การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) : สาเหตุ อาการ รักษา

การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือตั้งท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ การที่ไข่ปฏิสนธิไม่ยึดติดกับมดลูก แต่อาจติดกับท่อนำไข่ช่องท้องหรือปากมดลูกแทน โดยปกติตั้งแต่การปฏิสนธิไปจนถึงการคลอดบุตรการตั้งครรภ์ ต้องใช้หลายขั้นตอนในร่างกายของผู้หญิง และหนึ่งในขั้นตอนเหล่านี้คือเมื่อไข่ที่ปฏิสนธิเดินทางไปฝังตัวยังมดลูก  การท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นไม่บ่อย อาจพบในผู้หญิงร้อยละ 1 การที่ท่อรังไข่อุดตันอาจเกิดจากการติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดการท้องนอกมดลูก หากคุณกำลังวางแผนจะมีลูกแต่กำลังเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางออกที่ดีที่สุดคือ รักษาตัวให้หายดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยพยายามมีลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกหากไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็นความผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินทางการแพทย์ การได้รับการรักษาอย่างทันทีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ทั้งยังเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่ดีในอนาคต การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

สาเหตุการท้องนอกมดลูก

สาเหตุท้องนอกมดลูกยังไม่พบสิ่งที่ก่อให้เกิดอย่างแน่ชัด แต่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้:
  • การอักเสบ และรอยแผลเป็นของท่อนำไข่จากการติดเชื้อหรือการได้รับการผ่าตัดก่อนหน้า
  • ปัจจัยด้านฮอร์โมน
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • ข้อบกพร่องของการปฏิสนธิ
  • โครงสร้าง รูปร่างและสภาพของท่อนำไข่และอวัยวะสืบพันธุ์

ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูก

เพศหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคนมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยปัจจัยที่จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้แก่
  • เพศหญิง อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผ่านการผ่าตัด กระดูกเชิงกราน ผ่าตัดช่องท้องหรือทำแท้ง
  • เคยเป็นผู้ป่วยโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)
  • เคยเป็นผู้ป่วยเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
  • มีการใช้ยา หรือขั้นตอนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์
  • สูบบุหรี่
  • เคยตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • เคยเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หรือหนองในเทียม(chlamydia)
  • โครงสร้างในท่อนำไข่มีความผิดปกติ ซึ่งทำให้ยากต่อการเดินทางของไข่
หากมีปัจจัยเสี่ยงตามข้างต้น สามารถพบแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ที่ดีได้

อาการท้องนอกมดลูก

อาการของคนท้องนอกมดลูก ได้แก่ อาการคลื่นไส้ และเจ็บเต้านมเป็นอาการที่พบบ่อยในการตั้งครรภ์นอกมดลูก รวมถึงอาการดังต่อไปนี้  :
  • ปวดในช่องท้องกระดูกเชิงกราน ไหล่หรือคอ
  • ปวดด้านหนึ่งของช่องท้องอย่างรุนแรง
  • มีเลือดออกจากช่องคลอด
  • เวียนศีรษะ(dizziness) หรือเป็นลม
  • มีแรงดันที่ไส้ตรงใกล้กับทวารหนัก
หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อได้รับวิธีรักษาท้องนอกมดลูกอย่างถูกต้องและทันเวลา

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก

หากสังสัยว่าอาจตั้งครรภ์นอกมดลูกให้ไปพบแพทย์ทันที การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถจะวินิจฉัยได้โดยตรง แพทย์จะใช้วิธีการตรวจสอบเหล่านี้ในตรวจหาความผิดปกติ อัลตร้าซาวด์ภายในมดลูก โดยสอดอุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้แพทย์ของคุณสามารถตรวจสอบว่าการตั้งครรภ์อยู่ในบริเวณใดของมดลูก แพทย์อาจจะตรวจเลือด เพื่อหาระดับเอชซีจีและฮอร์โมนของผู้ตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หากระดับฮอร์โมนเหล่านี้เริ่มลดลงหรือคงสภาพเดิมในช่วงเวลา 2-3 และหากไม่พบตั้งครรภ์ ในอุลตร้าซาวด์ ก็เป็นไปได้ว่าตั้งครรภ์นอกมดลูก หากมีอาการรุนแรงร่วมด้วย เช่น อาการปวดท้อง(stomach pain) อย่างหนัก หรือมีเลือดออก จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันที่ ไม่ต้องผ่านการทดสอบใดๆ เนื่องจากท่อนำไข่อาจแตกและทำให้เกิดเลือดออกภายในอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน

การป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การป้องกันตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถทำได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงผ่านการรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่นให้คู่นอนสวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งอาจทำให้เกิด PID นำมาสู่การอักเสบในท่อนำไข่ การรักษาและป้องกันความเสี่ยงบางประการสามารถทำโดยการพบสูตินารีแพทย์ และการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และรวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด