ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ลิเทียม  

ยา Lithium คืออะไร

ลิเทียม หรือ Lithium คือ ยาสำหรับโรคจิตเวชใช้รักษาอาการคลุ้มคลั่ง กลไกการออกฤทธิ์ของยาชนิดนี้คือ การแทนที่กับโซเดียมที่ผ่านเข้าออกทาง Sodium channel  ของ Cell ซึ่งจะลดการกระตุ้นของเซลล์ประสาท และการเก็บกลับของสารสื่อประสาทต่าง ๆ เข้าในเซลล์ ยาจะถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และถูกขับออกทางไต ระดับยาที่ให้ผลในการรักษาอยู่ระหว่าง 0.6 –1.2 mEq/ L การนำลิเธียมมาอยู่ในรูปของ Lithium Carbonate เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า ยาจะรักษาสมดุลทางอารมณ์ และพฤติกรรม ที่ถูกควบคุมโดยสารสื่อประสาทในสมอง ยาจะช่วยลดความถี่ของการเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ความรู้สึกที่เกินจริง หงุดหงิด หวาดวิตก พฤติกรรมก้าวร้าว และไม่เป็นมิตร และยังใช้ป้องกันอาการปวดหัวบางประเภท

วิธีการใช้ยา Lithium

รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น และควรรับประทานหลังอาหารทันที เพื่อลดผลกระทบในระบบย่อยอาหาร ห้ามบด เคี้ยว หรือแบ่งยา แต่ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ระมัดระวังการบริโภคเกลือในขณะที่รับประทานยานี้ เพราะเกลือในอาหารอาจลดปริมาณของยาลิเธียมได้ ควรใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ผลทางการรักษาที่ดีที่สุด  และรับประทานยาให้เป็นเวลา ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา แพทยบ์จะพิจารณาจาดระดับของยาลิเธียมในเลือดของผู้ป่วย และการตอบสนองต่อการรักษาของตัวผู้ป่วยเอง ยาจะให้ผลการรักษาที่ดี เมื่อมีปริมาณของยาในร่างกายคงที่

อาการผู้ป่วยที่ใช้ Lithium Carbonate คือ :

โรคไบโพลาร์
  • อารมณ์สองขั้ว
  • ภาวะซึมเศร้า

อาการอื่น ๆ ที่ใช้ลิเทียมในการรักษา

  • โรคจิต 
  • รักษาอาการจิตเภท
  • โรคอารมณ์สองขั้วชนิดอ่อน
  • พฤติกรรมก้าวร้าว

วิธีการใช้ยา Lithium

ยา Lithium มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีปริมาณการใช้ที่แตกต่างกัน การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง และรับประทานตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เนื่องจากเป็นยาอันตรายและมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ก่อนรับประทานยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ภาวะผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออาการภูมิแพ้ต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโซเดียมต่ำ หรืออยู่ในช่วงควบคุมปริมาณโซเดียม โดยปกติยาชนิดนี้จะเห็นผลการรักษา เมื่อรับประทานยาติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ ดังนั้นจึงห้ามหยุดยาเอง หรือหยุดการใช้ยาในทันที กรณีที่ลืมรับประทานยาลิเธียม ควรรับประทานทันทีที่รู้ตัว แต่หากใกล้เวลารอบต่อไปควรข้ามไปเลย และไม่ควรเพิ่มปริมาณยาทดแทน 2 เท่า ในระหว่างใช้ยาหากเกิดอาการผิดปกติ หรืออาการของโรครุนแรงขึ้น ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์Lithium

อาการข้างเคียงของยา lithium

ลิเที่ยมจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามอวัยวะ และระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปากคอแห้ง หรือถ่ายเหลว
  • ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดอาการ Fine Tremor อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ พฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลง เช่น ความหิวและความอิ่มในสมอง ผู้ป่วยอาจกินจุขึ้น และน้ำหนักเพิ่มได้
  • ระบบหัวใจ คลื่นหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง
  • ระบบไต ไตไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้ เกิดอาการปัสสาวะบ่อย และหิวน้ำบ่อยขึ้น
  • ต่อมไทรอยด์ เกิดอาการ Hypothyroidism
  • ผิวหนัง เกิดภูมิแพ้ที่ผิวหนัง เป็นผื่นผิวหนังอักเสบ และสิว 

ปฏิกิริยาของ lithium ยากับอาการของโรค

ยาลิเธียมคาร์บอเนตอาจมีปฏิกิริยากับโรคอื่น ๆ ของผู้ป่วย ส่งผลให้อาการทรุดลง หรือทำให้ประสิทธิผลของยารักษาโรคชนิดอื่น ๆ เปลี่ยนแปลง โรคที่ได้รับผลกระทบจากยาชนิดนี้คือ:
  • โรคหัวใจ
  • โรคไต
  • ปัญหาในทางเดินปัสสาวะ
  • โรคไทรอยด์
  • ชักเกร็ง
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • การคายน้ำอย่างรุนแรง
  • ไข้สูง
  • ความผิดปกติของผิวหนัง

Lithium ยามีข้อควรระวัง และคำเตือนอย่างไร

ก่อนใช้ลิเธียมควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบอาการต่าง ๆ เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษา ลิเธียมมักส่งผลกระทบต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ หากอาการรุนแรงอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง หมดสติ  หายใจถี่ และอาจรุนแรงจนเกิดอาการของโรคไหลตาย และทำให้เสียชีวิตได้ ยานี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเวียนศรีษะ หรือง่วงนอน ทำให้เกิดอาการตาพร่า จึงไม่ควรขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และลดการดื่มแอลกอฮอล์ หากเกิดอาการท้องร่วงรุนแรง ให้ปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจส่งผลต่อระดับของลิเทียมในร่างกายได้ ในสภาพอากาศที่ร้อน ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก อย่างอาบน้ำร้อน ซาวน่า หรือการออกกำลังกาย ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในขณะตั้งครรภ์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ที่ไม่ได้รักษา ( เช่น โรคไบโพลาร์) อาจเกิดอันตรายต่อแม่และเด็กได้ จึงต้องพิจารณาจากดุลยพินิจของแพทย์

Lithium และปฎิกริยากับยาอื่น ๆ 

ลิเธียมสามารถโต้ตอบกับยาได้หลายชนิด และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่รับประทานลิเธียมในการแจ้งผู้ให้บริการด้านสุขภาพของตนเกี่ยวกับยาทั้งหมด รวมถึงยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ และอาหารเสริม ยาบางชนิดอาจส่งผลต่อระดับลิเธียมในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความเป็นพิษหรือประสิทธิภาพลดลง ต่อไปนี้เป็นยาทั่วไปที่อาจทำปฏิกิริยากับลิเธียม:
    • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs):
      • NSAIDs เช่น ibuprofen และ naproxen สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความเป็นพิษของลิเธียมได้ แนะนำให้ใช้ NSAID อย่างระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
  • ยาขับปัสสาวะ :
      • ยาขับปัสสาวะอาจทำให้ปัสสาวะออกเพิ่มขึ้นและอาจเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับลิเธียม อาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและปรับขนาดยาลิเธียมเมื่อใช้ยาขับปัสสาวะ
  • สารยับยั้งเอนไซม์ Angiotensin-Converting (ACE) และตัวบล็อกตัวรับ Angiotensin II (ARBs):
      • ยาในกลุ่มเหล่านี้ซึ่งใช้รักษาความดันโลหิตสูงอาจส่งผลต่อระดับลิเธียมด้วย การตรวจสอบเป็นสิ่งสำคัญ และอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาลิเธียม
  • ตัวบล็อกช่องแคลเซียม:
      • สารป้องกันช่องแคลเซียมบางชนิดที่ใช้สำหรับสภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูงสามารถโต้ตอบกับลิเธียมได้ โดยต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังและการปรับขนาดยา
  • ยาแก้ซึมเศร้า:
      • ยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) และ serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) อาจทำปฏิกิริยากับลิเธียม การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญเมื่อใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน
  • ยารักษาโรคจิต:
      • การใช้ยาลิเธียมร่วมกับยารักษาโรคจิตบางชนิดอาจต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการรวมกันอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง
  • ยากันชัก:
      • ยากันชักบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับลิเธียม ผู้ให้บริการด้านการแพทย์อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาและติดตามระดับลิเธียมเมื่อใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน
  • เมธิลโดปา:
      • Methyldopa ใช้รักษาความดันโลหิตสูง อาจเพิ่มระดับลิเธียมและจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • ธีโอฟิลลีน:
    • Theophylline ใช้สำหรับอาการทางเดินหายใจ สามารถโต้ตอบกับลิเธียม และอาจต้องปรับขนาดยา
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่รับประทานลิเธียมควรต้องเปิดเผยกับแพทย์ถึงรายละเอียดของยาที่ใช้และอาการป่วยอย่างละเอียด  เพื่อคำแนะนำให้การใช้ยาอย่างถูกต้อง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1065/lithium
  • https://www.nhs.uk/medicines/lithium/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด