ประโยชน์ของการฝังเข็ม (Acupuncture) – ความเสี่ยง การได้รับผล

การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กฝังลงไปที่ผิวหนังตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายที่เป็นจุดฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นศาสตร์แพทย์แผนจีน ซึ่งส่วนมากแล้วใช้รักษาความเจ็บปวดต่าง ๆ การฝังเข็มได้ถูกใช้มากขึ้นเพื่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย รวมไปถึงการจัดการกับความเครียด  ในทางแพทย์แผนจีน เทคนิคการฝังเข็มนั้นเป็นการสมดุลของการไหลเวียนของพลังงานในร่างกาย หรือพลังงานชีวิต ซึ่งเชื่อว่าพลังงานเหล่านี้ไหลเวียนผ่านเส้นลมปราณในร่างกาย การฝังเข็มเข้าไปยังเส้นลมปราณเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายเกิดการสมดุลขึ้น  ในทางกลับกัน แพทย์แผนตะวันตกมองว่า การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นเส้นประสาท กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์ บ้างก็เชื่อว่าการกระตุ้นนี้เป็นการทำให้ร่างกายหลั่งสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติออกมา 

ทำไมต้องฝังเข็ม 

การฝังเข็มใช้เพื่อช่วยบรรเทาความไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ได้แก่: 

ความเสี่ยง 

ความเสี่ยงของการฝังเข็มนั้นต่ำ หากคุณได้รับการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบประกอบวิชาชีพ อาการข้างเคียงที่มีมักพบ คือ ปวด เลือดออกเล็กน้อย หรือช้ำบริเวณที่เข็มฝังลงไป ปัจจุบันมีการใช้เข็มที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงของการติดเชื้อน้อย แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถรับการรักษาแบบฝังเข็มได้ คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนหาก: 
  • คุณเป็นโรคเลือดออก หากคุณเป็นโรคเลือดออกผิดปกติ หรือกำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ คุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดอาการช้ำจากการฝังเข็ม 
  • เซลล์พีชเมคเกอร์มีปัญหา  การฝังเข็มจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเล้กน้อยที่สามารถไปรบกวนการทำงานของเซลล์พีชเมคเกอร์ได้ 
  • ตั้งครรภ์  การฝังเข็มบางชนิดอาจไปกระตุ้นการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

เตรียมตัวอย่างไร 

ไม่มีการเตรียมตัวเป็นพิเสษสำหรับการเข้ารับการรักษาโดยการฝังเข็ม 

การเลือกผู้ฝังเข็ม 

หากคุณกำลังคิดที่จะฝังเข็ม เหล่านี้คือขั้นตอนที่คุณสามารถนำไปใช้เลือกแพทย์ที่จะฝังเข็มให้คุณได้:
  • ถามคนที่ไว้ใจได้ให้แนะนำ
  • เลือกแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนจีน และการฝังเข็ม 
  • สอบถามหมอฝังเข็มเกี่ยวกับการฝังเข็มว่าการรักษาจะช่วยอาการของคุณอย่างไร และราคาเท่าไหร่ 
  • ลองตรวจสอบดูว่าประกันครอบคลุมการรักษาหรือไม่ 
บอกแพทย์ว่าคุณสนใจที่จะฝังเข็ม พวกเขาจะสามารถบอกคุณได้ว่าเปอร์เซนต์ความสำเร็จนั้นมีอยู่เท่าไหร่ และจะสามารถแนะนำชนิดของการฝังเข็มได้ 

Acupuncture

คุณสามารถคาดหวังอะไรได้จากการฝังเข็มบ้าง 

การรักษาโดยการฝังเข็ม 

ระหว่างการฝังเข็ม แพทย์จะฝังเข็มที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ลงไปที่จุดต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มลงไปอาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย  แพทย์แต่ละคนที่ทำการฝังเข็มมีทักษะการฝังที่ต่างกัน บ่อยครั้งที่จะมีการประยุกต์รวมกันของแพทย์แผนตะวันตก และแพทย์แผนตะวันออก แพทย์จะถามอาการ พฤติกรรม และการใช้ชีวิตเพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาคุณแบบใด แพทย์อาจถามคำถามเหล่านี้: 
  • เจ็บตรงไหนของร่างกาย 
  • รูปร่าง และสีของลิ้น 
  • สีของหน้า 
  • พละกำลัง จังหวะการเต้นของชีพจร 
การรักษาครั้งแรกอาจใช้เวลาประมาณ 60 นาที ครั้งต่อ ๆ ไปปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที จำนวนครั้งของการรักษาจะขึ้นอยู่กับโรคที่รักษา และความรุนแรงปกติแล้วจะอยู่ที่ 6-8 ครั้ง 

ระหว่างการรักษา

จุดฝังเข็มนั้นมีอยู่ทั่วร่างกาย บางครั้งจุดฝังเข็มที่เหมาะสมอาจอยู่ห่างจากจุดที่คุณปวด แพทย์จะบอกคุณว่าจะต้องฝังเข็มตรงไหนบ้าง และคุณต้องถอดเสื้อผ้าหรือไม่ ซึ่งจะมีชุดให้เปลี่ยน คุณต้องนอนลงเพื่อทำการรักษา ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้: 
  • การฝังเข็มลงไป เข็มจะฝังลงไปในระดับความลึกที่แตกต่างกันในแต่ละจุด เข็มที่ใช้ฝังเข็มนั้นมีลักษณะที่บางมาก ดังนั้น การฝังเข็มจะทำให้เจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บ่อยครั้งที่จะไม่รู้สึกเลยว่าเข็มฝังเข้าไปแล้ว ในการฝังเข็มแต่ละครั้ง จะใช้เข็มอยู่ประมาณ 5-20 เล่ม คุณอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเมื่อเข็มไปโดนจุดที่ถูกต้อง 
  • การปรับเข็ม แพทย์อาจต้องหมุนเข็มเบา ๆ หรือทำให้เข็มสั่น หรือเพิ่มความร้อน หรือกระแสไฟฟ้าเบา ๆ ไปที่เข็ม 
  • การเอาเข็มออก เข็มจะปักอยู่ประมาณ 10-20 นาที ในขณะที่คุณยังนอนอยู่ จะไม่มีอาการเจ็บเมื่อเข็มถูกถอดออก

หลังการรักษา

บางคนอาจรู้สึกผ่อนคลาย และบางคนอาจรู้สึกกระปี้กระเปร่าหลังการฝังเข็ม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะตอบสนองต่อการรักษาแบบฝังเข็ม หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายในเวลาหลายสัปดาห์ของการรักษา การฝังเข็มอาจไม่เหมาะกับคุณ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ กายภาพบำบัด 

ผลลัพธ์ที่ได้ 

บางครั้งประโยชน์ของการฝังเข็มนั้นยากที่จะวัดผล แต่ผู้คนมากมายพบว่ามันช่วยเรื่องการควบคุมการเจ็บปวดของหลายโรค  ในการศึกษา อย่างไรก็ตาม พบว่า การกระตุ้นการฝังเข็มบางชนิดได้ผลดีเท่ากับการฝังเข็มแบบจริง ๆ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การฝังเข็มจะได้ผลดีในผู้ที่เชื่อว่ามันได้ผล  การฝังเข็มนั้นมีผลข้างเคียงน้อย ฉะนั้น คุณอาจสามารถลองเลือกวิธีรักษานี้หากคุณใช้รักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล 

ใครที่ไม่เหมาะกับการฝังเข็ม

แม้ว่าโดยทั่วไปการฝังเข็มจะถือว่าปลอดภัยเมื่อดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ก็มีสถานการณ์และเงื่อนไขบางประการที่การฝังเข็มอาจไม่เหมาะสมหรือควรเข้าใกล้ด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนทำการฝังเข็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอยู่ในประเภทใดๆ ต่อไปนี้:
  • การตั้งครรภ์:
      • แม้ว่าการฝังเข็มมักใช้เพื่อสนับสนุนภาวะเจริญพันธุ์และจัดการสภาวะที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ แต่ควรดำเนินการโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีประสบการณ์ในการฝังเข็มก่อนคลอด จุดฝังเข็มบางจุดมีข้อห้ามในระหว่างตั้งครรภ์ และการกระตุ้นที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้
  • ความผิดปกติของเลือดออก:
      • บุคคลที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติหรือผู้ที่รับประทานยาลดความอ้วนอาจมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกหรือช้ำบริเวณฝังเข็มเพิ่มขึ้น ควรฝังเข็มด้วยความระมัดระวัง และผู้ประกอบวิชาชีพควรทราบถึงความผิดปกติของเลือดออกหรือยารักษาโรค
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ:
      • บุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดหรือติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนทำการฝังเข็ม อาจจำเป็นต้องมีข้อควรระวังพิเศษเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือบาดแผลเปิด:
      • การฝังเข็มเกี่ยวข้องกับการสอดเข็มเข้าไปในผิวหนัง ผู้ที่ติดเชื้อทางผิวหนัง แผลเปิด หรืออาการทางผิวหนังอื่นๆ ในบริเวณที่ฝังเข็ม ควรรอจนกว่าผิวหนังจะหายดีก่อนเข้ารับการรักษา
  • ความผิดปกติด้านสุขภาพจิตอย่างรุนแรง:
      • การฝังเข็มอาจไม่เหมาะสำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติด้านสุขภาพจิตขั้นรุนแรง หรือผู้ที่มีอาการเฉียบพลัน เช่น โรคจิต สิ่งสำคัญคือต้องหารือเกี่ยวกับความเหมาะสมของการฝังเข็มกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและนักฝังเข็ม
  • อาการป่วยที่ไม่แน่นอน:
      • บุคคลที่มีสภาวะทางการแพทย์ไม่แน่นอน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือภาวะหัวใจที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนทำการฝังเข็ม การฝังเข็มอาจส่งผลต่อความดันโลหิต และอาจต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด
  • แพ้โลหะ:
      • เข็มฝังเข็มบางชนิดทำจากโลหะ โดยทั่วไปจะเป็นสแตนเลส บุคคลที่ทราบกันว่าแพ้โลหะบางชนิดควรแจ้งให้แพทย์ฝังเข็มทราบเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้วัสดุที่เหมาะสม
  • โรคกลัวเข็ม:
    • บุคคลที่กลัวเข็มมากอาจพบว่าการฝังเข็มมีความท้าทาย การสื่อสารข้อกังวลหรือความกลัวกับนักฝังเข็มเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประสบการณ์ที่สะดวกสบาย
การสื่อสารอย่างเปิดเผยกับนักฝังเข็มและผู้ให้บริการด้านสุขภาพหลักของคุณเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อหารือเกี่ยวกับอาการ ยารักษาโรค หรือข้อกังวลที่มีอยู่ก่อนเริ่มการฝังเข็ม นักฝังเข็มที่ผ่านการรับรองจะทำการประเมินอย่างละเอียดและพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพส่วนบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการฝังเข็มสำหรับแต่ละคน แสวงหาบริการฝังเข็มจากผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตและมีชื่อเสียงเสมอเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด