โรคหลงผิด (Delusions and Delusional Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหลงผิด (Delusional Disorder) เดิมถูกเรียกว่าโรคหวาดระแวง เป็นอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่งภาวะจิตเภช ผู้ป่วยจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการได้

การเห็นภาพลวงตาคืออาการหลักของโรคหลงผิด พวกเขามีความเชื่อในบางสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงหรือไม่อยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นจริง แต่อาจมีความจริงปะปนอยู่บ้างบางส่วน โรคหลงผิดมักเกี่ยวข้องกับการหลงผิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันเช่นการถูกติดตาม วางยา หลอกลวง ผู้สมรู้ร่วมคิดหรือคนรักที่มองไม่เห็น อาการหลงผิดเหล่านี้มักสัมพันธ์กับเรื่องราวที่เคยรรับรู้หรือประสบการณ์ที่เคยผิดพลาด แต่ในความเป็นจริงมักเป็นสถานการณ์ที่ไม่เป็นความจริงหรือเกินจริงไปมาก

นอกจากนี้ยังรวมถึงอาการหลงผิดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิตจริง อย่างการถูกมนุษย์ต่างดาวโคลนนิ่ง หรือความคิดของคุณถูกนำไปออกอากาศทางทีวี คนที่มีความคิดลักษณะนี้อาจถูกมองว่าเป็นคนเพ้อเจ้อและเห็นภาพลวงตาแบบแปลก ๆ

ผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิดมักเข้าสังคมและทำงานได้ตามปกติ นอกเหนือจากอาการหลงผิดแล้วพวกเขาก็มักทำตัวเหมือนคนปกติทั่วไป หรือไม่ดูแปลกแยกแต่อย่างใด แตกต่างจากโรคทางจิตเภชอื่น ๆ แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาการหลงผิดอาจหมกมุ่นกับความหลงผิดจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

แม้ว่าอาการหลงผิดจะอาการหนึ่งของโรคจิตที่พบได้บ่อย แต่การหลงผิดจนประสาทหลอนนั้นค่อนข้างพบได้ยาก โรคหลงผิดส่วนใหญ่มักในช่วงวัยกลางคนถึงสูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

Delusions and Delusional Disorder

สาเหตุของโรคหลงผิด

เช่นเดียวกับอาการผิดปกติทางจิตอื่น ๆ อีกมากที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่นักวิจัยก็พิจารณาถึงบทบาทของปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม หรือจิตวิทยาเพื่อหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น

พันธุกรรม : มีข้อเท็จจริงหากสมาชิกในครอบครัวมีความผิดปกติเป็นโรคหลงผิดหรือโรคทางจิตเภท มักมีโอกาสถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปยังบุตรหลานได้ เป็นข้อสันนิษฐานเช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ พบว่ามีแนวโน้มที่จะความผิดปกติทางประสาทหลอนจะถูกส่งต่อจากพ่อแม่ไปยังลูก ๆ

ลักษณะทางชีวภาพ: นักวิจัยกำลังศึกษาว่าความผิดปกติของประสาทหลอนอาจเกิดขึ้นเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งในสมองผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณสมองที่ควบคุมการรับรู้และการคิดหากผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้

สิ่งแวดล้อม / จิตเภท: มีหลักฐานที่แสดงว่าความเครียดอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางประสาทจนเห็นภาพหลอนได้ แอลกอฮอล์และยาเสพติดก็มีส่วนด้วย ผู้ที่ชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยว เช่น ผู้อพยพ หรือผู้ที่มีปัญหาในการมองเห็นและการได้ยินมักมีความผิดปกติทางโรคหลงผิดได้

การวินิจฉัยอาการของโรคหลงผิด

หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติของโรคหลงผิด แพทย์อาจตรวจสอบประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกายเพิ่มเติม แม้ว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของประสาทหลอนโดยเฉพาะยังไม่มี แต่แพทย์อาจใช้การตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ อย่างวิเคราะห์ภาพถ่ายทางกายภาพ หรือการตรวจเลือด เพื่อแยกระหว่างอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย กับอาการทางประสาท ซึ่งรวมถึง:

หากแพทย์ไม่พบความผิดปกติทางกายภาพ แพทย์จึงพิจารณาส่งผู้ป่วยให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาวินิจฉัยและทำการรักษาอาการทางจิตต่อไป พวกเขามักใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินอาการทางจิตเภท

การวินิจฉัยอาการทางจิตเภทประกอบจาก :

  • ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดอย่างน้อย 1 ประเภทเป็นเวลา 1 เดือนหรือนานกว่านั้น

  • ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเภท หากเห็นภาพหลอนแสดงว่าเกี่ยวข้องกับโรคหลงผิด

  • นอกเหนือจากอาการหลงผิดและผลจากโรคแล้ว ชีวิตของผู้ป่วยก็ไม่มีผลกระทบอื่น ๆ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ

  • อาจมีอาการคลุ้มคลั่งหรือซึมเศร้าเป็นช่วงสั้น ๆ ในขณะที่มีอาการหลงผิด

อาการของโรคหลงผิด

ประเภทของโรคหลงผิดมีดังต่อไปนี้:

Erotomanic : ผู้ป่วยเชื่อว่ามีคนหลงรักพวกเขาและอาจพยายามติดต่อกับบุคคลนั้น มักเป็นคนที่มีความสำคัญหรือมีชื่อเสียง อาจนำไปสู่พฤติกรรมสะกดรอย

Grandiose : ผู้ป่วยจะรับรู้ถึงคุณค่า อำนาจ ความรอบรู้หรือตัวตนที่สูงเกินจริง ผู้ป่วยจะเชื่อว่าตนเองมีพรสวรรค์ที่ยอดเยี่ยม หรือค้นพบสิ่งสำคัญ

Jealous: ผู้ป่วยจะหวาดระแวงว่าคู่สมรสหรือคู่นอนของตนนอกใจ

Persecutory: ผู้ป่วยเชื่อว่ามีคนอื่น (หรือคนใกล้ชิด) กำลังคิดร้ายหรือกำลังแอบติดตามผู้ป่วย หรือวางแผนจะทำร้ายผู้ป่วยอยู่ จนทำการร้องเรียนกับหน่วยงานทางกฎหมายบ่อย ๆ

Somatic: ผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองมีความบกพร่องทางร่างกาย หรือมีอาการป่วยบางอย่างอยู่

Mixed: คือผู้ป่วยที่มีอาการตามที่กล่าวมามากกว่า 2 ประเภทขึ้นไป

นอกจากนี้อาการหลงผิดยังรวมถึง:

  • อาการหลงผิดโดยไม่ทำตัวแปลกแยก – เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด

  • หงุดหงิดง่าย โกรธ หรืออารมณ์เสีย

  • ภาพหลอน (เห็น ได้ยิน หรือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง) ที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิดของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เชื่อว่าตนเองมีปัญหาเรื่องกลิ่นอาจได้กลิ่นเหม็น

การรักษาโรคหลงผิด

การรักษาส่วนมากจะเป็นการรักษาด้วยยาและจิตบำบัด (การให้คำปรึกษาประเภทหนึ่ง) โรคหลงผิดรักษาได้ยาก สาเหตุหนึ่งมาจากผู้ป่วยมักไม่เข้าใจในแนวทางการรักษา หรือไม่สามารถรับรู้ได้ว่าตนเองมีปัญหาทางจิตเวช จากการศึกษาพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยามีอาการดีขึ้นค่อนข้างน้อย

การรักษาด้วยยา

ยาหลัก ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคหลงผิดเรียกว่ายารักษาโรคจิต ได้แก่ :

ยารักษาโรคจิตชนิดดั้งเดิม: หรือเรียกว่า Neuroleptics  ใช้ในการรักษาความผิดปกติทางจิตมาตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1950 การทำงานจะปิดกั้นตัวรับ Dopamine ในสมอง Dopamine คือสารสื่อประสาทที่เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของโรคหลงผิด ได้แก่ :

  • Chlorpromazine (Thorazine)

  • Fluphenazine (Prolixin)

  • Haloperidol (Haldol)

  • Loxapine (Oxilapine)

  • Perphenazine (Trilafon)

  • Thioridazine (Mellaril)

  • Thiothixene (Navane)

  • Trifluoperazine (Stelazine)

ยาต้านอาการทางจิตรุ่นที่ 2: ยาชนิดใหม่ที่ช่วยรักษาอาการของโรคประสาทหลอน แต่มีผลข้างเคียงต่อการเคลื่อนไหวน้อยกว่ายารักษาโรคจิตทั่วไป การทำงานคือปิดกั้นตัวรับ Dopamine และ Serotonin ในสมอง Serotonin เป็นสารสื่อประสาทอีกชนิดหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของโรคหลงผิด ได้แก่ :

  • Aripiprazole (Abilify)

  • Aripiprazole Lauroxil (Aristada)

  • Asenapine (Saphris)

  • Brexpiprazole (Rexulti)

  • Cariprazine (Vraylar)

  • Clozapine (Clozaril)

  • Iloperidone (Fanapt)

  • Lurasidone (Latuda)

  • Paliperidone (Invega Sustenna)

  • Paliperidone Palmitate (Invega Trinza)

  • Quetiapine (Seroquel), Risperidone (Risperdal), Olanzapine (Zyprexa)

  • Ziprasidone (Geodon)

ยาระงับประสาทอื่น ๆ : ยาระงับประสาทและยาซึมเศร้าอาจใช้เพื่อรักษาอาการวิตกกังวลหรือปรับอารมณ์ผิดปกติที่มาจากโรคหลงผิด อาจใช้ยาระงับความรู้สึกหากผู้ป่วยมีความวิตกกังวลในระดับสูงหรือมีปัญหาในการนอนหลับ  ยาแก้ซึมเศร้ายังใช้เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าที่เกิดในผู้ป่วยโรคหลงผิด

การรักษาด้วยการบำบัดทางจิต

จิตบำบัดใช้รักษาร่วมกับยาเพื่อช่วยให้ผู้คนจัดการและรับมือกับความเครียดที่เกิดจากโรคหลงผิดได้ และลดผลกระทบต่อชีวิตที่มาจากโรคให้น้อยลง วิธีการบำบัดทางจิต มีดังนี้

จิตบำบัดรายบุคคล: จิตบำบัดส่วนบุคคลสามารถช่วยให้บุคคลเกิดการรับรู้ และแก้ไขความคิดที่ผิดปกติได้

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT): การบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจรับรู้ และปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกแย่ได้

การบำบัดด้วยครอบครัว: เป็นการรักษาที่ให้ครอบครัวดูแลผู้ป่วยโรคหลงผิด เป็นการรักษาด้วยความรัก

ผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะคงที่

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลงผิด

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทหลอนจนเกิดอาการซึมเศร้ามักเป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคหลงผิด

  • การกระทำจากโรคหลงผิดอาจนำไปสู่ปัญหาความรุนแรงหรือการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ ตัวอย่างเช่นบุคคลที่มีความเข้าใจผิดเรื่องความชื่นชอบอาจสะกดรอยตามหรือก่อกวนเป้าหมายจนถูกจับกุมได้

  • ผู้ป่วยมักมีอาการแปลกแยกจากผู้อื่น เมื่ออาการหลงผิดรบกวนหรือทำลายความสัมพันธ์ของผู้ป่วย

การใช้ชีวิตกับผู้ป่วยโรคหลงผิด

การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิดอาจเป็นเรื่องท้าทาย ทั้งสำหรับคนที่มีอาการหลงผิดและสำหรับคนที่พวกเขารัก อาการหลงผิดเป็นความเชื่อที่ผิดๆ ที่ถูกยึดถืออย่างแข็งขันแม้ว่าจะมีหลักฐานที่ตรงกันข้ามก็ตาม ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์บางประการในการรับมือและให้การสนับสนุน:
  • ให้ความรู้แก่ตัวเอง: เรียนรู้เกี่ยวกับโรคประสาทหลอนและอาการหลงผิดเฉพาะที่คนที่คุณรักกำลังประสบอยู่ การทำความเข้าใจกับอาการนี้สามารถช่วยให้คุณมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้ดีขึ้น
  • รักษาการสื่อสารที่เปิดกว้าง: พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่คนที่คุณรักรู้สึกสบายใจที่จะพูดถึงความคิดและความเชื่อของพวกเขา เป็นผู้ฟังที่ดีและหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือพยายามโน้มน้าวพวกเขาว่าความเชื่อของพวกเขาเป็นเท็จ เพราะการทำเช่นนี้มักจะทำให้สถานการณ์แย่ลงได้
  • ให้การสนับสนุนทางอารมณ์: ผู้ป่วยโรคหลงผิดอาจจะปลีกตัวออกห่างจากสังคม ดังนั้นให้แน่ใจว่าคนที่คุณรักรู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างพวกเขา ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ ความมั่นใจ และความเห็นอกเห็นใจโดยไม่มีการตัดสิน ให้พวกเขารู้ว่าคุณห่วงใยความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา
  • ส่งเสริมการรักษา: ส่งเสริมให้คนที่คุณรักขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ โรคประสาทหลอนมักต้องได้รับการรักษา เช่น การบำบัดหรือการใช้ยา เสนอตัวเพื่อช่วยให้พวกเขาค้นหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและพาพวกเขาไปนัดหมายหากจำเป็น
  • เคารพขอบเขต: แม้ว่าการสนับสนุนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องเคารพขอบเขตของคนที่คุณรักด้วย อย่ากดดันพวกเขาเพื่อหารือเกี่ยวกับอาการหลงผิดหากพวกเขาไม่สบายใจ และหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามที่รุกราน
  • รักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย: ตรวจสอบความปลอดภัยของคนที่คุณรักและคนรอบข้าง หากอาการหลงผิดก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อตนเองหรือผู้อื่น ให้พิจารณาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมีส่วนร่วมหรือขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หากจำเป็น
  • ส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี: ส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ อาหารที่สมดุล และการนอนหลับที่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวมและอาจสนับสนุนสุขภาพจิตได้
  • แสวงหาการสนับสนุนสำหรับตัวคุณเอง: การดูแลคนที่มีโรคหลงผิดอาจทำให้อารมณ์เสียได้ ลองขอความช่วยเหลือสำหรับตัวคุณเอง ไม่ว่าจะผ่านการบำบัด กลุ่มสนับสนุน หรือการพูดคุยกับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวที่เข้าใจสถานการณ์ของคุณ
  • จงอดทน: การจัดการกับอาการหลงผิดอาจทำให้หงุดหงิด แต่ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ จำไว้ว่าคนที่คุณรักกำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต และความเชื่อของพวกเขาอาจจะฝังแน่นอยู่ลึกๆ การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลา
  • ติดตามการใช้ยา: หากคนที่คุณรักได้รับยาตามใบสั่งแพทย์ ช่วยให้พวกเขาปฏิบัติตามแผนการรักษา กระตุ้นให้พวกเขาใช้ยาตามที่กำหนดและสื่อสารกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือข้อกังวลใด ๆ
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าโรคหลงผิดเป็นภาวะสุขภาพจิตที่ร้ายแรง และโดยปกติแล้วจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ คุณไม่สามารถ “แก้ไข” อาการหลงผิดได้ด้วยตัวเอง แต่คุณสามารถให้การสนับสนุนและกำลังใจที่จำเป็นแก่คนที่คุณรักในการแสวงหาและเข้ารับการรักษาได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9599-delusional-disorder

  • https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539855/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด