อาการหิวบ่อย
หากคุณมีความอยากรับประทานอาหารมาก หรือหิวข้าวมากขึ้นบ่อยๆหรือรับประทานในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายใช้ ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น แต่หากคุณรับประทานอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการ อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นได้หลังการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมบางอย่าง แต่หากความอยากนี้เพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญเป็นเวลานาน อาจนำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้เช่น โรคเบาหวานหรือกลุ่มโรคไทรอยด์เป็นพิษ สุขภาพทางด้านจิตใจ เช่นภาวะซึมเศร้าและความเครียด ก็อาจนำไปสู่ความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปได้และมีการรับประทานที่มากเกินไป หากคุณมีความหิวที่มากเกินไปควรนัดแพทย์เพื่อทำการปรึกษา แพทย์อาจจะระบุอาการความอยากอาหารเพิ่มขึ้นว่าเป็นการกินมากเกินไปหรือพอลิฟาเจีย การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสาเหตุที่ทำให้หิวบ่อย และเป็นคนกินจุ
เมื่อมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากอาการยังคงอยู่ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม อาจเป็นอาการของโรคบางอย่างหรือปัญหาบางอย่างได้ ยกตัวอย่าง ความอยากอาหารที่เพิ่มมากขึ้นอาจเป็นผลมาจาก:- ความเครียด
- ความวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้า
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน เป็นอาการทางร่างกายและทางอารมณ์ที่มีเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน
- มีปฏิกิริยาต่อยารักษาโรค เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาไซโปรเฮปทาดีน และยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก
- ภาวะตั้งครรภ์
- โรคบูลิเมีย คือ การกินที่ผิดปกติที่กินไม่หยุดและจากนั้นก็ไปอาเจียนออกหรือใช้ยาระบายเพื่อทำให้น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น
- ภาวะต่อมไทรอยด์โตเป็นพิษ คือต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ
- โรคคอพอก ตาโปน โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเพราะต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกายมีปัญหา
การวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
หากความอยากอาหารเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญและมีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ และเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพบแพทย์หากพบว่าการเปลี่ยนความอยากอาหารเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ แพทย์อาจจะต้องการตรวจร่างกายและจดบันทึกน้ำหนักตัวปัจจุบัน แพทย์อาจถามคำถามดังต่อไปนี้ เช่น:- กำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่หรือไม่
- มีน้ำหนักลดหรือเพิ่มมากกว่าปกตืหรือไม่
- มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไปทำให้มีแนวโน้มให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือไม่
- อาหารประจำวันทั่วไปที่ชอบคืออะไร
- มีการออกกำลังกายประจำคืออะไร
- เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรังบางอย่างมาก่อนหรือไม่
- มียาตามแพทย?สั่งหรือรับประทานยาหรืออาหารเสริมอะไร
- มีรูปแบบความหิวมากเกินไปตรงกันกับช่วงมีประจำเดือนหรือไม่
- เคยสังเกตเห็นว่าปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือไม่
- มีความกระหายมากกว่าปกติหรือไม่
- เคยอาเจียนบ่อยๆทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาหรือไม่
- มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลหรือเครียดหรือไม่
- มีการดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาหรือไม่
- มีอาการทางร่างกายอื่นๆหรือไม่
- เพิ่งมีอาการป่วยเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่
การรักษาสาเหตุที่ทำให้ให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
อย่าพยายามรักษาการเปลี่ยนตวามอยากอาหารด้วยยาลดความอยากอาหารที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน การวางแผนการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่นๆ แพทย์จะช่วยคุณในการเรียนรู้วิธีการรักษาและจัดการกับโรคได้ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดร่วมกับโรคเบาหวาน แพทย์หรือนักโภชนาการจะช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์จะสอนวิธีการสังเกตสัญญานเตือนของภาวะน้ำตาลต่ำล่วงหน้าและรู้วิธีแก้ปัญหาได้ทีละขั้นตอนอย่างถูกต้องอย่างรวดเร็ว ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างที่รู้จักว่าเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถือว่าเป็นโรคที่ฉุกเฉิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้หมดสติหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากปัญหาความอยากอาหารมีสาเหตุมาจากยารักษาโรค แพทย์อาจเลือกยาตัวอื่นแทนหรือปรับเปลี่ยนปริมาณยาให้ ห้ามหยุดยาที่แพทย์สั่งหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์เป็นเด็ดขาด ในบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ไปรับการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติม เช่น การรับประทานอาหารผิดปกติ ภาวะซึมเศร้า หรืแโรคทางจิตใจอื่นๆซึ่งอาจรวมไปถึงการปรึกษาทางด้านจิตใจเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาข้อควรระวังของความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุหลายประการและบางครั้งอาจเป็นอาการของสภาวะสุขภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายโดยเนื้อแท้ แต่ก็สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหรือเป็นสัญญาณของปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้ ต่อไปนี้คืออันตรายหรือข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น:- การเพิ่มน้ำหนัก:หนึ่งในข้อกังวลที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นคือโอกาสที่จะได้รับแคลอรี่มากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือเป็นโรคอ้วน การบริโภคแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายต้องการอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน และปัญหาข้อต่อ
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด:ในบางกรณี ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมไม่ได้ดี ก็อาจทำให้หิวมากเกินไปได้ โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
- ความไม่สมดุลของสารอาหาร: การรับประทานอาหารมากเกินไปหรือรู้สึกหิวตลอดเวลาอาจนำไปสู่ความไม่สมดุลในการบริโภคสารอาหาร การบริโภคอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น ของว่างที่มีน้ำตาลหรือแคลอรี่สูง ในขณะที่การละเลยสารอาหารที่จำเป็นอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้
- ปัญหาทางเดินอาหาร:การรับประทานอาหารเร็วเกินไปหรือการบริโภคอาหารในปริมาณมากอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ รวมทั้งอาหารไม่ย่อย ท้องอืด และกรดไหลย้อน
- ปัจจัยทางจิตวิทยาและอารมณ์:ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นบางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางอารมณ์หรือจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า หรือการรับประทานอาหารที่เบื่อหน่าย การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ที่ซ่อนอยู่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่โดยรวม
- ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม:สภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน สามารถเพิ่มการเผาผลาญและความอยากอาหารได้ ภาวะเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินและการรักษาทางการแพทย์เพื่อจัดการกับความอยากอาหารและปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่
- ผลข้างเคียงจากยา:ยาบางชนิดอาจทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้นเป็นผลข้างเคียง หากคุณสงสัยว่าการใช้ยาเป็นสาเหตุทำให้คุณอยากอาหารเพิ่มขึ้น ให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสำหรับทางเลือกอื่นหรือการปรับเปลี่ยนที่เป็นไปได้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน:ความผันผวนของฮอร์โมน เช่น ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยแรกรุ่น การตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน อาจส่งผลต่อความอยากอาหารได้ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องปกติและชั่วคราว
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.medicinenet.com/increased_appetite/symptoms.htm
- https://www.everlywell.com/blog/sleep-and-stress/reasons-for-increased-appetite/
- https://medlineplus.gov/ency/article/003134.htm
- https://www.webmd.com/diet/features/your-hunger-hormones
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น