเกี่ยวกับทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้หรือการปรับเปลี่ยนขนาดยาของคุณ
รักษาน้ำหนักให้แข็งแรง:  
  • การมีน้ำหนักเกินอาจทำให้เกิดความกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ความถี่ในการปัสสาวะเพิ่มขึ้น การใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีซึ่งรวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำและการรับประทานอาหารที่สมดุลสามารถช่วยรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงและอาจบรรเทาอาการทางเดินปัสสาวะได้
การออกกำลังกายอุ้งเชิงกราน: 
  • การเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะเป็นประโยชน์ในการจัดการอาการทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกาย Kegel สามารถช่วยปรับปรุงการควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อเรียนรู้และออกกำลังกายเหล่านี้อย่างถูกต้อง
จำกัดปริมาณของเหลวก่อนนอน: 
  • เพื่อลดการไปห้องน้ำตอนกลางคืน ให้จำกัดปริมาณของเหลวในตอนเย็น โดยเฉพาะสองสามชั่วโมงก่อนเข้านอน วิธีนี้จะช่วยลดความจำเป็นในการตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะได้
บทสรุป: แม้ว่าการปัสสาวะบ่อยอาจเป็นปัญหาที่ท้าทาย แต่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการดูแลตนเองอาจช่วยบรรเทาอาการและปรับปรุงสุขภาพทางเดินปัสสาวะของคุณได้ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและคำแนะนำเฉพาะบุคคลตามสถานการณ์เฉพาะของคุณ การตัดสินใจเลือกอย่างมีข้อมูลและการจัดการสิ่งกระตุ้นที่อาจเกิดขึ้นสามารถช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและจัดการได้ง่ายขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/frequent-urination-causes-and-treatments
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/70782
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15533-urination–frequent-urination
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด