ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมพาราไทรอยด์อยู่ที่คอ และควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด

ตำแหน่งของต่อมพาราไทรอยด์

ต่อมพาราไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านหลังของลำคอ ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อ คนส่วนมากมีต่อมพาราไทรอยด์จำนวน 4 ต่อม โดยมีต่อมพาราไทรอยด์ 2 ต่อมด้านหลังต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ด้าน

ฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมพาราไทรอยด์

ต่อมพาราไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนพาราไทรอยด์

การทำงานของต่อมพาราไทรอยด์

ต่อมพาราไทรอยด์มีความสำคัญในการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดเป็นอย่างมาก เป็นตัวช่วยควบคุมระดับแคลเซียมให้คงที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และรักษาให้กระดูกแข็งแรง อวัยวะเป้าหมายที่ฮอร์โมนพาราไธรอยด์ออกฤทธิ์คือกระดูก และไต หากระดับแคลเซียมต่ำ ฮอร์โมนพาราไธรอยด์จะถูกผลิตโดยต่อมพาราไทรอยด์และส่งเข้าสู่กระแสเลือด และกระตุ้นให้กระดูกปล่อยแคลเซียมออกมา และเพิ่มระดับแคลเซียมในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังยับยั้งให้ไตหยุดการปลดปล่อยแคลเซียมออกมาในปัสสาวะ และกระตุ้นให้ไตเพิ่มการเผาผลาญวิตามินดี ผู้ที่รับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอควรรับประทานอาหาร หรือวิตามินดีให้เพียงพอกับความต้องการ เพื่อให้ระดับแคลเซียมที่ออกจากร่างกายลดลง และกระตุ้นให้ต่อมพาราไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์ จึงสามารถรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือดให้กลับมาเป็นปกติ อีกวิธีคือใช้พาราไธรอยด์ฮอร์โมนเพื่อเพิ่มระดับแคลเซียมในกระแสเลือด ด้วยการกระตุ้นวิตามินดีที่เกิดขึ้นในไต เพื่อให้วิตามินดีกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น hyperparathyroidism

ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์

บางครั้งต่อมพาราไทรอยด์อาจผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์มากเกินไป ทำฝห้ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป (ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง) ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่สบายได้ แต่ผู้ป่วยบางคนอาจไม่พบอาการเจ็บป่วยใด ๆ อาการความผิดปกตินั้นรวมถึงความกระหายน้ำที่เพิ่มขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดท้อง ท้องผูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะที่พบบ่อยที่สุดเรียกว่าโรคที่มีพยาธิสภาพของการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ การวินิจฉัยอาจใช้เวลานานหลายเดือน เนื่องจากต้องพิจารณาสาเหตุอาการอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน การรักษานั้นรวมถึงการจัดการกับภาวะของฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง หรือการรักษาตามอาการ (การติดตามอาการ และระดับของแคลเซียม) หากฮอร์โมนพาราไธรอยด์ยังมีระดับสูงต่อเนื่องอาจทำให้แคลเซียมจากกระดูกสูญเสียเข้าสู่กระแสเลือดและปัสสาวะได้มาก จนทำให้กระดูกบางลง (โรคกระดูกพรุน) แคลเซียมในปัสสาวะที่มากเกินไปยังทำให้เกิดนิ่วแคลเซียมในไตได้ บางครั้งต่อมพาราไทรอยด์อาจผลิตฮอร์โมนพาราไธรอยด์น้อยเกินไป ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ (ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ) อาจเรียกว่า hypoparathyroidism มักเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดที่ลำคอ เช่นโรคต่อมไทรอยด์ อาการที่เกิขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ คือความรู้สึกเสียวซ่า รู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ ‘เข็มทิ่ม’ เป็นตะคริว / กระตุกของกล้ามเนื้อ วิธีการรักษาคือการรับประทานอาหารเสริมวิตามินดี หรือแคลเซียม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด