แสบร้อนกลางอก (Heartburn: Why it happens and what to do)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
แสบร้อนกลางอก
แสบร้อนกลางอกคืออาการทั่วไปของกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่บางอย่างในกระเพาะอาหารเดินทางย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหารหรือท่ออาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบร้อนในทรวงอกช่วงล่าง หากอาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้นมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์จะเรียกอาการนี้ว่า โรคกรดไหลย้อน คนจะรู้สึกถึงอาการแสบร้อนกลางอกเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นท่ออาหารที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากปากสู่กระเพาะอาหาร อาการแสบร้อนกลางอกคืออาการของโรคกรดไหลย้อน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ยาโอเมพราโซได้ที่นี่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งรวมไปถึงสาเหตุ อาการและการรักษา

สาเหตุ

อาการแสบร้อนกลางอกคือสิ่งที่หลายๆคนเคยต้องประสบพบเจอเป็นเรื่องปกติ และน้อยรายที่จะเป็นสาเหตุของเรื่องที่ต้องเป็นกังวล แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อนที่กำเริบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง และอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆได้ คนสามารถเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ในทุกเพศทุกวัย สาเหตุส่วนใหญ่บางครั้งมาจากภาวะอ้วนและการสูบบุหรี่

อาการแสบร้อนกลางอก

อาการกรดไหลย้อนหรือแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นบ่อยๆส่วนใหญ่คือความรู้สึกร้อน หรือแสบไหม้ในทรวงอกและลำคอ เป็นผลมาจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นเช่น:
  • ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณกลางอก
  • รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย แสบร้อน
  • มีกลิ่นเรอเหม็นเปรี้ยวในปาก
หากพบว่ามีอาการกรดไหลย้อนบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ระบบทางเดินอาหาร -ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้-เพื่อสืบสวนโรคต่อไป

การเยียวยาเมื่อเกิดอาการแสบหน้าอก

เคล็ดลับการใช้ชีวิตและคำแนะนำด้านพฤติกรรมบางอย่างสามารถช่วยป้องกันหรือลดอาการแสบร้อนกลางอกได้เช่น:
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยการจำกัดปริมาณไขมัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนช่วงเวลาเข้านอน 2-3 ชั่วโมง
  • ยกหัวเตียงให้สูงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อรัดแน่น
  • หลีกเลี่ยงการดึงหรือยกของหนัก
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการเช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารรสจัด อาหารมีกรดหรืออาหารที่ทำให้เกิดแก๊สและท้องเฟ้อ
  • พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในน้ำหนักที่เหมาะสม
  • เลิกบุหรี่หากทำได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารมื้อเล็กๆแต่บ่อยๆ
โปรดจำไว้ด้วยว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตอาจไม่ได้ผลดีสำหรับทุกคน

ปวดแสบกลางอกในระหว่างการตั้งครรภ์

ตามข้อมูล Office on Women’s Health (OWH) อาการแสบร้อนกลางอก แน่นหน้าอกและอาหารไม่ย่อยคืออาการทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์เพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงและตัวทารกเกิดการกดทับที่บริเวณกระเพาะอาหาร ทาง OWH ได้เสนอแนะอาหารบางชนิดและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตที่อาจช่วยบรรเทาอาการเช่น:
  • แบ่งการรับประทานอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อต่อวัน
  • ไม่ล้มตัวลงนอนภายในช่วงหนึ่งชั่วโมงหลังการรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและรสจัด
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:หลอดอาหารอักเสบอ่านต่อที่นี่

Hearth Burn; Why it happens and what to do?

อาการแสบร้อนกลางอกหรือหัวใจวาย 

อาการหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่เชื่อมต่อกับหัวใจมีการอุดตัน แต่อาการแสบร้อนกลางอกไม่ได้เกิดขึ้นเช่นนั้น แต่เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารเดินทางย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร บางอาการของแสบร้อนกลาางอกและหัวใจล้มเหลวอาจมีความคล้ายคลึงกัน เช่นเจ็บหน้าอก ส่งผลให้บางคนที่มีอาการหัวใจล้มเหลวกลับไม่ได้ทันระวังเมื่อคิดเอาเองว่าตนเองเป็นเพียงแค่อาการแสบร้อนกลางอก หากพบว่ามีอาการปวดแสบร้อนกลางอกร่วมกับอาการหายใจสั้นหรือมีเหงื่อออกอาจเป็นผลมาจากโรคหัวใจ อาการอื่นๆของหัวใจวายคือ:
  • อึดอัดที่บริเวณทรวงอกเช่น รู้สึกบีบเค้น แน่น มีแรงกดหรือเจ็บปวด
  • คลื่นไส้
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณแขนข้างใดข้างหนึ่ง ที่บริเวณกระเพาะอาหาร คอ กรามหรือแผ่นหลัง
หากมีอาการบางอย่างหรือทั้งหมดตามที่กล่าวไว้ข้างต้นควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

การรักษาอาการแสบร้อนกลางอก

อาการแสบร้อนกลางอกสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ยาเช่น:
  • ยาลดกรด เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกชนิดปานกลาง
  • ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPIs) สามารถลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารลงได้
  • กลุ่มยาปิดกั้นตัวรับฮิสตามีนชนิดที่2 เป็นยาที่ช่วยลดระดับกรดในกระเพาะและอาจช่วยรักษาเยื่อบุหลอดอาหาร 
สิ่งที่สำคัญที่ต้องจำไว้คือการรักษาด้วยยายับยั้งการลดกรดสามารถรักษาเยื่อบุหลอดอาหารและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้ผลมีประสิทธิภาพดีกว่ากลุ่มยาปิดกั้นตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มยาปิดกั้นตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้องและปวดศีรษะ

การป้องกัน

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมสามารถป้องกันหรือช่วยทำให้อาการแสบร้อนกลางอกดีขึ้นได้ เราอาจป้องกันอาการแสบร้อนกลางอกได้ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การออกกำลังกายมากขึ้น การรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆและการนังหลังตรงหลังรับประทานอาหารก็อาจช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกได้

บทสรุป

หลายๆคนที่เคยประสบกับอาการแสบร้อนกลางอกบ่อยๆ ปกติมักไม่ใช่สาเหตุของโรคที่น่าเป็นกังวล แต่อย่างไรก็ตาม หากใครมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อยๆ ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนรูปแบบโภชนาการและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงท่าทาง หากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมไม่สามารถส่งผลให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำยาเช่นยาลดกรดหรือกลุ่มยาปิดกั้นตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการแสบร้อนกลางอกหรือหัวใจวาย ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด