ปวดส้นเท้า (Heel pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เท้าและข้อเท้าของคนเรานั้นประกอบไปด้วยกระดูก 26 ข้อ ข้อต่อ 33 ข้อ และเอ็นกล้ามเนื้อมากกว่า 100 เส้น ส้นเท้าเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในเท้าของคุณ หากคุณใช้ส้นเท้ามากเกินไป หรืออาการบาดเจ็บที่บริเวณส้นเท้า ก็จะเกิดอาการปวดส้นเท้าได้ โดยอาการเจ็บหรือปวดบริเวณส้นเท้านี้อาจจะเกิดขึ้นได้เล็กน้อยไปจนถึงปวดขนาดไม่สามารถเดินเป็นปกติได้   ปวดส้นเท้า (Heel pain)  

ลองดู Movinix capsules และ Flexadel gel ช่วยบรรเทาอาการปวดส้นเท้า (Heel Pain)


 

สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีอะไรบ้าง

อาการปวดส้นเท้าเกิดจากอะไรได้บ้าง สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีได้หลายสาเหตุดังนี้
  • อาการบาดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นกระดูกเนื่องจากการกดทับ หรือการเกิดอุบัติเหตุ 
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ  เกิดจากเอ็นร้อยหวายถูกกดทับซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เส้นเอ็นถูกใช้งานหนัก เช่นการวิ่งเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือเพิ่มระยะทางอย่างรวดเร็ว โดยร่างกายยังไม่ได้มีการคุ้นชิน ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบและเกิดการเจ็บปวดได้
  • กระดูกหัก หรือกระดูกร้าว
  • โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือโรครองช้ำ  เป็นภาวะที่เส้นเอ็นบริเวณใต้ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ เนื่องจากผังผืดบริเวณใต้ฝ่าเท้าถูกใช้งานซ้ำ ๆ  และมีการกดทับกันเป็นเวลานาน  และก่อให้เกิดอาการเจ็บเป็นอย่างมาก 

การรักษาอาการปวดส้นเท้า (Heel pain)

วิธีรักษาอาการปวดส้นเท้าเบื้องต้นทำได้ดังนี้
  • พักผ่อนและงดการเดินให้มากที่สุด
  • ทำกายภาพบำบัดยืดเอ็นร้อยหวาย
  • รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น Flexadel และ Movinix
  • ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งครั้งละ 10 – 15 นาที สองครั้งต่อวัน 
  • สวมใส่รองเท้าที่สบายเท้าไม่รัดแน่นหรือสูงจนเกินไป
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ใช้อุปกรณ์เสริมหรือดามส้นเท้าไว้เพื่อลดการกระแทกส้นเท้า หรือฝ่าเท้า
หากไปพบแพทย์แล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์อาจจะแนะนำการผ่าตัดเพื่อทำการแยกเอ็นที่บริเวณฝ่าเท้าออกจากกระดูก 

อาการปวดส้นเท้า

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้า และมีอาการตึง และไม่สามารถย่ำหรือทิ้งน้ำหนักลงบนบริเวณฝ่าเท้าได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดอาการปวดบริเวณส้นเท้ามากกว่า กลางเท้า ซึ่งอาการปวดมักจะเกิดขึ้นตอนเช้า หรือปวดส้นเท้าเวลาเดินหรือวิ่งนาน ๆ หากพบว่าส้นเท้าอักเสบควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาเพื่อให้ตรงกับสาเหตุของอาการปวด 

การวินิจฉัยอาการปวดส้นเท้า

ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณจะประเมินอาการของคุณและทำการตรวจร่างกาย คุณยังอาจได้รับรังสีเอกซ์เพื่อตรวจหาโรคข้ออักเสบกระดูกหักการจัดกระดูก และความเสียหายของข้อต่อ ไม่บ่อยนัก คุณอาจต้องใช้ MRI หรืออัลตราซาวนด์ สิ่งเหล่านี้สามารถแสดงปัญหาของเนื้อเยื่ออ่อนซึ่งรังสีเอกซ์ไม่เปิดเผย

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดส้นเท้า

อาการปวดส้นเท้าอาจรบกวนความสามารถในการไปไหนมาไหน ทำงาน ออกกำลังกาย และทำงานประจำวันให้เสร็จ เมื่อรู้สึกเจ็บที่จะเคลื่อนไหว คุณสามารถนั่งนิ่งๆ ได้ การใช้ชีวิตที่ไม่ใช้งานอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ คุณยังอาจรู้สึกหดหู่เพราะคุณไม่สามารถทำในสิ่งที่คุณรักได้ เอ็นร้อยหวายอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เอ็นขาด (tendinosis) เมื่อเวลาผ่านไป เอ็นร้อยหวายสามารถฉีกขาดหรือแตกได้ ปัญหานี้อาจต้องได้รับการผ่าตัด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/heel-pain/basics/causes/sym-20050788
  • https://www.nhs.uk/conditions/foot-pain/heel-pain/
  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/foot-pain-causes-and-treatments

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด