การทำงานของอสุจิ (How Does the Sperm Work)

ขั้นตอนการตั้งครรภ์

การเคลื่อนผ่านของน้ำอสุจิ: สเปิร์มจะต้องผ่านและเคลื่อนตรงไปยังบริเวณที่จะปฏิสนธิ การเคลื่อนผ่านของไข่: เกิดการตกไข่ ก่อนที่ไข่จะถูกส่งไปยังท่อนำไข่ การปฏิสนธิและการพัฒนาของตัวอ่อน: เมื่อเกิดการรวมตัวระหว่างอสุจิกับไข่ กระบวนการพัฒนาตัวอ่อนจะเริ่มขึ้น การปลูกถ่าย: ตัวอ่อนจะฝังตัว และเริ่มเจริญเติบโตในมดลูก ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองได้อย่างไร

การเคลื่อนผ่านของอสุจิ

การเคลื่อนผ่านของน้ำอสุจินั้นมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง อสุจิต้องขับเคลื่อนตัวเองผ่านสภาพแวดล้อมของช่องคลอดและปากมดลูกของสตรีให้ได้ ซึ่งสภาพแวดล้อมนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมตามระดับฮอร์โมนที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร ซึ่งจะต้องเหมาะสมกับตัวอสุจิโดยไม่ทำอันตรายต่อพวกมัน สุดท้ายอสุจิต้องมีความสามารถในการปรับรูปแบบตนเองให้สามารถเจาะเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ของไข่ได้ (การสลัดปลอกหุ้มหัวออก) หลังจากการหลั่งน้ำอสุจิ เซลล์อสุจิจะมีการสร้างเจลเพื่อป้องกันตัวอสุจิจากสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดของช่องคลอด เจลจะสลายกลายเป็นของเหลวภายใน 20-30 นาทีโดยเอนไซม์จากต่อมลูกหมาก การกลายเป็นของเหลวนั้นมีความสำคัญต่อการปลดปล่อยอสุจิ ดังนั้นในกระบวนการเคลื่อนผ่านของ อาจมีพลาสมาของน้ำอสุจิหลงเหลืออยู่ในช่องคลอด สเปิร์มที่ได้รับการปกป้องและเคลื่อนไหวได้เร็วจะเดินทางผ่านชั้นเมือกของปากมดลูกที่ใช้ป้องกันบริเวณทางเข้าสู่มดลูก ในระหว่างการตกไข่ สิ่งกีดขวางนี้จะบางลงและเปลี่ยนค่าความเป็นกรด ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อตัวอสุจิ เมือกของปากมดลูกจะทำหน้าที่ดูแลอสุจิให้อยู่รอดได้นานขึ้น เมื่อสเปิร์มเข้าสู่มดลูก การหดตัวจะดันตัวอสุจิขึ้นไปยังท่อนำไข่ สเปิร์มตัวแรกเข้าสู่ท่อนำไข่อาจไม่ใช่อสุจิที่ได้ปฏิสนธิ โดยมากอสุจิจะสามารถอยู่รอดในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้นานถึง 5 วัน

การเคลื่อนผ่านของไข่

การเคลื่อนผ่านของไข่ หรือ เซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง เริ่มต้นจากการตกไข่และสิ้นสุดเมื่อไข่ไปถึงมดลูก หลังจากการตกไข่ ปลายท่อนำไข่ที่มีลักษณะเป็นนิ้ว (fimbriated) จะกวาดไข่ไปบริเวณเหนือรังไข่ ไข่จะติดอยู่ตรงตำแหน่งที่เรียกว่า cilia ซึ่งอยู่บนพื้นผิวของ fimbriae มีหน้าที่ในการยึดไข่และเคลื่อนเข้าไปในท่อ cilia ภายในท่อ เมื่อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้ไข่เคลื่อนไหวไปข้างหน้า การเคลื่อนผ่านท่อนำใช้จะใช้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมง ภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานและเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ อาจทำให้การทำงานของท่อนำไข่ลดลงอย่างถาวร อันเนื่องมาจากรอยแผลเป็น และหรือความเสียหายต่อ fimbriae เมื่อไข่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนำไข่ที่เรียกว่า ampullar-isthmic junction ไข่จะพักต่ออีก 30 ชั่วโมง การปฏิสนธิ (การรวมตัวของอสุจิกับไข่) เกิดขึ้นในส่วนนี้ของท่อนำไข่ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเริ่มไปยังมดลูกอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาพักในท่อมีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่สมบูรณ์ของไข่ที่ปฏิสนธิ และการเตรียมมดลูกเพื่อรับไข่ ข้อบกพร่องในท่อนำไข่อาจทำให้การการเคลื่อนย้ายนี้ลดประสิทธิภาพลง และเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปฎิสนธิและการตั้งครรภ์   How Does the Sperm Work?

การปฏิสนธิและการพัฒนาของตัวอ่อน

หลังจากการตกไข่ ไข่จะสามารถทำการปฏิสนธิได้ในเวลา 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น การปฏิสนธิระหว่างไข่กับสเปิร์มเป็นแบบสุ่ม เยื่อหุ้ม (เปลือก) รอบ ๆ ไข่ zona pellucida มีหน้าที่หลัก 2 ประการในการปฏิสนธิ ประการแรก zona pellucida คือตัวรับอสุจิซึ่งจำเพาะต่อตัวอสุจิของมนุษย์ ประการที่ 2 เมื่อตัวอสุจิทะลุผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แล้ว อสุจิตัวอื่นจะซึมผ่านเข้าไปอีกไม่ได้ หลังจากการเจาะของอสุจิ ขั้นตอนต่อไปคือการแบ่งตัวของเซลล์ครั้งแรก ตัวอ่อนของเซลล์เดียวนี้เรียกว่า “zygote” หลังจากนั้น 7 วันต่อมา ตัวอ่อนของมนุษย์จะผ่านการแบ่งเซลล์หลายเซลล์ในกระบวนการที่เรียกว่า mitosis เมื่อสิ้นสุดช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวอ่อนจะกลายเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีการจัดระเบียบที่เรียกว่า blastocyst เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น เกระบวนการพัฒนาตัวอ่อนในระยะแรกนี้จะเกิดความบกพร่องมากขึ้น เนื่องจากคุณภาพของไข่ลดลง

การปลูกถ่าย

เมื่อตัวอ่อนไปถึงระยะ blastocyst (ประมาณ 5-6 วันหลังการปฏิสนธิ) ตัวอ่อนจะฟักตัวจาก zona pellucida (เปลือก) และเริ่มกระบวนการฝังตัว โดยธรรมชาติแล้ว 50% ของไข่ที่ปฏิสนธิทั้งหมดจะหายไปก่อนที่ผู้หญิงจะขาดประจำเดือน ดังนั้น ในกระบวนการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) ตัวอ่อนอาจเริ่มพัฒนาแต่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ระยะ blastocyst ได้ (ระยะแรกที่เซลล์เหล่านั้นถูกกำหนดให้กลายเป็นทารกในครรภ์แยกจากเซลล์ที่จะกลายเป็นรก) blastocyst อาจฝังตัว แต่ไม่เติบโต หรือ blastocyst อาจเติบโต แต่การพัฒนาเกิดการหยุดชะงักภายใน 2 สัปดาห์ที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ ความไวของมดลูกและสุขภาพของตัวอ่อนมีความสำคัญต่อกระบวนการฝังตัว อาการของคนตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

วิธีช่วยวิธีเพิ่มน้ําอสุจิและช่วยให้แข็งแรง 

อสุจิคือเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการมีบุตร ดังนั้นการดูแลตัวเอง และการทานอาหารที่มีประโยชน์ จึงจำเป็นต่อการบำรุงอสุจิ ได้แก่ 
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หากมีโรคประจำตัว ควรควบคุมรักษาโรคให้ดี โรคประจำตัวบางโรคอาจส่งผลให้น้ำเชื้ออ่อนแอ เช่นยารักษาผมร่วงที่ใช้ฮอร์โมนในการรักษา ซึ่งทำให้น้ำเชื้ออ่อนแอ แต่เมื่อหยุดการใช้ยาอสุติก็จะแข็งแรงขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีสังกะสีและโฟลิคสูง ซึ่งเป็นอาหารเพิ่มน้ําอสุจิ
  • หากรับประทานอาหารที่มีสังกะสี หรือโฟลิคไม่เพียงพอ อาจรับประทานอาหารเสริมและวิตามินสำเร็จรูปทดแทนได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยควรนอน 7 ชั่วโมงต่อวัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ระวังการออกกำลังกายที่มากเกินไป หรือการออกกำลังกายที่ส่งผลให้อุณหภูมิบริเวณลูกอัณฑะสูงนานเกิน เช่นการปั่นจักรยานทางไกล เพราะจะส่งผลต่อคุณภาพของอสุจิได้
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
  • มีเพศสัมพันธ์พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป โดยทั่วไปควรมีเพศสัมพันธ์วันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน จึงจะถือว่าเหมาะสม หากมีบ่อยเกินไป อสุจิจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง
  • ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ที่หากรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อที่อัณฑะ หรือ ท่อส่งน้ำเชื้ออาจทำให้อัณฑะเสียหาย หรือท่อส่งน้ำเชื้ออุดตันได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นใน และกางเกงที่รัดมากเกินไป การแช่น้ำร้อน ทำซาวนา และการปั่นจักรยานเป็นเวลานาน จะทำให้อุณหภูมิของลูกอัณฑะสูงขึ้น ส่งผลต่อการสร้างหรือคุณภาพของอสุจิ
  • การเล่นกีฬาที่ต้องมีแรงกระทบกระแทก หรือเกิดการเสียดสีบริเวณอัณฑะบ่อย ๆ ก็มีผลให้การสร้างน้ำเชื้ออสุจิผิดปกติได้ เช่น ฟุตบอล ชกมวย ปั่นจักรยาน รักบี้ จึงควรเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่หักโหมจนเกินไป
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด