การนอนกัดฟันมักเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ คุณอาจกัดฟัน หรือขบกรามระหว่างวัน หรือที่รู้จักกันว่าการกัดฟันกลางวัน
หากคุณกัดฟัน มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำเพื่อที่จะหยุดการกัดฟันได้ การรักษานั้นอาจได้ผลต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่กัดฟัน และอาการ
ทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีเหล่านี้:
1. ฟันยาง และเฝือก
ฟันยางอาจช่วยได้ในผู้ที่มีปัญหานอนกัดฟัน ฟันยางจะช่วยไม่ให้ฟันกระทบกันในขณะที่คุณหลับ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป หรือสามารถไปทำได้กับทันตแพทย์ หากคุณมีปัญหานอนกัดฟันเรื้อรัง ฟันยางอาจช่วยป้องกันฟันไม่ให้เสียหายได้ อาจช่วยลดการกระทบกันของขากรรไกร ฟันยางที่ทำโดยทันตแพทย์จะมีราคาแพงกว่าฟันยางที่ซื้อจกร้านขายยา ฟันยางที่ทำโดยทันตแพทย์นั้นมีความหนาบางหลายขนาด ซึ่งจะพอดีกับรูปร่างของขากรรไกรของผู้ป่วย และใส่สบายกว่าฟันยางที่ซื้อเอง ฟันยางที่มีขายอยู่ตามร้านขายยาทำจากพลาสติก ในบางคน ฟันยางเหล่านี้ใส่ไม่สบายเท่าฟันยางที่ทำโดยทันตแพทย์ เมื่อคุณต้องซื้อฟันยางตามร้านขายยา ให้เลือกอันที่ทำจากพลาสติกชนิดอ่อน ฟันยางที่ซื้อเองอาจใช้ไม่ได้ผลกับอาการกัดฟันที่รุนแรง แต่ราคาที่ถูก อาจทำให้คนซื้อเพื่อที่จะช่วยรักษาอาการกัดฟันแบบไม่รุนแรง สุขภาพฟันกับรอยยิ้มสำคัญอย่างไร อ่านต่อที่นี่2. Reductive coronoplasty
Reductive coronoplasty คือ การปรับเปลี่ยนรูปร่างของฟัน หรือระดับผิวฟันที่ใช้กัด หากคุณกัดฟันเพราะคุณครอบฟัน ฟันไม่เท่ากัน ฟันร้าว ในบางตัวอย่าง การทำ additive coronoplasty อาจช่วยเติมฟัน ซึ่งทันตแพทย์สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง3. โบท็อกซ์
การวิเคราะห์อภิมานในการศึกษา 4 ชิ้นพบว่าการฉีดโบท็อกซ์อาจช่วยลดความเจ็บปวด และความถี่ของการกัดฟันในผู้ป่วยที่สุขภาพดี อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อยืนยันความปลอดภัย และประสิทธิภาพของการใช้โบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการนอนกัดฟัน ควรพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์ และความเสี่ยงกับแพทย์ก่อนที่จะฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาการนอนกัดฟัน จากกระบวนการนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ปริมาณน้อย ๆ เข้ากล้ามเนื้อแมสซีเตอร์ กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้เป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้กรามเคลื่อนที่ได้ โบท็อกซ์ไม่ช่วยทำให้การนอนกัดฟันหายไป แต่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การทำแบบนี้อาจช่วยลดการนอนกัดฟัน และอาการปวดหัวที่เกี่ยวข้อง อาจจำเป็นต้องฉีดซ้ำ ๆ ผลที่ได้อาจอยู่นานราว 3-4 เดือน4. การรักษาด้วยวิธี Biofeedback
การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นเทคนิคที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยระวัง และขจัดพฤติกรรมกัดฟัน ซึ่งใช้บรรเทาได้ทั้งอาการกัดฟันกลางวัน และตอนนอน ในระหว่างที่ทำ Biofeedback ผู้ที่ทำการบำบัดจะสอนให้คุณควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกรามผ่านการมอง การสั่น หรือเสียงที่สร้างจากเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) อะไรคือสาเหตุของอาการเสียวฟัน อ่านต่อที่นี่5. เทคนิคการลดความเครียด
ผู้ที่มีปัญหาการกัดฟันอาจมีความเชื่อมโยงกับปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความซึมเศร้า และความวิตกกังวล แต่ยังต้องทำการวิจัยมากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการกัดฟัน และสาเหตุเหล่านี้ หากคุณนอนกัดฟัน เทคนิคการลดความเครียดอาจช่วยได้ในบางกรณี การลดความเครียดยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของคุณอีกด้วย คลายเครียดง่าย ๆ ภายในเวลาไม่กี่นาทีทำได้อย่างไร อ่านต่อที่นี่6. การออกกำลังกายลิ้น และขากรรไกร
การออกกำลังกายลิ้น และขากรรไกรสามารถช่วยผ่อนคลายขากรรไกร และกลา้มเนื้อหน้าได้ ช่วยให้ขากรรไกรเคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม คุณสามารถลองทำวิธีนี้ได้เองที่บ้าน หรือกับนักกายภาพบำบัด ลองทำการออกกำลังกายเหล่านี้:- อ้าปากให้กว้างในขณะที่ลิ้นแตะกับฟันหน้า จะช่วยผ่อนคลายขากรรไกร
- การออกเสียงตัว “N” จะช่วยให้ฟันไม่กระทบกัน และช่วยหลีกเลี่ยงการขบฟัน
การป้องกัน
- การปฏิบัติตามสุขอนามัยช่องปากที่ดีและเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำสามารถช่วยตรวจพบการนอนกัดฟันตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
- การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และยาสูบมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้เวลานอน อาจช่วยลดความเสี่ยงของการนอนกัดฟันเป็นช่วงๆ ได้
- เทคนิคการจัดการความเครียดและการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายสามารถช่วยลดสิ่งกระตุ้นทางจิตของการนอนกัดฟันและส่งเสริมความเป็นอยู่โดยรวม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น