นาฬิกาชีวิตของร่างกายทำงานอย่างไร (How Your Body Clock Works)

โรคหลายโรคที่มีรูปแบบแต่ต่างกันในแต่ละวันมีความเสี่ยงหรือมีอาการขึ้นอยู่กับนาฬิกาชีวิตภายในตัวเอง

นาฬิกาชีวิตคืออะไร

ร่างกายของคนเราแท้จริงนั้นก็มีนาฬิกาชีวิตที่เป็นตัวสร้างนาฬิกาชีวภาพ- ร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงตามวงจรชีวิตในแต่ละวัน และในปัจจุบันนี้ได้มีนักวิจัยได้ออกมาเปิดเผยถึงวิธีรักษาโรคบางชนิดให้ดีขึ้นได้โดยอาศัยการทำงานของ “นาฬิกา” นี้  นาฬิกาหลักของเราอยู่ในต่อมไฮโพทาลามัสในสมอง ที่ถูกตั้งไว้โดยวงจรของแสงสว่างและความมืดจากสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ เรามีนาฬิกาชีวภาพส่วนปลาย มีโมเลกุลส่วนประกอบอยู่ในเซลล์กระจายอยู่หลายตำแหน่งทั่วร่างกาย

ไฮโพทาลามัส hypothalamus คืออะไร

ต่อมไฮโพทาลามัส คือสมองส่วนหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ ต่อมฮอร์โมนและ ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์คิดว่านาฬิกาชีวภาพจะช่วยปรับให้ระบบการทำงานของร่างกายมีการทำงานที่เหมาะสม แต่สำหรับคนที่มีโรค นาฬิกาชีวภาพอาจทำให้อาการแย่ลงในเวลาที่แน่นอนแต่ละวันได้ เฉกเช่นกับโลกสมัยใหม่ คนเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันโดยดูจากนาฬิกาเป็นหลัก ร่างกายของเราก็ไม่ต่างกันที่มีการทำงานภายในที่มากมายขึ้นอยู่กับนาฬิกา เพียงแต่นาฬิกานั้นไม่ได้อยู่บนหน้าจอโทรศัพท์

รูปแบบชีวิตประจำวันกับโรค

โรคหลายโรคแสดงให้เห็นแล้วว่ารูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันสามารถเพิ่มความเสี่ยงหรือทำให้อาการมีความรุนแรงมากขึ้นได้ โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นสูงในช่วงเวลาเช้า  ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้มาตรงกันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการทำงานของโรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ระดับฮอร์โมนที่ตีงเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ หรือปฏิกิริยาอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ไข้หวัดและการติดเชื้อ จากการศึกษาพบว่ามักมีไข้สูงสุดในช่วงเย็นสำหรับดรคติดเชื้อแบคทีเรียและสุงสุดในตอนเช้าเมื่อติดเชื้อไวรัส จากการศึกษาอีกหนึ่งตัวอย่างพบว่า การมีน้ำมูกที่เกิดขึ้นในช่วงเป็นหวัดจะสูงสุดในช่วงเช้าของวันและลดลงในระหว่างวันและจะกลับมาเพิ่มสูงอีกนิดหน่อยในช่วงเย็น โรคหอบหืด สำหรับคนส่วนมากแล้วอาการโรคหอบหืดจะแย่หนักในช่วงกลางคืนมากกว่าในระหว่างวัน ตรงกันกับช่วงที่การทำงานของปอดแย่ลงด้วย ภูมิแพ้ตามฤดูกาล อาการคือ จาม คัดจมูก ตาแดงและคัน- มักมีอาการมากกว่าในช่วงเช้าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่เหลือของแต่ละวัน Heart Attacks in AM, Fever in PM How Your Body Clock Works

นาฬิกาชีวภาพและพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบกับอาการ

มีหลายต่อหลายโรคที่รูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นปัจจัยที่มีบทบาทได้มากกว่านาฬิกาชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น โรคหอบหืดในช่วงกลางดึก การนอนลงหรือหลับอาจช่วยในเรื่องอาการได้ นายแพทย์ สตีเว่น เชียร์ นักววิจัยเรื่องนาฬิกาชีวภาพของ Oregon Health and Science University ในพอร์ทแลนด์กล่าวเรื่องปัจจัยที่มาร่วมกับนาฬิกาชีวภาพไว้ว่า “มีบางอย่างที่เพิ่มเข้าไปทำให้อาการโรคหอบหืดแย่ลงสำหรับบางคนในช่วงระหว่างกลางคืน”   โรคหัวใจวาย ความเครียดทางด้านจิตใจก้พร้อมทำงานเป็นตัวเร่งให้ยิ่งเกิดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายในตอนเช้าได้สูงขึ้น “เช้าวันจันทร์คือช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเกิดหัวใจวานเพราะว่าเป็นวันแรกของการกลับไปทำงาน” นายแพทย์ คอร์ทนีย์ เอ็ม. ปีเตอร์สัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านโภชนาการแห่ง  “นี้คือตัวอย่างของผลกระทบร่วมกันระหว่างนาฬิกาชีวภาพและพฤติกรรมหรือสิ่งที่กระทำในชีวิต”  ที่ห้องทดลองของเชียร์ค้นพบความเข้าใจเรื่องนาฬิกาชีวภาพนั้นมีส่วนต่อรูปแบบของโรคได้ จากการศึกษาชิ้นหนึ่ง นักวิจัยพบว่าฮอร์โมนเอพิเนฟรีนจะเพิ่มสูงหลังการออกกำลังกายวันละสองครั้งคือตอน 8:30 a.m. และ 4:30 a.m.        เอพิเนฟรีนมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองความเครียดของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุมากมายของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่นหารเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต รวมถึงการหายใจเร็ว จากการศึกษานี้ได้ทำในคนที่มีสุขภาพปกติแต่เชียกำลังจะเริ่มศึกษาเรื่องเดียวกันนี้กับคนที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาหัวใจ เช่นคนสูงอายุและคนที่มีภาวะโรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูง “เรากำลังมองหาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและขอให้พวกเขาออกกำลังกายในช่วงเวลาที่แตกต่างกันในเวลากลางวันและกลางคืนในห้องทดลอง” เชียกล่าวไว้ “เรากำลังดูการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายที่ได้จากการทำสิ่งท้าทายที่ต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน” 

ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอด้วยการใช้นาฬิกาชีวภาพ

การเข้าใจว่านาฬิกาชีวภาพมีผลกระทบต่อความรุนแรงของโรคจะช่วยทำให้แพทย์รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น-อย่างที่รู้จักกันว่าเป็นการรักษาด้วยการเลื่อนเวลานอน เป็นการรักษาด้วยการใช้เวลามาให้สัมพันธ์กับนาฬิกาชีวภาพ จากการศึกษาพบว่าคนที่รับประทานยารักษาโรคความดันสูงในตอนกลางคืนอาจมีผลกระทบใหญ่กว่าคนที่มีความดันต่ำกว่า จากอีกหนึ่งการวิจัยได้ดูคนที่มีอาการหอบหืดและอาการแพ้สามารถดีขึ้นได้หากพวกเขารับประทานยาในเวลาที่แน่นอน เชียกล่าวไว้อีกว่าช่วงรับประทานยาจะทำให้ปริมาณยาในเลือดสูงที่สุดจากช่วงเวลาของวัน  เมื่อยาขึ้นสูงสุดก็จะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบมากที่สุดด้วยเช่นกัน “ด้วยการทำสิ่งนี้ อาจช่วยลดผลข้างเคียงและค่ายาลงได้” เชียกล่าว “แต่อาจทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้”  อีกตัวอย่างคือคนที่ได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานมีแนวโน้มว่าจะมีการตอบสนองในการสร้างภูมิได้ดีมากขึ้นด้วย หนึ่งในการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีการผลิตแอนติบอดี้มากขึ้นในการตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่หากพวกเขาได้รับวัคซีนในช่วงเช้าเมื่อเทียบกับช่วงบ่าย

ช่วงเวลาแห่งสุขภาพที่ดีที่สุดในการรับประทานอาหาร

การรับประทานยาและการฉีดวัคซีนตามช่วงเวลาเป็นอีกหนึ่งในการรักษาด้วยการเลื่อนเวลานอน ปีเตอร์สันยังศึกษาพบด้วยว่า การเลือกเวลารับประทานก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน “มีหลักฐานเพิ่มมาเรื่อยๆว่าช่วงเวลาในการรับประทานมีผลต่อสุขภาพ” ปีเตอร์สันกล่าว จากการศึกษา คนที่มีภาวะก่อนเบาหวานให้รับประทานอาหารทั้งแบบ 12 ชั่วโมงหรือ 6 ชั่วโมง คนที่ช่วงเวลารับประทานที่สั้นกว่า-คือช่วงเวลาจำกัดเวลาการรับประทาน- คือจบมื้อเย็นที่ 3 โมงเย็นในทุกๆวัน  การรับประทานช่วงสั้นกว่าสามารถช่วยทำให้ความไวต่ออินซูลินของผู้ทดลองดีขึ้น น้ำตาลในเลือดลดลงและที่น่าประหลาดใจก็คือ สามารถช่วยลดความหิวในช่วงเย็นได้อีกด้วย การศึกษานี้เป็นการทดลองเรื่องของการรับประทานตามนาฬิกาชีวภาพร่วมกับการรับประทานแบบจำกัดช่วงเวลาในการรับประทาน จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าได้ผลมาจากการรับประทานตามนาฬิกาชีวภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่ปีเตอร์สันยังได้กล่าวไว้ว่าจากการวิจัยอื่นๆยังพบว่าการรับประทานอาหารในมื้อเช้าและกลางวันในจำนวนแคลลอรี่ที่มากขึ้น-แม้จะไม่ได้เปลี่ยนช่วงเวลาของมื้อ-ก็สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น รวมถึงเรื่องปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆสำหรับโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน 

บทสรุป

นักวิจัยเรียนรู้ว่านาฬิกาชีวภาพนั้นมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนเรา ร่างกายเรามีนาฬิการ่างกายเป็นตัวสร้างนาฬิกาชีวภาพให้ร่างกาย-การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจและพฤติกรรม เป็นผลมาจากวงจรการใช้ชีวิตประจำวัน ตามข้อมูลแสดงให้เห็นว่าภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วงเช้า ในขณะที่อาการหอบหืดและไข้สูงมักมีอาการแย่ลงในช่วงบ่ายและเย็น นักวิจัยได้แต่หวังว่าการค้นพบนี้จะช่วยทำให้คนเรามีสุขภาพที่ดีอยู่ได้ด้วยการนำเรื่องของนาฬิกาชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด