การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลคือการดูแลผู้ที่เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บกะทันหันในเบื้องต้น และรวมถึงการประคับประคองอาการ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ จนกว่ามือหน่วยช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง และบางครั้งก็เป็นการดูแลการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ เช่นน้ำร้อนลวกเล็กน้อย มีดบาด แมลงต่อย ฯลฯ

เมื่อพบเหตุฉุกเฉิน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีอะไรบ้าง

หากคุณพบเหตุการณ์ฉุกเฉิน ควรประเมิน 3 ข้อนี้ก่อน

1. ตรวจดูรอบๆว่าอาจมีอันตรายใดๆอีกหรือไม่

เช่น ยังมีไฟไหม้ หรืออาจเกิดไฟไหม้บริเวณนั้น ของที่จะหล่นลงมาจากที่สูง หรือผู้คนที่อาจเป็นอันตราย หากเห็นว่ามีความเสี่ยงเหล่านี้ ควรออกมาจากบริเวณนั้นและขอความช่วยเหลือ หากรอบด้านปลอดภัย ประเมินอาการของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ยกเว้นในกรณีที่อาจมีอันตราบ

2. ขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ หากจำเป็น

หากคุณคิดว่าผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต้องการความช่วยเหลือ ให้คนอื่นช่วยโทรศัพท์เรียก 1669 หรือหมายเลขฉุกเฉินทันที หากไม่มีใคร คุณต้องโทรเอง

3. ดูแลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ

หากคุณสามารถทำได้โดยปลอดภัย ให้อยู่กับผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง ปลอบโยน พยายามให้เขาสงบลง หากคุณสามารถปฐมพยาบาลได้ ให้ประเมินอาการ และทำในส่วนที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต เช่น การห้ามเลือด การช่วยหายใจ หากคุณคิดว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อตัวคุณ ให้รีบออกมา และโทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน 

การ CPR

CPR คือการช่วยหายใจหรือช่วยให้หัวใจเต้น เมื่อคุณเห็นคนเป็นลม หรือพบคนที่หมดสติ ควรทำ CPR แม้ว่าคุณจะไม่ได้ฝึกฝนมา แต่การทำ CPR แบบใช้มือ จะช่วยให้ผู้นั้นมีชีวิตจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง ก่อนทำ คุณควรประเมินว่าผู้นั้นยังรู้สึกตัว หรือไม่ หากหมดสติ ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก คลำชีพจรไม่พบ ให้ทำ CPR อย่างรวดเร็ว นี่คือการทำ CPR แบบใช้มือ
  1. ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบบนพื้นแข็ง คุณอยู่ข้างตัวในแนวต้นแขนของผู้ป่วย หันหน้าเข้าหาผู้ป่วย โน้มตัวเหนือผู้ป่วยวางมือสองข้างตรงกลางหน้าอกผู้ป่วย มือหนึ่งอยู่ข้างบน แขนตึง
  2. กดหน้าอก และผ่อนมือซ้ำๆ กดให้ลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว และนับ “หนึ่ง และสอง และสาม และสี่” ไปเรื่อยๆ กดหน้าอกในจังหวะนับตัวเลข และปล่อยในจังหวะ “และ” จะได้ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที
  3. การกด กดให้เร็ว และแรงพอ ในช่วง “และ” ผ่อนมือให้หน้าอกคืนตัวจนสุด
  4. ทำจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึงFirst Aid

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหัวแตก

แผลที่หัว และหน้ามักมีเลือดออกมากเพราะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก ยังไม่ต้องกังวลกับเลือด ให้สำรวจแผลก่อน ว่าลึกถึงกระโหลกศีรษะ หรือไม่ ถ้าใช่ ห้ามเลือดและไปโรงพยาบาล หรือโทร 1669 โดยด่วน สิ่งที่คุณจะทำได้ก่อน คือ
  • กดลงที่แผลเพื่อห้ามเลือด ถ้ามีถุงมือ ให้ใส่ถุงมือ
  • สำรวจดูว่า มีสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งสกปรกติดอยู่ในแผลหรือไม่ ถ้ามี ทำความสะอาดแผลก่อน
  • ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าอนามัยสะอาด กดที่แผลให้แน่น ราว 15 นาที หากเลือดซึมผ่านแผล ให้เปลี่ยนผ้าใหม่ แล้วกดต่อ
  • หากบาดแผลสาหัส ควรโทรขอความช่วยเหลือ หากไม่สาหัส เลือดมักจะหยุดได้เอง หรืออาจไหลซึม 
  • หากมีกระโหลกแตก ให้หาผ้าสะอาดปิดแผล อย่ากดบนกระโหลก และรีบขอความช่วยเหลือทันที
  • หากแผลบวม ประคบน้ำแข็งได้ โดยใช้ผ้าสะอาดห่อถุงน้ำแข็งก่อน
  • สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ช็อค หมดสติ หยุดหายใจ  ปวดศีรษะมาก อาเจียนพุ่ง หากมีอาการเหล่านี้ เรียกขอความช่วยเหลือทันที

ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม 

  • หากคุณเป็นลมเสียเอง  รู้สึกหน้ามืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะ ให้รีบนอนลง หรือนั่งพัก โน้มศีรษะลงมาระหว่างเข่า หายใจเข้าลึกๆเต็มปอด หากรู้สึกดีแล้ว ให้ค่อยๆลุกขึ้น
  • หากผู้อื่นเป็นลม ให้นอนหงายราบ  ยกขาสูงกว่าหัวใจราว 1 ฟุต ปลดเสื้อผ้าให้หลวม ให้อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ผ้าชับน้ำเช็ดหน้า หากเขาฟื้นให้นอนพักก่อน อย่าเพิ่งลุกเร็วเกินไป
  • สังเกตอาการอื่นๆ เช่น อาเจียน และการหายใจหรือหยุดหายใจ
  • หากผู้ป่วยล้ม และได้รับบาดเจ็บ ให้ทำแผลหรือห้ามเลือด
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรโทร 1669

การปฐมพยาบาลเมื่อเกิด Heat Stroke ลมแดด 

จากอากาศที่ร้อนจัด ร่างกายระบายความร้อนออกไม่ทัน หากรักษาไม่ทัน อาจตายได้ อาการคือ มีไข้ ปวดหัว หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ชัก เพ้อ เดินโซเซ สับสน หมดสติ การปฐมพยาบาลคือให้นอนราบ ยกขาสูงและใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายโดยเร็ว เรียกรถพยาบาลด่วน

ไฟใหม้ น้ำร้อนลวก 

  • ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดมากๆ หรือแช่อวัยวะนั้นในน้ำสะอาด ราว 10-15 นาที จนหายปวดแสบปวดร้อน ไม่ควรทายาหรือสิ่งอื่นใดบนแผล
  • ถ้ายังปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังถลอก หรือมีตุ่มน้ำใส หรือสีผิวเปลี่ยนไป ควรไปพบแพทย์

อุปกรณ์ปฐมพยาบาลฉุกเฉิน

ควรเตรียมชุดปฐมพยาบาลไว้ที่บ้าน รถ และที่ทำงาน ชุดปฐมพยาบาลหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งควรมี
  • ผ้าพันแผล
  • ผ้ายืดพันแผล
  • ผ้าก๊อซฆ่าเชื้อโรค
  • พลาสเตอร์
  • ยาทา เช่น ฆ่าเชื้อเช็ดแผล เช่น เบต้าดีน ยาฆ่าเชื้อชนิดครีม สเตียรอยด์ครีม คาลาไมด์โลชั่น 
  • พาราเซทตามอล
  • ถุงมือยาง กรรไกร แหนบ ปรอทวัดไข้ ถุงเจลร้อน/เย็น 
และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แพทย์ และโรงพยาบาล

จำไว้เสมอ:

  • ควรมีสติ:
    • ท่าทางที่สงบของคุณจะทำให้เด็กมั่นใจและช่วยให้คุณคิดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไร ให้โทรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • รู้หมายเลขฉุกเฉิน:
    • มีหมายเลขฉุกเฉิน รวมถึงการควบคุมพิษให้พร้อม
    • โทรเรียกบริการฉุกเฉินเมื่อได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือสถานการณ์ที่คุกคามถึงชีวิต
  • รับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น:
    • พิจารณาเข้าร่วมหลักสูตรการปฐมพยาบาลในเด็กและการทำ CPR เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ดียิ่งขึ้น
โปรดจำไว้ว่าข้อมูลที่ให้ไว้นี้เป็นคำแนะนำทั่วไป และควรขอคำแนะนำทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญในสถานการณ์เฉพาะ นอกจากนี้ ชุดปฐมพยาบาลส่วนบุคคลและแผนฉุกเฉินสำหรับเด็กอาจได้รับการปรับแต่งตามความต้องการเฉพาะของพวกเขา

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.verywellhealth.com/basic-first-aid-procedures-1298578
  • https://www.mayoclinic.org/first-aid
  • https://www.nhs.uk/conditions/first-aid/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด