สุนัขกัดทำอย่างไร (How to Treat a Dog Bite) – การรักษาภาวะแทรกซ้อน

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
สุนัขกัดทำอย่างไร

การดูแลเมื่อถูกหมากัด

หากคุณถูกสุนัขกัด สิ่งสำคัญคือ การดูแลบาดแผลทันทีเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณควรประเมินบาดแผลเพื่อระบุความรุนแรง ในบางกรณี เราสามารถดูแลแผลเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ในกรณีอื่นๆคุณอาจต้องได้รับการรักษาทันที ไม่สำคัญว่าสุนัขนั้นจะเป็นของคุณเอง หรือของคนอื่น คุณอาจรู้สึกกลัวหลังการถูกกัด หากคุณจำเป็นต้องไปหาแพทย์ ให้โทรขอความช่วยเหลือดีกว่าการขับรถไปหาหมอ หรือไปโรงพยาบาลด้วยตนเอง เรียนรู้ขั้นตอนที่ควรทำหลังถูกสุนัขกัด และสิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

สอบถามเกี่ยวกับประวัติการฉีดวัคซีนของสุนัข

สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อถูกสุนัขกัดคือ เอาตัวออกห่างระหว่างตัวคุณกับสุนัข เพื่อไม่เปิดโอกาสที่อาจถูกกัดซ้ำอีกครั้ง เมื่อยังไม่จำเป็นต้องรักษาทันที สิ่งที่สำคัญคือ การค้นหาว่าสุนัขตัวนั้นเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือไม่ หากเจ้าของสุนัขอยู่ใกล้ๆ ให้ถามหาประวัติการฉีดวัคซีนของสุนัข ขอชื่อเจ้าของสุนัข เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลติดต่อของสัตวแพทย์ หากสุนัขไม่มีผู้ดูแล ให้ถามคนที่เป็นพยานตอนที่ถูกกัดเผื่อพวกเขาจะคุ้นกับสุนัข และรู้ว่าเจ้าของสุนัขอยู่ไหน แนน่นอนว่าอาจเป็นไปได้ เช่น กันที่จะถูกสุนัขของตัวเองกัด ด้วยเหตุนี้จึงควรทำให้แน่ใจว่าสุนัขของคุณได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเรียบร้อย สัตว์แม้จะเป็นมิตร อ่อนโยนแค่ไหนก็อาจกัดเราได้ในบางครั้ง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รูปแบบการปฐมพยาบาลจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกัด หากผิวไม่มีรอยแยก ให้ล้างบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำอุ่น และสบู่ คุณสามารถใช้โลชั่นต้านนเชื้อแบคทีเรียตรงบริเวณที่ถูกกัดอย่างระมัดระวัง หากผิวมีรอยแยก ให้ล้างบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำอุ่น และสบู่ กดเบาๆที่แผลเพื่อให้เลือดออกมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดเชื้อโรคออกไป หากรอยกัดมีเลือดออกอยู่แล้ว ให้ใช้ผ้าสะอาดวางที่แผล และกดเบาๆเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล ตามด้วยทาโลชั่นต้านเชื้อแบคทีเรีย และปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อแล้ว แผลจากการโดนสุนัขกัดทุกชนิด แม้จะเพียงน้อยนิดก็ควรเฝ้าติดตามสังเกตสัญญานการติดเชื้อจนกว่าแผลจะหายดี ตรวจดูรอยกัดบ่อยๆหากพบว่ามีอาการ เช่น:
  • แดง
  • บวม
  • อุ่นๆ
  • เจ็บเมื่อสัมผัสโดน
หากบาดแผลเริ่มแย่ลง รู้สึกปวด หรือเริ่มมีไข้สูงควรรีบพบแพทย์ทันที

ขั้นตอนการรักษา

  1. ล้างบาดแผลด้วยสบู่ และน้ำอุ่น
  2. กดเบาด้วยผ้าสะอาดเหนือบาดแผลเพื่อหยุดการไหลของเลือด
  3. ทาขี้ผึ้งต้านเชื้อแบคทีเรียบริเวณแผล
  4. ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  5. เฝ้าดูสัญญานการติดเชื้อ
  6. ขอความช่วยเหลือหากสังสัยว่ามีการติดเชื้อ หรือมีความเป็นไปได้ว่าอาจสัมผัสพิษสุนัขบ้า หรือบาดแผลมีความรุนแรง
ควรขอความช่วยเหลือเมื่อไร ราว 1 ใน 5 ของคนที่ถูกสุนัขกัดจำเป็นต้องได้รับการรักษาโรค สำหรับการถูกสุนัขกัดควรพบแพทย์เสมอเมื่อ:
  • สุนัขที่กัดไม่รู้ประวัติการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า หรือเมื่อสุนัขแสดงท่าทางผิดปกติ หรือมีอาการป่วย
  • เลือดไม่ยอมหยุดไหล
  • มีอาการปวดรุนแรง
  • สูญเสียการทำงาน เช่น ความสามารถในการงอนิ้ว
  • แผลดูแดง บวม หรืออักเสบ
  • มีตุ่มหนอง หรือของเหลว
และรีบพบแพทย์หากคุณ:

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการโดนสุนัขกัด 

การถูกสุนัขกัดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการติดเชื้อ พิษสุนัขบ้า ความเสียหายของเส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ และอื่นๆ

การติดเชื้อ

เชื้อแบคทีเรียที่สามารถอาศัยอยู่ในปากของสุนัข เช่น :
  • เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส
  • เชื้อพาสทูเรลลา
  • เชื้อแคปโนไซโตฟากา
สุนัขยังมีเชื้อ MRSA แต่ยังไม่เคยมีรายงานมี่ชัดเจนว่าสามารถส่งต่อผ่านการกัดของสุนัข เชื้อโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียหากสุนัขกัดเข้าไปในผิวหนัง ความเสี่ยงในการติดเชื้ออาจรุนแรงในคนที่ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน 

How to Treat a Dog Bite

ความเสียหายของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

หากโดนสุนัขกัดลึกอาจทำความเสียหายต่อเส้นประสาท กล้ามเนื้อ และเล้นเลือดใต้ผิวหนังได้ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้จะเห็นเพียงแค่รอยเขี้ยวเล็กก็ตาม

กระดูกแตกหัก

การกัดจากสุนัขขนาดใหญ่อาจส่งผลให้กระดูกหัก แตก หรือแตกเป็นเศษๆได้ โดยเฉพาะที่บริเวณขา เท้า หรือมือ รีบพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่ามีกระดูกแตกหัก

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าคือ โรคไวรัสที่ทีความรุนแรง ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ถึงข้ั้นเสียชีวิตได้ภายในสองวามวันหลังการติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากโดนสุนัขกัด และไม่แน่ใจว่าสุนัขได้รับการฉีดวัคซีน หรือไม่

บาดทะยัก

บาดทะยักคือเชื้อแบคทีเรีย ปกติมักมีการฉีดวัคซีนกันบาดทะยักในเด็กอยู่แล้ว สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักเป็นประจำทุกๆ 10 ปี 

รอยแผลเป็น

หากสุนัขกัดจนเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง ก็สามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้ ตามทั่วไปรอยแผลเป็นจะไม่รุนแรงนัก และจะค่อยๆจางหายไปเมื่อเวลาผ่านไป รอยแผลเป็นที่รุนแรง  หรือรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ใบหน้า สามารถลดรอยได้ด้วยการใช้เทคนิคทางการแพทย์ เช่น การปลูกถ่าย หรือการทำศัลยกรรมพลาสติก 

การเสียชีวิต

การเสียชีวิตเพราะโดนสุนัขกัดพบได้น้อยมากในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากสุนัขกัดเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี

จำเป็นต้องฉีดวัคซินพิษสุนัขบ้า หรือไม่?

หากโดนกัดจากสุนัขที่แสดงสัญญานของโรคพิษสุนัขบ้า เช่น การแสดงท่าทางผิดปกติ หรือมีน้ำลายฟูมปาก คุณควรได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อได้รับการรักษาทันที โรคพิษสุนัขบ้าในคนพบได้น้อยมากในสหรัฐ และไม่สามารถส่งต่อโดยสุนัข ต้องขอบคุณการฉีดวัคซีน และโปรแกรมการป้องกันที่ถูกจัดทำขึ้น หากคุณ หรือแพทย์มีความกังวลว่าอาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าผ่านการกัดของสุนัข การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไว้ก่อนล่วงหน้าก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ วิธีการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าจะฉีดเป็นชุดทั้งหมดสี่เข็ม ใช้เวลาหลายสัปดาห์ การฉีดอิมมูโนโกลบูลินพิษสุนัขบ้าถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา 

สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไร

เมื่อถูกสุนัขกัดจะเป็นการนำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรุนแรง และบางครั้งอาจติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการล้างแผลทันทีให้เร็วที่สุดหลังการถูกกัด และควรใช้ยาทาปฏิชีวนะ เช่น โพวิโดน ไอโอดีน ที่บาดแผล และบริเวณรอบๆปิดบาดแผลด้วยผ้าปิดแผล และเปลี่ยนทุกวันคอยเฝ้าสังเกตบาดแผลเพื่อดูสัญญานของการติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ อาการอาจเริ่มแสดงภายใน 24 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 14 วันหลังถูกสุนัขกัด การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว หากสังเกตเห็นสัญญานของการติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที คุณอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หรือรับประทาน หากแพทย์สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณ อาจต้องรับประทานราว 1-2 สัปดาห์ ห้ามหยุดทานยาแม้จะเห็นว่าการติดเชื้อดีขึ้นแล้วก็ตาม

การเฝ้าติดตาม

การถูกสุนัขกัดเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว และเมื่อไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ การติดเชื้อแบคทีเรียคือ ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่พบได้เมื่อถูกสุนัขกัด สิ่งที่สำคัญคือ การสังเกตสัญญานการติดเชื้อ ควรฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขของเรา และพยายามออกห่างจากสุนัขที่เราไม่รู้จักคือ การป้องกันการถูกสุนัขกัด และภาวะแทรกซ้อนที่ดีที่สุด อย่าเข้าใกล้สุนัขที่เราไม่รู้จัก ไม่สำคัญว่าพวกมันจะดูน่ารักขนาดไหนก็ตาม หลีกเลี่ยงการเล่นกับสุนัขแบบรุนแรง และเสียงดังโครมคราม และอย่าไปรบกวนสุนัขในขณะที่สุนัขกินอาหาร หรือดูแลลูกของพวกมันอยู่

สัญญาณเตือนที่ต้องคอยระวัง

สัญญาณของการติดเชื้อ:

  • แผลแดงและบวม:
    • หากบริเวณที่ถูกกัดเริ่มแดงและบวมมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  • ความเจ็บปวด:
    • ความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องบริเวณที่ถูกกัดอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • หนอง:
    • หากมีของเหลวไหลออกมา โดยเฉพาะหากเป็นสีเหลืองหรือเขียว อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  • อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น:
    • ไข้หรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากการถูกกัด

บาดทะยัก:

  • อาการบาดทะยัก:
    • หากคุณไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ให้สังเกตอาการต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อตึง กลืนลำบาก หรือกล้ามเนื้อกระตุก

โรคพิษสุนัขบ้า (หายาก แต่ร้ายแรง):

  • อาการของโรคพิษสุนัขบ้า:
    • โรคพิษสุนัขบ้าพบได้น้อยมากในสุนัขบ้าน แต่หากไม่ทราบสถานะการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของสุนัข ให้สังเกตอาการต่างๆ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนแรง และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ไปพบแพทย์ทันทีหาก:

  • บาดแผลเจาะลึก:
    • บาดแผลเจาะลึกมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อมากขึ้น ไปพบแพทย์หากมีรอยกัดลึกหรือรุนแรง.
  • เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญ:
    • หากเลือดออกรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการกดเบาๆ ให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ความลำบากในการเคลื่อนย้ายหรือใช้พื้นที่ที่ได้รับบาดเจ็บ:
    • หากการกัดกระทบต่อข้อต่อ เส้นเอ็น หรือเส้นประสาท อาจส่งผลให้เคลื่อนไหวหรือใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บได้ยาก
  • ความเสียหายที่มองเห็นได้ต่อเนื้อเยื่อ:
    • หากมองเห็นความเสียหายต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูก จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
  • ปวดมากเกินไป:
    • อาการปวดเรื้อรังและรุนแรงที่ไม่ได้บรรเทาลงด้วยยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์อาจบ่งบอกถึงอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงกว่า
  • สัญญาณของภาวะช็อค:
    • หากมีอาการช็อค เช่น หายใจเร็ว ผิวซีด หรือสับสน ให้ไปพบแพทย์ฉุกเฉิน
โปรดจำไว้ว่าการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญ เข้าหาสุนัขอย่างใจเย็นเสมอ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวกะทันหัน และขออนุญาตจากเจ้าของก่อนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัข หากถูกกัด ให้ทำความสะอาดแผลทันที สังเกตอาการติดเชื้อ และไปพบแพทย์หากจำเป็น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://health.clevelandclinic.org/if-a-dog-bites-you-do-these-7-things-now/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/326976
  • https://www.nhs.uk/conditions/animal-and-human-bites/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด