Pregnancy health
สุขภาพกับการตั้งครรภ์
เมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในขณะที่ทารกในครรภ์ก็มีการพัฒนาไปด้วย
อาการทั่วไปของการตั้งครรภ์
ระยะของประจำเดือนจะหายไปช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ หน้าอกจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการสร้างเนื้อเยื่อสำหรับผลิตและจัดเก็บน้ำนม ทำให้เต้านมขยายมากกว่าปกติและหัวนมมีขนาดใหญ่และสีเข้ม ระดับพลังงานในร่างกายถูกใช้มากขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจจะรู้สึกว่าเหนื่อยกว่าปกติ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้ไตผลิตปัสสาวะมากขึ้น บวกกับทารกที่กำลังเติบโตเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น ผู้หญิงหลายคนรู้สึกไม่สุขสบาย อาเจียนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เรียกว่าอาการแพ้ท้อง สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในแต่ละวัน
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
ปัญหาสุขภาพที่พบในระหว่างการตั้งครรภ์อาจมีแนวโน้มที่จะพบแต่มักจะไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาได้ง่าย
ภาวะไม่สุขสบายและอาเจียน เป็นอาการที่พบมากที่สุดของผู้หญิงในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์เรียกว่าอาการแพ้ท้อง และจะหายไปได้เองเมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่มีบางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องนานกว่านี้ อาการเหล่านี้สามารถที่จะลดลงไปได้โดยที่คุณแม่มีการปรับตัวดังนี้ ค่อย ๆ ลุกจากเตียงในตอนเช้า รับประทานอาหาร เช่น ขนมปัง ก่อนที่จะลุกออกจากเตียง มีของว่างที่ดีต่อสุขภาพเป็นประจำ เช่น น้ำขิง สามารถช่วยลดอากรแพ้ท้องได้
หากไม่สามารถที่จะกินอาหารหรือดื่มของเหลวได้ควรไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะการขาดสารอาหารและน้ำ แพทย์จะให้ยาลดอาเจียนเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการที่อาเจียนมาก ๆ
โลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก คือการขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด มีเหตุผลที่แตกต่างกันหลายประการ แต่ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการขาดธาตุเหล็ก หากมีอาการเหนื่อยมาก วิงเวียนหรือเป็นลมขณะตั้งครรภ์อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดหาสาเหตุ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ หรือปวดในช่องท้อง แต่สามารถมีการติดเชื้อที่ไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ แพทย์จะสั่งตรวจปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุหรือสัญญาณของการติดเชื้อ หากมีการตรวจพบการติดเชื้อก็จะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะนำไปสู่??ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ได้ เช่น คลอดก่อนกำหนด
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการจะมีปัสสาวะเล็ด ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้ เมื่อกำลังตั้งครรภ์ ครรภ์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากทารกและรกเจริญเติบโตและจะกดกระเพาะปัสสาวะ ในเวลาเดียวกันไตผลิตปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีการผ่อนคลายมากขึ้นในการตอบสนองต่อฮอร์โมนการตั้งครรภ์ มีแนวโน้มที่จะต้องปัสสาวะบ่อยขึ้นและอาจจะมีปัญหามากขึ้นในการควบคุม นอกจากนี้ การกระตุ้นกระเพาะปัสาสาวะจากการไอหรือจาม ก็มีผลต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย
ริดสีดวงทวารหนัก มักปรากฏขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ถ้ามีก้อนขนาดใหญ่มากหรือเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
ท้องผูก ฮอร์โมนมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร สามารถชะลอการเคลื่อนไหวของของเสียผ่านลำไส้นำไปสู่??อาการท้องผูก การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง โดยเฉพาะผลไม้และผักใบเขียว และการดื่มน้ำอย่างเพียงพอสามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
อาหารไม่ย่อย หรือ แสบยอดออก ฮอร์โมนมีผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณส่วนท้ายของหลอดอาหารผ่อนคลาย ทำให้น้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหารซึ่งทำให้อาหารไม่ย่อย ปวด อึดอัดบริเวณหน้าอก หลังจากการรับประทานอาหาร สามารถใช้ยาช่วยย่อยบางอย่าง เช่น ยาลดกรด
เส้นเลือดขอด มักจะปรากฏบริเวณขา อาจพบว่าเส้นเลือดเหล่านี้ บวม คัน หรือ ทำให้ปวดขา การสวมใส่ถุงน่อง อาจไม่ช่วยป้องกันเส้นเลือดขอดได้แต่อาจจะทำให้ขารู้สึกสะดวกสบายขึ้น เส้นเลือดจะลดขนาดหลังจากคลอดลูกแล้ว
เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ มืออาจจะรู้สึกเจ็บปวดหรือชาเพราะการบวมของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ หากปวดรุนแรงอาจต้องเข้าเฝือกข้อมือ โรคนี้มักจะหายไปหลังจากที่คลอดแล้ว
เลือดออกตามไรฟัน เหงือกอาจมีเลือดออกหากอักเสบจากคราบที่เกิดจากแบคทีเรีย โฮร์โมนที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ทำให้โอกาสเลือดออกตามไรฟันมากขึ้น ป้องกันได้โดยการแปรงฟันอย่างระมัดระวังอย่างน้อยวันละสองครั้ง ลดของหวาน และลดมื้ออาหารเพื่อป้องกันการเกิดคราบ
ปวดหลัง ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายทั่วร่างกาย นอกจากนั้นการตั้งครรภ์ทำให้หลังส่วนล่างโค้งมากขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของแรงโน้มถ่วง ความเครียดในข้อต่อกระดูกนำไปสู่การปวดหลังได้ การจัดท่าทางให้เหมาะสม การพักบ่อย ๆ ไม่ยกของหนัก และสวมใส่รองเท้าส้นเตี้ยจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ การนวดประคบร้อนอาจช่วยให้สุขสบายมากขึ้น ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดพวก (NSAIDs) หรือยาแก้อักเสบในระหว่างการตั้งครรภ์ หากมีอาการปวดมากให้ปรึกษาแพทย์
ตกขาว ขณะมีการตั้งครรภ์การไหลเวียนของเลือดไปยังช่องคลอดเพิ่มขึ้น มีสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอดเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การตกขาวที่เพิ่มขึ้นด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์ แต่ถ้าสารคัดหลั่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงจากสีขาวใสเป็นสีอื่น มีเลือดปน หรือเป็นน้ำอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หรือว่าถุงน้ำคร่ำรั่ว มีกลิ่น เกิดอาการคัน หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์
ปวดบริเวณเชิงกราน 1 ใน 4 ของหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการปวดบริเวณเชิงกราน เกิดจากฮอร์โมนที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลาย มักจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ไปแล้ว อาการส่วนใหญ่าเกิดจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินขึ้นลงบันได เตียงนอน ท่าในการยกของหนัก น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้โดยการ ใช้ผ้าพันรอบบริเวณเชิงกราน การทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันอาการปวดที่จะเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถที่จะปฏิบัติภาระกิจในชีวิตประจำวันได้
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
รอยแตกลาย ผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะมีการยืดออกเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก จะพบว่ารอยแตกลายมีสีแดง ม่วง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการยืดของผิวหนังและฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจะเปลี่ยนเป็นเส้นสีเงิน การใช้ครีมหรือโลชั่นทาเพื่อป้องกันรอยแตกลายยังไม่มีผลการรับรองที่ชัดเจน
น้ำหนักตัวเพิ่ม มีปัจจัยมาจากสิ่งต่อไปนี้ น้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 กก. รกและน้ำคร่ำ 2.5 กก.ปริมาณของเลือด 1.25 กก.ท่อน้ำนมในเต้านมเพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตน้ำนม ประมาณ 1 กก. หากพบว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์มีมากเกินไปสามารถนำไปสู่??ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ตัวเด็กมีขนาดใหญ่กว่าปกติทำให้คลอดยาก
บวมบริเวณข้อเท้าและนิ้วเท้า สามารถสังเกตเห็นได้ว่าข้อเท้าและนิ้วเท้าบวมสาเหตุมาจากการคั่งของน้ำ พยายามทำการพักเท้าโดยการยกขึ้นสูงเพื่อลดการคั่งของน้ำขึ้นมาบริเวณขา
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีสิ่งผิดปกติ ให้มาพบแพทย์ตามการนัดหมายฝากครรภ์ทุกครั้ง หากพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อช่วยในการหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเริ่ม แพทย์จะมีการส่งตรวจเลือด ปัสสาวะ และตรวจวัดความดันโลหิต เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกตินั้น ๆ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น