อาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
อาการไคลน์เฟลเตอร์

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์คืออะไร?

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ในเพศชาย โดยผู้ที่มีอาการนี้จะโครโมโซม x เกินมา อีกทั้งยังมีลูกอัณฑะเล็กกว่าปกติ ทำให้สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้น้อยกว่าทั่วไป เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่ทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะทางเพศ เช่น ขนต่างๆบนร่างกาย หรือการเติบโตของกล้ามเนื้อ การขาดฮอร์โมนเพศชาย จะส่งผลให้มีเต้านมที่โตขึ้น อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก มีขนน้อยกว่าปกติ อีกทั้งอาจทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ กลุ่มอาการไคนล์เฟลเตอร์อาจทำให้มีอาการพูดช้าในวัยเด็กได้ Klinefelter Syndrome

อาการไคลน์เฟลเตอร์

อาการส่วนใหญ่เกิดการจากที่ร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายต่ำ ดังนั้นจึงมักจะไม่แสดงอาการในตอนเป็นเด็ก แต่จะพบอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ในเด็กเล็กมักจะแสดงอาการเพียงการพูดเท่านั้น โดยมักจะพูดช้ากว่าเด็กคนอื่นๆในวัยเดียวกัน อาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่คือ :
  • อวัยวะเพศและลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก
  • ปริมาณอสุจิมีน้อยหรือไม่มีเลย
  • มีหน้าอกโตกว่าปกติ
  • มีขนตามใบหน้า รักแร้ หรือหัวหน่าวน้อยกว่าปกติ
  • สูงกว่าปกติ
  • มีขายาวและลำตัวสั้น
  • กล้ามเนื้อน้อยและไม่แข็งแรง
  • มีแรงน้อย
  • อารมณ์ทางเพศต่ำ
  • มีไขมันบริเวณหน้าท้อง
  • มีปัญหาด้านการอ่าน เขียนและการสื่อสาร
  • มีบุตรยาก
  • วิตกกังวลและซึมเศร้า
  • มีปัญหาในการตอบโต้ทางสังคม
  • มีความผิดปกติด้านการเผาผลาญเช่น โรคเบาหวาน
ผู้ชายที่มีโครโมโซม x มากกว่าปกติ จะมีอาการมากกว่าปกติ ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของโรคโมโซม x ที่มีในร่างกาย อาการของไคลน์เฟลเตอร์ชนิดรุนแรง ได้แก่ :
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพูด
  • มีปัญหาด้านการเชื่อมโยง
  • มีใบหน้าที่เป็นเอกลักษณ์
  • มีปัญหาเรื่องกระดูก

ความปกติของอาการ

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์เป็นควาผิดปกติทางโครโมโซมที่พบได้บ่อยที่สุดในทางรกแรกเกิด โดยสามารถพบได้มากถึง 1 ใน 500 หรือ 1 ใน 1000 คน โรคอื่นๆที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม x จะพบได้น้อยกว่า โดยมีสถิติอยู่ที่ 1 ใน 50000 คนหรือน้อยกว่านั้น ในบางครั้งอาการไคลน์เฟลเตอร์อาจจะไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากมีอาการไม่รุนแรง ทำให้อาจเกิดการวินิจฉัยผิดในบางครั้งเพราะอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ

สาเหตุของการเกิดโรคคืออะไร?

โครโมโซมในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 23 คู่หรือ 46 โครโมโซม โดยในแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพศสองตัวคือ X และ Y
  • ผู้หญิงจะมีโครโมโซม X สองตัวคือ XX ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้หญิงเช่น หน้าอกหรือมดลูก
  • ผู้ชายจะมีโครโมโซม X หนึ่งตัวและโครโมโซม Y หนึ่งตัว คือ XY ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้ชายเช่น อวัยวะเพศหรือัณฑะ
เด็กผู้ชายที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ จะมีโครโมโซม X มากกว่าปกติ ทำให้โครโมโซมในเซลล์กลายเป็น XXY ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัวหลังจากเชื้อที่ได้รับผสมกับไข่ ในบางคนอาจพบได้ว่ามีโครโมโซม X ที่เกินมามากกว่าหนึ่งตัว ทำให้โครโมโซมอาจจะมีหน้าตาแตกต่างไป เช่น XXXXY ในขณะที่บางคนอาจจะมีโครโมโซมเป็น XXY หรือ XXXY การเกิดโครโมโซมเหล่านี้ มักเกิดขึ้นแบบสุ่มซึ่งเป็นความผิดปกติในการแบ่งตัวของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีตั้งครรภ์ ก็มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ได้

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคไคลน์เฟลเตอร์ก่อนคลอดเป็นไปได้น้อยมาก นอกเสียจากว่ามารดาที่ตั้งครรภ์จะเข้ารับการทดสอบเหล่านี้ :
  • การเจาะน้ำคร่ำ : เป็นการเอาน้ำคร่ำจำนวนเล็กน้อยออกจากถุงรอบๆตัวทารก และนำไปตรวจสอบในห้องทดลองเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม
  • การสุ่มตัวอย่าง Chorionic villus : เป็นการคาดเดาจากเซลล์ในรกไปทดสอบเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม
โดยปกติแล้วการทดสอบเหล่านี้มักจะไม่เป็นที่นิยม เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งได้ แพทยืจะแนะนำให้ใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านโครโมโซม หากลูกของคุณมีพัฒนาการช้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อเพื่อรักษาและวินิจฉัยเรื่องฮอร์โมน ในระหว่างที่ทำการทดสอบ แพทย์ะสอยถามเกี่ยวกับปัญหาด้านการพัฒนาการ โดยการทดสอบจะมีสองประเภทคือ :
  • การวิเคราะห์โครโมโซม : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Karyotyping เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาโครโมโซมที่ผิดปกติ
  • การทดสอบฮอร์โมน : ใช้วิธีการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบหาระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ

วิธีการรักษา

หากมีอาการไม่รุนแรงมักไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษ แต่ถ้าหากว่ามีอาการมากขึ้นควรรีบรักษาโดยเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น หากได้รับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มต้น จะสามารถป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้ วิธีหลักในการรักษาคือ การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายเข้าไปทดแทน การรับประทานฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในช่วงวัยรุ่น จะช่วยให้ร่างกายมีพัฒนาการในวัยรุ่นดีขึ้น เช่น 
  • มีเสียงทุ้ม
  • มีขนขึ้นตามใบหน้าและร่างกาย
  • กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • อวัยวะเพศชายเติบโตมากขึ้น
  • กระดูกแข็งแรงมากขึ้น
คุณสามารถใช้ฮอร์โมชนิดเม็ด ครีม หรือทำการฉีดเป็นประจำทุกสองถึงสามสัปดาห์ก็ได้ วิธีอื่นๆในการรักษาอาการไคลน์เฟลเตอร์ มีดังนี้ :
  • บำบัดการพูดและการใช้ภาษา
  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ใช้กิจกรรมบำบัดเพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • เพิ่มกิจกรรมทางสังคม
  • ใช้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
  • รับคำปรึกษาด้านอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือขาดความนับถือตนเอง
  • การผ่าตัดเอาเต้านมออก
  • รักษาการสืบพันธุ์

คุณสามารถมีลูกได้หรือไม่ถ้าหากคุณเป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์

ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากร่างกายจะไม่สร้างอสุจิ หรือสร้างในปริมาณที่น้อย การขาดอสุจิทำให้การมีบุตรเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถมีได้ การรักษาระบบสืบพันธุ์สามารถช่วยให้คุณมีบุตรได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากว่าคุณมีอสุจิปริมาณน้อย สามารถทำการคัดอสุจิเพื่อฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

คุณจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไร?

เด็กวัยรุ่นอาจมีอาการอายที่ร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนคนอื่นทั่วไป บางคนอาจมีความรู้สึกไม่พอใจที่ไม่สามารถเป็นมีลูกได้ แต่นักบำบัดจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับภาวะต่างๆได้ คุณสามารถหากลุ่มสนับสนุนสำหรับผู้ที่มีอาการเดียวกันกับคุณได้ โดยสามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือหาตามอินเตอร์เนต เด็กที่มีอาการไคลน์เฟลเตอร์มักต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในโรงเรียน คุณควรติดต่อเขตพื้นที่ขอคุณ เพื่อขอข้อมูลสำหรับโครงการพิเศษสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติ คุณอาจได้รับโปรแกรมเฉพาะที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของบุตรหลานของคุณ เด็กผู้ชายหลายคนที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ มีปัญหาในการเข้าสังคมมากกว่าคนอื่น ดังนั้นการเข้ารับการบำบัด จะสามารถช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ถึงทักษะในการเข้าสังคมได้

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไคลน์เฟลเตอร์มีดังนี้ : 

โรคไคลน์เฟลเตอร์สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้อย่างไร

จากการวิจัยพบว่า โรคนี้สามารถทำให้คุณมีอายุสั้นลงได้สองปี อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาการก็จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้

อาหารและโรคไคลน์เฟลเตอร์

Klinefelter Syndrome (KS) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อเพศชาย โดยทั่วไปเกิดจากโครโมโซม X เพิ่มเติม ทำให้เกิดรูปแบบโครโมโซม XXY การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปสู่ความท้าทายต่างๆ ทางร่างกาย อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจ แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาโรคไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม แต่โภชนาการที่เหมาะสมก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลที่มีภาวะนี้   เราจะสำรวจความสำคัญของโภชนาการในการจัดการกับโรคไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรมและให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่ใช้ได้จริงเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ผลกระทบของฮอร์โมนและการเผาผลาญของ Klinefelter Syndrome บุคคลทั่วไปมักประสบกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การลดมวลกล้ามเนื้อ ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และความหนาแน่นของกระดูกลดลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก นอกจากนี้ พวกเขาอาจเผชิญกับความท้าทายในการเผาผลาญอาหาร เช่น ภาวะดื้อต่ออินซูลินและแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2  ข้อพิจารณาด้านโภชนาการสำหรับกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ 
  1. อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน: โปรตีนมีความสำคัญต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคแคนซัส โดยคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับมวลกล้ามเนื้อ แหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น เนื้อไก่ ปลา พืชตระกูลถั่ว และเต้าหู้ก็มีประโยชน์เช่นกัน 
  2. แคลเซียม ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักได้ นอกจากนี้ พวกเขาอาจเผชิญกับความท้าทายในการเผาผลาญอาหาร เช่น ภาวะดื้อต่ออินซูลินและแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ข้อพิจารณาด้านโภชนาการสำหรับกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/men/klinefelter-syndrome
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/klinefelter-syndrome/symptoms-causes/syc-20353949
  • https://www.nhs.uk/conditions/klinefelters-syndrome/
  • https://medlineplus.gov/genetics/condition/klinefelter-syndrome/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด