น้ำท่วมภัยธรรมชาติ (Flood Natural Disaster)

น้ำท่วม

การเกิดน้ำท่วมคือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มาจากน้ำ เกิดขึ้นเมื่อน้ำไม่สามารถระบายได้ทันเวลา ส่งผลให้น้ำทะลักเอ่อล้นมาจากร่องระบายน้ำ เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ สาเหตุของน้ำท่วมเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างกัน ได้แก่
  • น้ำท่วมจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunder storm) มักเกิดน้ำหลากจากต้นน้ำลงมาอย่างรวดเร็ว อาจเรียกว่าน้ำท่วมเฉียบพลัน (Flash flood) แต่มักท่วมเพียง 2 – 3 ชั่วโมง ก็สามารถลดระดับน้ำได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปแบบน้ำท่วมที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้มากที่สุด
  • น้ำท่วมจากฝนตกเป็นเวลานาน ๆ มักทำให้เกิดน้ำท่วมขังตามพื้นที่ต่าง ๆ (Local flood) เป็นระยะเวลานาน ๆ บางครั้งอาจนานเป็นสัปดาห์ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้า ๆ หากไม่มีการช่วยเร่งระบายออกไป
  • น้ำท่วมจากคลื่นพายุซัดชายฝั่ง (Storm surge) เป็นการเกิดน้ำท่วมจากพายุในทะเล ที่พามวลน้ำมายังแผ่นดิน ก่อนไหลหลากไปยังพื้นที่บริเวณใกล้ชายฝั่ง
  • น้ำท่วมจากสาเหตุอื่น ๆ อาทิเช่น
  • การถล่มของธารน้ำแข็ง และมีสิ่งกีดขวางธารน้ำตามธรรมชาติ (Glacier-jam flood) ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง
  • การพังทลายของวัสดุที่เคยกั้นน้ำบริเวณด้านบนเอาไว้
  • มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำไหล

ปัญหาน้ำท่วม และผลกระทบจากน้ำท่วม

ผลกระทบน้ำท่วมต่อมนุษย์
  • ได้รับบาดเจ็บจากสิ่งที่มากับน้ำ หรืออยู่ในน้ำ เช่นโดนไม้ หรือสิ่งของกระแทก
  • เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่มากับน้ำ อย่างโรคน้ำกัดเท้า โรคระบบทางเดินอาหารที่มาจากอาหารไม่สะอาด โรคฉี่หนู และโรคระบาดอื่น ๆ ที่มากับน้ำท่วม
  • จมน้ำเสียชีวิต
  • สุขภาพจิตย่ำแย่
  • สูญเสียทรัพย์สิน  และขาดรายได้ ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน
ผลกระทบน้ำท่วมต่อทรัพย์สิน
  • อาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงเรียน สถานที่สาธารณะ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับผลเสียหาย
  • ระบบการคมนาคม ระบบสื่อสาร ถนน ทางรถไฟ สะพาน โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ได้รับความเสียหาย
  • ผลเสียหายต่อผลิตผลทางเกษตรกรรม การปศุสัตว์ พืชและสัตว์เลี้ยงอาจถูกพัดพาหรือเสียหายได้
  • ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก เนื่องจากไม่สามารถทำการค้าขายตามปกติ หรือสถานที่ผลิตไม่สามารถทำงานได้ในขณะที่เกิดน้ำท่วม

น้ำท่วมเกิดจากอะไร

สาเหตุหนึ่งคือการที่ประชากรตั้งชุมชน บ้านเรือนใกล้เคียงกับบริเวณริมแม่น้ำลำคลอง และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมเปลี่ยนไป ระบบการคมนาคมใช้ทางบกเป็นหลัก เกิดความจำเป็นที่ต้องสร้างถนนให้อยู่ใกล้บริเวณชุมชนมากที่สุด ทำให้ถนนส่วนมากอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือกีดขวางทางน้ำที่เคยช่วยระบายน้ำในอดีตไปได้ และการสร้างอาคารบ้านเรือนที่มีขนาดสูงมาก ๆ ยังจำเป็นต้องสร้างทำนบและกำแพงกั้นเป็นแนวตามริมฝั่งของแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมชุมชนเมื่อถึงฤดูน้ำหลากได้ง่าย เป็นเหตุให้ปริมาณน้ำที่เคยมีในฤดูฝนที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ไม่สามารถไหลออกจากพื้นที่ลุ่มได้ เกิดเป็นปัญหาน้ำท่วมได้Flood Natural Disaster

ปัญหาสุขภาพที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา และแผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการแช่น้ำที่มีเชื้อโรคเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือปัญหาความอับชื้นจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน ๆ เกิดอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง  และเริ่มคันตามซอกนิ้ว ผิวหนังลอกเป็นขุย หากรุนแรงผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาขึ้นและปริแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างผิวหนังอักเสบ   วิธีป้องกันคือการเช็ดส่วนที่สัมผัสน้ำท่วมให้แห้ง หากมีบาดแผลให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคติดต่อที่พบได้ทุกเพศ ทุกวัย แพร่ระบาดทางลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอ จาม  อ่อนเพลีย วิธีป้องกันคือใช้ผ้าปิดปากเวลาไอ จาม ดื่มน้ำอุ่น ๆ ให้มาก หากมีไข้สูงเกิน 7 วันควรไปพบแพทย์ โรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ตัวอย่างสิ่งแปลกปลอมเช่นน้ำสกปรกทำให้เกิดการอักเสบ ไข้สูง ไอมาก  หอบหายใจถี่เร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม อาการลักษณะนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โรคตาแดงเป็นโรคที่มากับน้ำท่วม เป็นผลกระทบจากน้ำท่วมที่พบได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรง ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ อาการจะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 – 2 วัน จะทำให้รู้สึกระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล allergy-eyes-0488/”>ตาแพ้แสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง หากดูแลและรักษาความสะอาดให้ดี อาการจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่หากไม่รับการรักษาให้ดีอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ  วิธีป้องกันคือการล้างดวงตาให้สะอาด เมื่อสัมผัสฝุ่นละออง หรือน้ำที่สกปรก หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ห้ามขยี้ตา โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นผลกระทบจากน้ำท่วมที่มาจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด หรือสัมผัสกับน้ำที่สกปรก ได้แก่ โรคอุจาระร่วง ถ่ายะเหลวหรือเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย โรคอหิวาตกโรคจะมีอาการถ่ายเป็นน้ำสีขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมาก ๆ หากอาการรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ อาหารเป็นพิษ คืออาการปวดท้องร่วมกับการถ่ายอุจาระเหลว รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามเนื้อตัว โรคบิดที่จะมีมูกหรือเลือดปนมาในอุจจาระ มีไข้ ปวดท้อง และมีปวดเบ่งตลอดเวลา โรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย อาการสำคัญคือมีไข้ เบื่ออาหาร ท้องผูก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ วิธีป้องกันคือการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ กำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงสัตว์พาหะต่าง ๆ กรณีที่เจ็บป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำ หรืออาหารเหลวมาก ๆ ดื่มสารละลายของน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มากับน้ำท่วม มีหนูเป็นพาหะนำเชื้อที่สำคัญ  เชื้อมักมากับปัสสาวะของสัตว์แล้วปนเปื้อนไปในน้ำที่กำลังท่วมขัง มนุษย์จะได้รับเชื้อผ่านทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามผิวหนัง หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังเมื่อแช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ อาการเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 4 – 10 วัน โดยจะมีไข้สูงทันที ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และศีรษะรุนแรง บางรายอาจมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดินได้ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เพราะหากอาการลุกลามอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  วิธีป้องกันคือการสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ พบได้ทุกพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพราะเมื่อได้รับผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย ยุงจะมีแหล่งเพาะพันธุ์มากขึ้น อาการของโรคคือไข้ขึ้นสูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงเล็ก ๆ ตามลำตัว หากไข้ลด อาจเกิดอาการรุนแรงอื่น ๆ เช่นขับถ่ายเป็นสีดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อค และเสียชีวิตได้  ห้ามรักษาด้วยยาแอสไพริน และป้องกันด้วยการระมัดระวังไม่ให้ถูกยุงกัด โรคหัด เป็นโรคที่มีไข้ออกพร้อมผื่นตามร่างกาย มักพบในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นผลกระทบจากน้ำท่วม หากมีการแทรกซ้อนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ติดต่อผ่านการไอ จาม เชื้อจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการปรากฎหลังได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดสีขาวเล็ก ๆ ในกระพุ้งแก้ม  วิธี ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย โรคไข้มาลาเรีย เป็นโรคติดต่อโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค อาการหลังได้รับเชื้อ 7 – 10 วัน จะรู้สึกปวดศีรษะ โดยทั่วไปมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากหนาวสั่น และไข้สูงตลอดเวลา อาจมีอันตรายถึงชีวิต  วิธีป้องกันหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด ด้วยการทายาหรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ปิดมิดชิด

การป้องกันภัยน้ำท่วม

การจัดสรรและควบคุมทรัพยากรน้ำที่ดีจะช้วยลดปัญหาน้ำท่วมได้ อาจด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีอย่างการกักเก็บเอาไว้ในเขื่อนและฝาย พร้อมบริหารจัดการอย่างเหมาะสมในฤดูแล้ง และฤดูน้ำหลาก รวมทั้งนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในการใช้งานด้วย ซึ่งนอกจากช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดภัยพิบัติที่มากับน้ำได้อีกด้วย

การเตรียมตัวเมื่อเกิดน้ำท่วม

ก่อนน้ำท่วม:

  • รับข่าวสาร:
    • ติดตามรายงานสภาพอากาศและคำเตือนน้ำท่วม ให้ความสนใจกับการแจ้งเตือนจากหน่วยงานท้องถิ่นและบริการอุตุนิยมวิทยา
  • สร้างแผนฉุกเฉิน:
    • จัดทำแผนฉุกเฉินสำหรับครอบครัวซึ่งรวมถึงเส้นทางอพยพ การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน และจุดนัดพบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนในครอบครัวทราบเกี่ยวกับแผนนี้
  • เตรียมชุดฉุกเฉิน:
    • รวบรวมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินที่มีสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ อาหารแห้ง ยา เอกสารสำคัญ ไฟฉาย และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
  • ปกป้องสิ่งของมีค่า:
    • ยกระดับเครื่องใช้ไฟฟ้าและของมีค่าในบ้านของคุณ ย้ายเอกสารสำคัญและสิ่งของที่มีควรระวังไปยังพื้นที่ที่สูงขึ้น

ในช่วงน้ำท่วม:

  • อพยพหากได้รับคำแนะนำ:
    • หากเจ้าหน้าที่แนะนำให้อพยพ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทันที อย่ารอจนถึงนาทีสุดท้ายจึงออกเดินทาง
  • หาพื้นที่ที่สูงขึ้น:
    • ย้ายไปยังพื้นที่ที่สูงขึ้นหากคุณอยู่ในพื้นที่ราบต่ำ หลีกเลี่ยงชั้นใต้ดิน อุโมงค์ และทางลอด
  • ปิดเครื่องใช้ในบ้าน:
    • ปิดแก๊ส ไฟฟ้า และน้ำที่สวิตช์หลักหรือวาล์วก่อนอพยพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากไฟฟ้าและก๊าซรั่ว
  • ติดตามเส้นทางฉุกเฉิน:
    • ใช้เส้นทางอพยพที่แนะนำโดยหน่วยงานท้องถิ่น อย่าพยายามขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วม
  • รับข่าวสาร:
    • เก็บวิทยุหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไว้เพื่อรับทราบข้อมูลอัปเดตสภาพอากาศและคำแนะนำในกรณีฉุกเฉิน

หลังน้ำท่วม:

  • รอประกาศปลอดภัย:
    • อย่ากลับบ้านจนกว่าเจ้าหน้าที่จะประกาศว่าปลอดภัย 
    • เมื่อปลอดภัยแล้ว ให้ประเมินความเสียหายของทรัพย์สินของคุณ  
  • หลีกเลี่ยงน้ำที่ปนเปื้อน:
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำท่วมเนื่องจากสามารถปนเปื้อนได้ หากต้องลงน้ำให้สวมอุปกรณ์ป้องกัน
  • ไปพบแพทย์:
    • ไปพบแพทย์สำหรับการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย น้ำท่วมสามารถนำสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ:
    • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบ้านของคุณอย่างทั่วถึงเพื่อป้องกันเชื้อราและอันตรายอื่นๆ กำจัดสิ่งของที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างเหมาะสม
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพ:
    • ใส่ใจกับคำแนะนำด้านสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับน้ำดื่มและอาหารที่ปลอดภัย
โปรดจำไว้ว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงน้ำท่วม ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานท้องถิ่นและบริการฉุกเฉินเสมอ การเตรียมพร้อมและการตอบโต้อย่างสงบสามารถลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมได้อย่างมาก
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด