ภาพรวม
การตรวจเลือดมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง และเป็นหนึ่งในการตรวจทางการแพทย์ส่วนใหญ่ที่ต้องทำ ยกตัวอย่าง การตรวจเลือดมีประโยชน์คือ- ประเมินสภาพทางด้านสุขภาพทั่วๆไป
- ตรวจหาหากมีการติดเชื้อ
- เพื่อดูสภาพของอวัยวะบางส่วน เช่น ตับ และไตว่าทำงานเป็นอย่างไร
- ตรวจเลือดหาโรคทางกรรมพันธุ์บางชนิด
การเตรียมตัวสำหรับก่อนตรวจเลือด
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีหน้าที่ในการเจาะเลือดให้จะแนะนำการปฏิบัติตัวเฉพาะอย่างที่คุณต้องทำตามก่อนการตรวจ ยกตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจเลือด คุณอาจต้อง- หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือดื่มทุกชนิด (อดอาหาร) นอกเหนือจากน้ำเปล่าเป็นเวลาเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป
- หยุดการรับประทานยาบางชนิด
เกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจเลือด
การตรวจเลือดทั่วไปมักหมายความถึงการนำเอาตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดที่แขน ขั้นตอนการเจาะเลือดคือทำบริเวณแขนเป็นที่ๆสะดวกที่สุดของร่างกายในการนำเลือดมาตรวจเพราะเป็นส่วนที่เห็นง่ายที่สุด อาจมีบริเวณอื่นที่สามารถทำได้เช่นข้อศอก หรือข้อมือ บริเวณที่เส้นเลือดอยู่ใกล้กับผิวมากที่สุด ตัวอย่างเลือดที่ได้จากเด็กมักเอามาจากด้านหลังแขน ผิวหนังของเด็กอาจได้รับยาชาด้วยสเปรย์ชนิดพิเศษ หรือครีมก่อนนำเอาเลือดตัวอย่างออกมา ใช้ยางรัดรอบแขนท่อนบน จากนั้นบีบมือเพื่อให้เลือดไหลช้าลงชั่วคราว และเพื่อทำให้เส้นเลือดบวม ทำให้ง่ายต่อการนำตัวอย่างเลือดออกมา ก่อนการนำเอาตัวอย่างเลือดออกมา แพทย์ หรือนางพยาบาลจะทำความสะอาดผิวบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วยแผ่นฆ่าเชื้อ วิธีเจาะเลือด คือเข็มจะถูกติดกับกระบอกฉีดยา หรือภาชนะพิเศษเพื่อใส่เข้าไปในเส้นเลือด กระบอกยาจะใช้เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด อาจรู้สึกแรงทิ่มของเข็มเล็กน้อยในขณะที่เข็มผ่านเข้าไปในผิวหนังแต่ไม่ควรเจ็บปวก หากคุณไม่ชอบเข็ม หรือเลือดให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อสร้างความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ เมื่อตัวอย่างถูกนำออกมาแล้ว จะคลายสายรัดที่แขน และเข็มจะถูกดึงออกมา กดที่ผิวสองสามนาทีด้วยการใช้ก้อนสำลีแปะไว้ และอาจแปะแผ่นพลาสเตอร์ผิดลงบนแผลเล็กๆเพื่อรักษาความสะอาดหลังการตรวจ
เลือดที่เอาออกมามีเพียงจำนวนน้อยในระหว่างการตรวจ ดังนั้นจึงไม่ควรส่งผลกระทบหลังการตรวจมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการหน้ามืด หรือวิงเวียนศีรษะทั้งในระหว่าง และหลังการตรวจได้ หากเคยเกิดอาการนี้มาก่อนให้แจ้งให้แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ทราบ หลังการตรวจเลือด อาจมีรอยฟกช้ำเล็กๆบริเวณที่เข็มแทง รอยช้ำอาจรู้สึกเจ็บแตามักไม่เป็นอันตรายและจางหายไปได้ในสองสามวันถัดมาผลการตรวจเลือด
หลังจากนำเอาตัวอย่างเลือดออกไปเรียบร้อยแล้ว เลือดจะถูกนำไปเก็บไว้ในขวด และติดฉลากชื่อของคนไข้แลัรายละเอียด จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศ์ หรือการทดสอบด้วยสารเคมี ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดที่ต้องการตรวจ ผลที่ได้จะถูกส่งกลับมายังโรงพยาบาลหรือแพทย์ บางผลอาจได้รับภายในวันเดียวกัน หรืออาจอีกสองสามวันหลังการตรวจ บางครั้งการรับฟังผลตรวจอาจสร้างความเครียด และความวิตกกังวลได้ หากคุณรู้สึกเป็นกังวลกับผลการตรวจ คุณอาจเลือกเพื่อน หรือญาติที่สนิทไปพร้อมกับคุณด้วย การตรวจเลือดบางชนิดเช่นโรคเอชไอวี อาจต้องมีแพทย์ที่ปรึกษาอยู่ร่วมจัดการกับคนไข้ในขณะฟังผลด้วยตัวอย่าง
การตรวจเลือดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่นช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยในการประเมินสุขภาพของอวัยวะบางอย่าง หรือเพื่อค้นหาโรคทางกรรมพันธุ์บางชนิดผลการตรวจคอเลสเตอรอลในเลือด
คอเลสเตอรอลคือไขมันที่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นโดยตับจากอาหารไขมันที่เรารับประทานเข้าไป และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานปกติของร่างกาย การมีภาวะระดับคอเลสเตอรอลสูงสามารถไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาเช่นโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสามารถตรวจวัดได้ด้วยการตรวจเลือด แพทย์อาจสั่งให้งดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ (ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาในการนอนหลับด้วย) เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารทั้งหมดได้รับการย่อยสมบูรณ์แล้ว และจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการตรวจการเพาะเชื้อจากเลือด
เป็นการนำเอาเลือดปริมาณเล็กน้อยจากเส้นเลือดที่แขน และจากอีหนึ่งส่วน หรือมากกว่าของร่างกาย ตัวอย่างที่ได้จะถูกนำไปผสมผสานกับสารอาหารเพื่อทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต ซึ่งสามารถบอกได้หากมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในเลือด ตัวอย่างเลือดที่นำมาตรวจมักจำเป็นต้องใช้อย่างน้อยสองตัวอย่างการตรวจก๊าซในเลือด
การตัวอย่างก็าซในเลือดคือการนำเลือดออกจากหลอดเลือด มักทำที่บริเวณข้อมือ มักมีความเจ็บปวด และทำที่โรงพยาบาลเท่านั้น การตรวจก๊าซในเลอดมักใช้ตรวจเพื่อดูความสมดุลระหว่างออกซิเจน และคาร์บอบมอนอกไซด์ที่อยู่ในเลือด และดูความสุมดุลของกรด และด่างในเลือด (ค่าสมดุลpH) ค่า pH ที่ไม่สมดุลอาจเป็นสาเหตุของ:- ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญ (การเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ใช้โดยร่างกายเพื่อสลายอาหารให้กลายเป็นพลังงาน) เช่นโรคเบาหวาน ไตวาย หรืออาการอาเจียนตลอดเวลา
การตรวจกลูโคสในเลือด (น้ำตาลในเลือด)
เป็นการตรวจเพื่อใช้ในการวินิจฉัย และเฝ้าติดตามโรคเบาหวานด้วยการตรวจหาค่าระดับน้ำตาล(กลูโคส)ในเลือด ซึ่งรวมถึง:- การตรวจ Fasting glucose test – คือ การตรวจระดับกลูโคสในเลือดเพื่อตรวจค่าหลังการอดอาหาร (การไม่รับประทานหรือดื่มใดๆนอกจากน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- การทดสอบการทนน้ำตาลกลูโคส – เป็นการวัดระดับกลูโคสในเลือดหลังการอดอาหาร และตรวจอีก 2 ชั่วโมงหลังให้ดื่มกลูโคส
- การตรวจค่า HbA1C test –คือ การตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดที่ผ่ามา 3 เดือน
การตรวจชนิดของเลือด
เป็นการตรวจก่อนการบริจาคเลือด หรือการให้เลือดเพื่อตรวจเช็คดูกรุ๊ปเลือด หากคุณได้รับเลือดที่ไม่เข้ากับกรุ๊ปเลือดของคุณ ระบบภูมิต้านทานของคุณจะจู่โจมเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ กรุ๊ปเลือดต้องนำมาใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงเล็กน้อยสำหรับทารกที่ยังไม่คลอดอาจมีกรุ๊ปเลือดที่แตกต่างจากพ่อแม่ ซึ่งทำให้ระบบภูมิต้านทานของมารดาจู่โจมเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารก ที่เรียกว่าภาวะมารดา และทารกมีหมู่เลือดไม่ตรงกัน หากคุณยังไม่รู้กรุ๊ปเลือดของตัวเอง ตะต้องมีการตรวจเลือดอย่างน้อยหนึ่งครั้งในระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อการตัดสินใจหากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะมารดา และทารกมีหมู่เลือดไม่ตรงกัน หากผลตรวจแสดงออกมาว่ามีภาวะมารดา และทารกมีหมู่เลือดไม่ตรงกัน จะต้องมีการฉีดยาเพื่อหยุดระบบภูมิต้านทานของมารดาในการเข้าจู่โจมเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกการตรวจเลือดสำหรับมะเร็ง
การตรวจเลือดสามารถนำมาช่วยการวินิจฉัยโรคมะเร็งบางชนิด หรือเพื่อตรวจดูหาความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งบางตัว การตรวจนี้รวมไปถึงการตรวจสำหรับ- ตรวจแอนติเจนต่อมลูกหมาก (PSA) – สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงสามารถระบุถึงปัญหาอื่นๆ
- สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงสามารถค้นหาปัญหาอื่นๆได้เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
- การตรวจหาค่าโปรตีน CA125 – คือโปรตีนที่เรียกว่า CA125 สามารถนำมาหาค่ามะเร็งรังไข่ รวมถึงสัญญานอย่างอื่นเช่นการตั้งครรภ์ หรือภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID)
- การตรวจยีน BRCA1 and BRCA2 – เป็นการตรวจหาบีนบางชนิดที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ผลการตรวจนี้สามารถนำมาใช้เพื่อมีมะเร็งชนิดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว
การตรวจโครโมโซม (คาริโอไทป์)
เป็นการตรวจหากลุ่มสารพันธุกรรมที่เรียกว่าโครโมโซม ด้วยการนับโครโมโซม (ในแต่ละเซลล์ควรจะต้องมี 23 คู่) และตรวจเช็คดูรูปทรง ที่อาจค้นหายีนที่ผิดปกติได้ การตรวจโครโมโซมมีไว้เพื่อ- เพื่อช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติของพัฒนาการระบบอวัยวะเพศ เช่น กลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน
- สำหรับคู่สมรสที่เคยประสบกับภาวะแท้งบุตรซ้ำๆ เพื่อตรวจดูหากโครโมโซมมีปัญหาที่อาจมีส่วนกับภาวะดังกล่าว
การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด
การแข็งตัวของเลือดอาจใช้เพื่อดูการแข็งตัวของเลือดว่าปกติหรือไม่ หากเลือดต้องใช้เวลานานในการแข็งตัว อาจเป็นสัญญานของโรคเลือดเช่นโรคฮีโมฟีเลีย(โรคเลือดไหลไม่หยุด) หรือโรควอนวิลลิแบรนด์ ชนิดของการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าค่าอัตราส่วน INR คือนำมาใช้เพื่อเฝ้าดูปริมาณต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นวอร์ฟาริน และเพื่อตรวจดูหาปริมาณที่ถูกต้องการตรวจ C-reactive protein (CRP)
เป็นอีกหนึ่งการตรวจที่ใช้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ CRP ผลิตจากตับ และหากมีค่า CRP สูงเข้มข้นเกินกว่าปกติ นั้นเป็นสัญญานการอักเสบในร่างกายการตรวจค่าอิเล็กโทรไลต์
อิเล็กโทรไลต์คือแร่ธาตุที่พบได้ในร่างกาย ซึ่งรวมถึงโซเดียม โปรแตสเซียม และคลอไรด์ ทำหน้าที่เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี การเปลี่ยนแปลงระดับอิเล็กโทรไลต์เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้มากมายซึ่งรวมไปถึงภาวะขาดน้ำ โรคเบาหวาน หรือโรคบางชนิดการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (FBC)
เป็นการตรวจเพื่อเช็คจำนวนเซลล์ในเลือด ซึ่งรวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด การตรวจจะช่วยประเมินสุขภาพทั่วๆไป รวมถึงเบาะแสที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพบางอย่างที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง การตรวจสามารถค้นหาสัญญาณของโรค:- ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดเหล็ก หรือภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการพร่องวิตามินบี12
- การติดเชื้อ หรือการอักเสบ
- เลือดออกหรือโรคการแข็งตัวของเลือด
การตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอในยีน
เป็นการสกัดดีเอ็นเอจากเลือด จากนั้นนำไปค้นหายีนที่มีการเปลี่ยนแปลง (ยีนกลายพันธุ์) โรคทางพันธุกรรมสามารถวินิจฉัย:- โรคฮีโมฟีเลีย – เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวของเลือด
- โรคซิสติก ไฟโบรซิส – เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการสะสมเมือกเหนียวในปอด
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง – ที่มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำให้สูญเสียการเคลื่อนไหว
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว – โรคที่เป็นสาเหตุทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ
- โรคถุงน้ำในไต – เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของถุงน้ำที่เกิดขึ้นในไต
การตรวจการทำงานของตับ
เมื่อตับได้รับความเสียหาย ตับจะปล่อยสสารที่เรียกว่า เอนไซม์เข้าสู่เลือด และทำให้ระดับการสร้างโปรตีนของตับก็จะเริ่มลดต่ำลง จากการวัดค่าระดับของเอนไซม์ และโปรตีน การตรวจจะสร้างภาพการทำงานของตับให้เห็น สิ่งนี้สามารถนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคตับบางชนิด รวมถึงไวรัสตับอักเสบ ตับแข็ง และโรคตับที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์การตรวจการทำงานของไทรอยด์
การตรวจนี้มีไว้ใช้ตรวจระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในเลือด และไทรอกซินและไตรไอโอโดไทโรนีน หากพบว่ามีระดับฮอร์โมนต่ำ หรือสูงเกินไป นั้นอาจหมายความว่าอาจเป็นโรคไทรอยด์ เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ หรือไทรอยด์เป็นพิษคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจเลือด
1. การตรวจเลือดคืออะไร?
- การตรวจเลือดคือการทดสอบทางการแพทย์โดยเก็บตัวอย่างเลือดและวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยให้ข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับสุขภาพในด้านต่างๆ ของคุณ รวมถึงการมีอยู่ของโรค การทำงานของอวัยวะ และความเป็นอยู่โดยรวม
2. เพราะเหตุใดจึงต้องตรวจเลือด?
- การตรวจเลือดดำเนินการด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่:
- การวินิจฉัยสภาวะทางการแพทย์
- ติดตามประสิทธิผลของการรักษา
- การประเมินการทำงานของอวัยวะ
- การตรวจสอบภาวะขาดสารอาหาร
- คัดกรองโรค
3. การตรวจเลือดดำเนินการอย่างไร?
- ในระหว่างการตรวจเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมักจะเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ โดยปกติจะอยู่ที่แขน โดยใช้เข็มและหลอดฉีดยา หรือเครื่องฉีดวัคซีน จากนั้นตัวอย่างจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์
4. การตรวจเลือดเจ็บปวดหรือไม่?
- ระดับความเจ็บปวดแตกต่างกันไปในแต่ละคน แม้ว่าบางคนอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยหรือไม่สบายระหว่างการสอดเข็ม แต่บางคนอาจไม่รู้สึกมากนัก โดยทั่วไปความเจ็บปวดจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ
5. การอดอาหารก่อนการตรวจเลือด:
- การตรวจเลือดบางอย่าง เช่น การตรวจระดับไขมันหรือกลูโคส อาจต้องอดอาหารเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนการทดสอบ การอดอาหารช่วยให้มั่นใจได้ถึงผลลัพธ์ที่แม่นยำสำหรับการวัดบางอย่าง
6. ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะได้รับผลการตรวจเลือด?
- ระยะเวลาดำเนินการสำหรับผลการตรวจเลือดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของการทดสอบและเวลาดำเนินการของห้องปฏิบัติการ ผลลัพธ์บางรายการอาจแสดงภายในไม่กี่ชั่วโมง ขณะที่บางรายการอาจใช้เวลาหลายวัน
7. การตรวจเลือดประเภททั่วไป:
- การตรวจเลือดทั่วไป ได้แก่ การนับเม็ดเลือด (CBC) แผงไขมัน การทดสอบกลูโคส การทดสอบการทำงานของตับ การทดสอบการทำงานของไต และการทดสอบฮอร์โมนที่เฉพาะเจาะจง
8. การตีความผลการตรวจเลือด:
- การทำความเข้าใจผลการตรวจเลือดอาจต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ โดยทั่วไปผลลัพธ์จะถูกเปรียบเทียบกับช่วงอ้างอิง และค่าที่อยู่นอกช่วงเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
9. การตรวจสุขภาพตามปกติและการตรวจเลือด:
- การตรวจเลือดเป็นประจำมักเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์สามารถประเมินสุขภาพโดยรวมและตรวจพบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น