คึ่นฉ่าย (Celery) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

ผักคึ่นฉ่าย  

ผักคึ่นฉ่าย มี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ คึ่นฉ่ายฝรั่ง ต้นอวบใหญ่ สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ คึ่นฉ่ายจีน ต้นเล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบสีเขียวถึงเขียวแก่ คึ่นฉ่ายเป็นผักสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน ลำต้นกลวงกลม นิยมใช้ในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมให้น้ำซุป คึ่นฉ่ายนำมาประกอบอาหารหลากหลาย เช่น ปลาผัดคึ่นฉ่าย,คึ่นฉ่ายยำวุ้นเส้น, ผัดเต้าหู้คึ่นฉ่าย, กระเพาะหมูผัดคึ่นฉ่าย ,กินสด หรือใช้โรยหน้าอาหารและใส่ในยำต่างๆ ก็ได้ และคั้นเป็นน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพได้ด้วย นอกจากนี้น้ำมันคึ่นฉ่าย สามารถนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ยาทาผิว ครีม และสบู่ คุณค่าทางโภชนาการของคึ่นฉ่าย ส่วนเหนือดิน (100 กรัม)
  • พลังงาน 67 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
  • น้ำตาล 1.4 กรัม
  • เส้นใย 1.6 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 0.7 กรัม
  • น้ำ 95 กรัม
  • วิตามิน
    • เอ 22 ไมโครกรัม
    • บี 1 0.021 มิลลิกรัม บี 2 0.057 มิลลิกรัม บี 3 0.323 มิลลิกรัม บี 6 0.074 มิลลิกรัม และบี 9 36 ไมโครกรัม
    • ซี 3 มิลลิกรัม
    • อี 0.27 มิลลิกรัม
    • เค 29.3 ไมโครกรัม
  • แคลเซียม 40 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม                                                               
  • โซเดียม 80 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ประโยชน์ และสรรพคุณคึ่นฉ่าย

1. มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก

สารต้านอนุมูลอิสระป้องกันเซลล์ หลอดเลือด และอวัยวะจากความเสียหายที่เกิดจากการออกซิเดชั่น คึ่นฉ่ายมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และฟลาโวนอยด์ มีสารต้านอนุมูลอิสระอีกอย่างน้อย 12 ชนิด และยังมีสารสกัดจากพืชที่ช่วยลดการอักเสบในทางเดินอาหาร เซลล์ เส้นเลือด และอวัยวะต่างๆ

2. ลดการอักเสบ

การอักเสบเรื้อรังเกี่ยวข้องกับโรคหลายชนิด รวมทั้งข้ออักเสบและกระดูกผุ คึ่นฉ่าย และเมล็ดคึ่นฉ่ายมีสารต้านการอักเสบถึง 25 ชนิดที่ป้องกันการอักเสบในร่างกาย

3. ช่วยย่อยอาหาร 

ฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบช่วยป้องกันระบบทางเดินอาหารทั้งหมด และคึ่นฉ่ายอาจมีผลดีต่อกระเพาะอาหารอีกด้วย จากการศึกษาในสัตว์ Pectin-based polysaccharide  และสาร Apiuman ในคึ่นฉ่าย ช่วยลดสารที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ เพิ่มชั้นเยื่อบุกระเพาะอาหาร และควบคุมการหลั่งน้ำย่อย ในคึ่นฉ่ายยังมีน้ำมากเกือบ 95% และเส้นใยอาหารทั้งชนิดละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำ ทั้งหมดนี้ช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารเป็นไปได้ดี ก้านคึ่นฉ่าย 1 ถ้วยมีใยอาหาร 5กรัม

4. มีวิตามินและเกลือแร่มาก และดัชนีน้ำตาลต่ำ

คึ่นฉ่ายมีวิตามิน A  K C และมีเกลือแร่ เช่น โพแทสเซียม และโฟเลต โซเดียมต่ำ และดัชนีน้ำตาลต่ำด้วย หมายความว่า คึ่นฉ่ายทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มอย่างช้าๆ

5.คึ่นฉ่ายมีฤทธิ์เป็นด่าง

คึ่นฉ่ายมีแมกนีเซียม เหล็ก และโซเดียม จึงช่วยลดความเป็นกรดในอาหาร และเกลือแร่เหล่านี้ยังจำเป็นในการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย

6.คึ่นฉ่ายลดความดัน

คึ่นฉ่ายมีโพแทสเซียมปริมาณมากจึงสามารถช่วยให้ความดันโลหิตสูงปรับลดลงอยู่ในค่าปกติได้

เคล็ดลับการซื้อและเก็บคึ่นฉ่าย

  • เลือกก้านแข็งแรง และตรง  ดึงออกจากต้นง่าย ไม่เหนียว
  • ใบสด กรอบ สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม ไม่ควรซื้อที่มีใบสีเหลืองหรือน้ำตาล
  • ควรใช้ภายใน 5-7 วันหลังจากที่ซื้อมา เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหาร และรสชาติที่ดีที่สุด
  • ใบมีแคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามิน C มากที่สุด แต่ควรรับประทานภายใน 1-2 วันหลังจากซื้อมา

การใช้เป็นสมุนไพร

ลดความดัน : ต้นสด 1 กำมือ คั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะรับประทาน หรือต้นสด 1-2 กำตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ กรองกากออก รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ขับปัสสาวะ:  ต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ผัด หรือใส่ในสลัด แก้อาการปวดประจำเดือนในผู้หญิง : คึ่นฉ่ายสด 1 ขีด / รากบัวสด 1 ขีด / ขิงสด 1 ขีด / พุทราแดงจีนแบบแห้ง 1/2 ขีด ต้มรวมกันใส่น้ำพอท่วมยามากหน่อย ต้มจนเดือดแล้วนำมาดื่มก่อน หรือขณะมีประจำเดือน หากปวดประจำเดือน ให้ดื่มบ่อย ๆ หรือจิบเรื่อย ๆ แบบน้ำชา จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ รักษาโรครูมาติกและโรคเกาต์: คึ่นฉ่ายประมาณ 3-4 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. การใช้คึ่นฉ่ายเพื่อเป็นสมุนไพร ควรใช้ตามขนาดที่ระบุไว้ในตำรับยา ไม่ควรใช้มากหรือใช้ติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
  2. หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานคึ่นฉ่ายในปริมาณมากทุกรูปแบบ เพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกหดตัว และเสี่ยงต่อภาวะแท้ง
  3. การรับประทานคึ่นฉ่ายอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกง่ายขึ้น และอาจทำให้ความดันเลือดลดต่ำลง ดังนั้นผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติและผู้ที่มีความดันต่ำจึงควรระมัดระวังในการรับประทาน
  4. ยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับคึ่นฉ่าย เช่น ยาเลโวไทรอกซีน ยาลิเทียม ยาระงับประสาท หรือยาที่ออกฤทธิ์ให้เกิดอาการง่วงซึม รวมถึงผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทานคึ่นฉ่ายเพื่อเป็นยารักษาโรค
  5. ผู้ที่แพ้พืชในวงศ์ UMBELLIFERAE ควรหลีกเลี่ยงในการรับประทานคึ่นฉ่ายทุกรูปแบบ

วิธีทำน้ำคึ่นฉ่าย

คำแนะนำ:

  • เลือกคื่นฉ่ายสด:
    • เลือกก้านคื่นฉ่ายสดกรอบ หากเป็นไปได้ เลือกใช้คึ่นฉ่ายออร์แกนิกเพื่อลดการสัมผัสยาฆ่าแมลง
  • ล้างให้สะอาด:
    • ล้างก้านคื่นฉ่ายใต้น้ำเย็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือเศษต่างๆ หากต้องการ คุณสามารถใช้แปรงล้างผักขัดก้านเบาๆ ได้
  • ตัดแต่งและสับ:
    • ตัดปลายรากและส่วนที่เปลี่ยนสีหรือเสียหายของคึ่นฉ่ายออก ตัดก้านคื่นฉ่ายเป็นชิ้นเล็กๆ ที่จะใส่ลงในเครื่องคั้นน้ำผลไม้ได้ง่าย
  • คั้นน้ำ:
    • ใช้คั้นน้ำผลไม้เพื่อแยกน้ำออกจากคื่นฉ่าย หากคุณไม่มีเครื่องคั้นน้ำผลไม้ คุณสามารถใช้เครื่องปั่นและกรองส่วนผสมในภายหลังได้ วางชิ้นคื่นฉ่ายลงในเครื่องคั้นน้ำผลไม้ และเก็บน้ำไว้ในชามหรือเหยือก
  • การปั่น:
    • หากคุณใช้เครื่องปั่น ให้กรองน้ำคื่นฉ่ายโดยใช้ตะแกรงตาข่ายละเอียดหรือผ้าขาวบางเพื่อเอาเนื้อออก ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือก เนื่องจากบางคนชอบไฟเบอร์ที่เติมเข้าไป
  • เสิร์ฟทันที:
    • น้ำคื่นฉ่ายจะดีที่สุดเมื่อบริโภคทันทีเพื่อรักษาความสดและคุณค่าทางโภชนาการ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็น คุณสามารถเก็บไว้ในภาชนะสุญญากาศและเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 24 ชั่วโมง
  • ตัวเลือกเพิ่มเติม (ไม่บังคับ):
    • บางคนชอบเพิ่มรสชาติของน้ำคื่นฉ่ายโดยเติมน้ำมะนาวหรือขิงสดชิ้นเล็กๆ ทดลองใช้สิ่งเพิ่มเติมเหล่านี้เพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะกับรสนิยมของคุณ

เคล็ดลับ:

  • ใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้ที่มีคุณภาพเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เครื่องคั้นน้ำแบบแรงเหวี่ยงและเครื่องคั้นน้ำแบบเคี้ยวทำงานได้ดีกับคื่นฉ่าย
  • ทดลองกับอัตราส่วนของคึ่นฉ่ายกับส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับรสนิยมของคุณ
  • ลองเริ่มด้วยน้ำคื่นฉ่ายในปริมาณเล็กน้อยหากคุณเพิ่งเริ่มใช้ เพราะมันอาจมีรสชาติเข้มข้นสำหรับบางคน
โปรดจำไว้ว่าแม้ว่าน้ำคื่นฉ่ายอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่คุณจำเป็นต้องรวมผักและผลไม้หลากหลายชนิดไว้ในอาหารของคุณเพื่อให้ได้รับสารอาหารโดยรวม หากคุณมีข้อกังวลเรื่องสุขภาพหรือกำลังใช้ยา ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนทำการเปลี่ยนแปลงอาหารที่สำคัญ นี่คือแหล่งที่มาในแหล่งบทความของเรา
    • https://www.webmd.com/diet/health-benefits-celery
    • https://www.medicalnewstoday.com/articles/270678
    • https://www.medicinenet.com/what_are_the_benefits_of_eating_celery/article.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด