ดอกดาวเรือง (Marigold) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

ดอกดาวเรือง

ดาวเรือง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calendula officinalis L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับทานตะวัน ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเม็กซิโก และแถบทวีปอเมริกาใต้ ชาวท้องถิ่นนิยมปลูกเพื่อใช้บูชาเทพเจ้า ก่อนจะถูกนำไปขยายพันธุ์ในทวีปยุโรป และแพร่หลายไปตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปัจจุบันพบอยู่ 6 สายพันธุ์ คือดาวเรืองอเมริกัน (American marigold), ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds), ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds), ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold) , ดาวเรืองหม้อ (English Marigolds) และดาวเรืองใบ (Foliage Marigold)

ลักษณะของดอกดาวเรือง

ส่วนลำต้น เป็นพืชชนิดล้มลุก มีอายุประมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 1 – 2 ปี ลำต้นจะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 33 – 48 เซนติเมตร อาจมีการแตกกิ่งก้านบริเวณโคนต้น บริเวณลำต้นจะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย บริเวณกิ่งและก้านจะมีลักษณะเป็นร่องเหลี่ยม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เป็นพืชที่ชอบแสงแดด เจริญเติบได้ดีในดินที่ไม่ชุ่มน้ำจนเกินไป  ส่วนใบ ลักษณะใบดาวเรืองจะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปใบเป็นทรงคล้ายหอก ปลายใบจะแหลม ส่วนขอบใบมีลักษณะเป็นคลื่น ใบมีขนาดยาว 2.2 – 7.8 เซนติเมตร ไม่มีส่วนก้านใบ  ตรงโคนนก้านจะมีขนาดใหญ่ก่อนเรียวเล็กลงเรื่อย ๆ ใบมีสีเขียวอ่อน ส่วนดอกดาวเรือง เป็นดอกเดี่ยว หรืออาจออกเป็นกระจุกบริเวณปลายลำต้น ดอกมีสีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม ลักษณะของดอกดาวเรืองจะประกอบด้วยกลีบดอกจะมีขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลาย ๆ ชั้น  ดอกวงนอกจะเป็นดอกเพศเมีย ส่วนดอกที่อยู่วงในจะเป็นดอกเพศผู้ รูปดอกดาวเรืองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 – 7.8 เซนติเมตร ปลายดอกอาจแยกออกเป็นแฉก ๆ กลีบดอกจะมีขนแข็งติดอยู่ที่โคน ใต้ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 1 – 2 ชั้น ผลของดาวเรือง ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง รูปทรงโค้ง ยาวประมาณ 10 – 12 มิลลิเมตร มีขนบ้างเล็กน้อย หรือเป็นผลเกลี้ยงๆ

ความหมายดอกดาวเรือง

ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่โบราณ เชื่อกันว่าการปลูกไว้ในบ้านจะช่วยส่งเสริมให้มีเงินทองเข้ามาในบ้าน หนุนนำให้ชีวิตเกิดความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่ให้สีเหลืองทองนั่นเอง เป็นดอกไม้ที่แข็งแรง ปลูกง่าย​ โตเร็ว และทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ มีความหมายถึงความมั่นคง ทางความสัมพันธ์ในครอบครัว และความรักด้วย และดอกไม้ดาวเรืองยังมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

คุณประโยชน์ของดอกดาวเรือง

นอกจากความสวยงามแล้ว ดอกดาวเรืองยังสามารถรับประทานและให้ประโยชน์ทางยาได้ โดยสรรพคุณของดอกดาวเรืองนั้นมีดังนี้

ดอกดาวเรืองสรรพคุณบำรุงสายตา 

ส่วนประกอบของดอกดาวเรืองคือสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์หรือสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบของลูทีน และซีแซนธิน ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา สามารถกำจัดสารอนมูลอิสระที่เข้าทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตาได้

บำรุงผิวพรรณ และลดเลือนริ้วรอย 

มีงานวิจัยระบุประโยชน์ของดอกดาวเรืองมาจากกรดฟีนอลิกที่สำคัญ ๆ อย่างกรดแกลลิก กรดวานิลลิก กรดคาเฟอิก กรดคูมาริก และกรดไซรินจิก ที่ช่วยในการลดริ้วรอย และบำรุงผิวพรรณให้แลดูอ่อนวัย  และยังปกป้องผิวจากรังสียูวีได้

แก้ปัญหาโรคผิวหนัง 

ดอกดาวเรื่องมีสารคาเลนดูลาที่มีคุณสมบัติแก้ไขปัญหาผิวหนังต่าง ๆ อย่างโรคผิวหนังอักเสบ แผลเป็น และผิวหนังแห้งแตก  โดยนำสารสกัดจากดอกไม้มาใช้ในรูปของครีม โลชั่น หรือยารักษา

สารสกัดดอกดาวเรืองรักษาสิว 

ดอกดาวเรืองอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มไตรเทอปีน ฟลาโวนอยด์ และซาโปนิน ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส จึงช่วยในการสมานบาดแผล ทำความสะอาดเนื้อเยื่อ และป้องกันการติดเชื้อของแผลที่เกิดจากสิวMarigold

ลดระดับน้ำตาลในเลือด 

มีงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส เอนไซม์ชนิดนี้มีหน้าที่ย่อยสลายน้ำตาลในลำไส้เล็ก ช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ดีขึ้น ดังนั้นสารสกัดจากดอกไม้นี้จึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในร่างกาย และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ลดระดับไขมันในเลือด 

มีงานวิจัยระบุว่าสารสกัดของดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยไขมันของตับอ่อน เมื่อสารสกัดของดาวเรืองขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าว ร่างกายจึงย่อยและดูดซึมไขมันลดน้อยลง  ปริมาณไขมันในเลือดก็จะลดลง และลดโอกาสเกิดโรคอ้วน สารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สารสกัดจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีปริมาณกรดฟีนอลิกสูงกว่าดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

วิธีการใช้ดอกดาวเรืองเป็นยา

แม้ว่าประโยชน์ดอกดาวเรืองจะมีมากมาย แต่ก็ต้องใช้อย่างถูกวิธีจึงจะเกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการซื้อดอกดาวเรืองตามท้องตลาดมาทำเป็นยาหรือต้มดื่มเป็นชา เพราะดอกดาวเรืองเหล่านั้นมักมีความเสี่ยงที่จะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายตกค้างอยู่ จึงเลือกใช้ดอกดาวเรืองที่ปลูกเองเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรกินดอกดาวเรืองที่ยังตูมอยู่ เพราะอาจไม่ได้รับคุณประโยชน์อย่างเต็มที่ และฤทธิ์ยาบางอย่างนั้นจำเป็นต้องผ่านกระบวนการสกัดที่เหมาะสมเสียก่อน การกินดอกดาวเรืองที่ผ่านการตากแห้ง โดยนำดอกไม้แห้งมาชงดื่มเป็นชาได้ กรณีผู้ป่วยโรคตับ และโรคไตไม่ควรกินดอกดาวเรือง เนื่องจากสารสกัดของดอกดาวเรืองอาจมีผลกระทบให้ตับและไตทำงานหนักมากขึ้นได้ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการกินดอกดาวเรืองเช่นกัน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกได้ การกินดอกดาวเรืองบ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดการตกค้างของสารชีวเคมีจากดอกดาวเรืองขึ้นในร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดชัดเจน

 ข้อควรระวังของดอกดาวเรือง

ก่อนบริโภคดอกดาวเรือง ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:
  • ความหลากหลาย:ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพันธุ์ดาวเรืองที่คุณใช้กินได้ท
  • ยาฆ่าแมลง:หากคุณใช้ดอกดาวเรืองจากสวนของคุณ ต้องแน่ใจว่ามันไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ไม่ได้มีไว้สำหรับการบริโภค
  • โรคภูมิแพ้:บางคนอาจแพ้ดอกดาวเรือง หากคุณทราบว่ามีอาการแพ้พืชในวงศ์ Asteraceae (ซึ่งรวมถึงดอกดาวเรืองด้วย) โปรดใช้ความระมัดระวังและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากจำเป็น
เช่นเดียวกับดอกไม้ที่กินได้อื่นๆ การกลั่นกรองเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่ากลีบดอกดาวเรืองจะเป็นส่วนเสริมที่น่ารื่นรมย์ในการสร้างสรรค์อาหารของคุณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานกลีบดอกดาวเรืองโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารที่หลากหลายและสมดุล

สรุปใจความสำคัญ

ดอกดาวเรืองมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายมากมาย แต่ก็ต้องเลือกรับประทานดอกดาวเรืองที่ปลูกสำหรับบริโภค และควรจำกัดปริมาณการบริโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายที่ดีที่สุด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nature-and-garden.com/health/marigold-health-benefits.html
  • https://www.healthbenefitstimes.com/marigold/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด