ไนโตรเจนเหลวมีอันตราย (Why Liquid Nitrogen is Dangerous)

ไนโตรเจนเหลว คืออะไร 

ไนโตรเจนเหลว คือ ก๊าชไนโตรเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มแรงดัน ขจัดก๊าซอื่นๆออก และนำไปผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิจนก๊าซไนโตรเจนกลายสภาพเป็นของเหลวภายในระบบปิด ซึ่งเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิประมาณ -200 อาศาเซลเซียส  เป็นก๊าซเฉื่อยที่ไม่ติดไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติใดๆ สามารถละลายน้ำได้เล็กน้อยและมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ

ไนโตรเจน ประโยชน์

ประโยชน์ของไนโตรเจน มีมากในวงการอุตสาหกรรม เช่นการนำไปส้งเคราะห์ก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งมีประโยชน์แก่อุตสาหกรรม เราสามารถใช้แอมโมเนียและกรดไนตริกไปสังเคราะห์สารอื่นได้ เช่นปุ๋ย สี พลาสติก ยารักษาโรค วัตถุระเบิด ก๊าซไนโตรเจนยังช่วยในการไล่ความชื้น จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการเก็บรักษาอาหาร อาหารที่อยู่ในถุงที่บรรจุไนโตรเจนจะช่วยยืดอายุของอาหารนั้นได้ และในเรื่องอุตสาหกรรมแช่เยือกแข็ง ก็จะยิ่งช่วยทำให้สามารถถนอมอาหารได้นานขึ้นและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอีกทั้งยังสามารถใช้ไนโตรเจนในการเติมลมยางของอากาศยายและรถยนต์ได้ 

ไนโตรเจนเหลวรับประทานได้ไหม

ในปัจจุบันในวงการอาหาร ไนโตรเจนเหลวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารที่ต้องมีความเย็นจัด เช่นใช้แช่เย็น แช่แข็งอาหาร หรือเพื่อทำใให้อาหารแข็งตัวในทันที เช่รการราดหรือผสมไนโตรเจนลงบนไอศกรีม บนขนมเพื่อให้ขนมแข็งตัวทันที จากนั้นไนโตรเจนเหลวจะเปลี่ยนจากของเหลวกลับสู่สถานก๊าซจนมีลักษณะคล้ายไอเย็นหรือมีควันลอยออกมาจากอาหาร  ด้วยการนำมาใช้กับอาหารนี้นี่เอง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่า การบริโภคอาหารที่ประกอบหรือมีส่วนผสมของไนโตรเจนเหลวอาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหากมีการใช้ในปริมาณที่มีความเหมาะสมและถูกต้อง และต้องใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข หากมีการใช้เกินปริมาณที่กำหนดหรือใช้โดยไม่ระมักระวัง ไนโตรเจนเหลวก็อาจก่ออันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน การรับประทานอาหารที่ผสมไนโตรเจนเหลว ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน สัมผัสหรือสูดดมโดยตรง เมื่อสัมผัสโดยตรงถูกที่เนื้อเยื่อหรือผิวหนัง ไนโตรเจนเหลวจุดูดซับความร้อนจากผิวหนังและมีการระเหยอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้บริเวณที่ถูกสัมผัสจะคล้ายผิวหนังถูกเผาไหม้ หรือหากสูดดมโดยตรงก็อาจทำให้หมดสติได้ ดังนั้นจึงต้องรอให้ควันของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อนจึงจะสามารถรับประทานได้Why Liquid Nitrogen is Dangerous

ประโยชน์ของไนโตรเจนเหลว

ไนโตรเจนเหลวอาจยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายนัก แต่ก็เริ่มมีบ้างแล้วเช่นการเติมก๊าซไนโตรเจนเหลวเข้าไปในยางรถยนต์เพื่อช่วยทำให้มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อเป็นการรักษาสภาพของยางให้มีอายุใช้งานที่นานมากขึ้น เนื่องจากเป็นการป้องกันไม้ให้เกิดความร้อนสูงของอากาศภายในยางในระหว่างขับขี่ อีกทั้งยังถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมเพื่อการแช่แข็ง หล่อเย็นเครื่องจักร ป้องกันอันตรายจากการสันดาปของสารเคมีกับอากาศหรือออกซิเจน ช่วยในการไล่ออกซิเจนและความชื้นออกจากระบบถังเก็บน้ำมัน ก๊าซไวไฟ  ไนโตรเจนเหลวยังมีสารประกอบที่สามารถนำไปทำสี วัตถุระเบิดและปุ๋ยได้ด้วย เมื่อเร็วๆนี้เองเกิดเหตุการณ์เด็กวัยรุ่นอายุ 18 ปีชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า กาบี้ สแกนลอน ตกเป็นนข่าวเมื่อเธอถูกส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อผ่าตัดกระเพาะอาหาร- เป็นการผ่าตัดเอาบางส่วนของกระเพาะอาหารออกไป- หลังจากมีการดื่มคอกเทลเยเกอร์ไมสเตอร์ที่ทำด้วยไนโตรเจนเหลวที่ร้านเหล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันนำมาซึ่งคำวิจารณ์จากบรรดาพ่อครัวและบาร์เทนเดอร์มากมาย  อาหารโมเลกุลเฉพาะ (อาหารที่ใช้นวัตกรรมนำวิทยาศาสตร์มาผสมผสานในขั้นตอนการทำอาหาร) ซึ่งเป็นการใช้แก๊สและสารเคมีในการทำให้การตระเตรียมอาหารและเครื่องดื่มมีลูกเล่นขึ้นและสร้างประสบการณ์การรับประทานใหม่ๆ แต่ในขณะที่ไนโตรเจนเหลวเป็นสิ่งที่พ่อครัวนำมาใช้จนเป็นเรื่องปกติ แต่มันก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากหรืออาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากมีการใช้ที่เหมาะสม ต่อไปนี้คือความปลอดภัยและอันตรายจากการใช้สารเคมี เรื่องแรก ไนโตรเจนเหลวคืออะไร เป็นที่รู้กันในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  LN2 ที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นไครโอเจนที่ไม่ติดไฟ-เป็นเคมีที่เย็นจัด-มีจุดเดือดที่ -196°C    มีการนำมาใช้เป็นประจำในทางการแพทย์ ใช้แช่แข็งเพื่อกำจัดหูด รวมถึงหูดที่อวัยวะเพศและหูดที่เป็นผลมาจากโรค HIV เพราะไนโตรเจนเหลวจะแช่แข็งทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปสัมผ้สโดน แพทย์ผิวหนังอาจนำมาใช้เพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการออกและปล่อยให้มันหลุดออก ศัลยแพทย์อาจนำมาใช้ในการบำบัดด้วยความเย็นเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง สำหรับในห้องครัว ไนโตรเจนเหลวถูกนำมาใช้ในการทำไอศกรีม แช่แข็งสมุนไพรหรือแอลกอฮอล์แช่แข็ง บาร์เทนเดอร์จะนำแก้วลงไปวนอย่างเร็วเพื่อทำให้เกิดการแข็งตัว ดังนั้นแก้วแบบทนความเย็นจะเกิดไอเย็นออกมา (ไนโตรเจนเหลวจะทำให้เกิดควันเมื่อสัมผัสโดนกับอากาศ)  สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของไนโตรเจนเหลวคือจะต้องมีการระเหยจากอาหารหรือเครื่องดื่มอย่างเต็มที่ก่อนนำไปเสริฟ์ ปีเตอร์ บาร์แฮม แห่ง University of Bristol’s School of Physics กล่าวไว้ ว่าไนโตรเจนเหลวจะมีความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้กับการเตรียมอาหารหรือเครื่องดื่ม แต่ไม่ควรนำไปดื่ม รับประทาน ทางบีบีซีรายงานว่า: ศาสตราจารย์ บาร์แฮม บอกว่าเมื่อไม่ควรดื่มน้ำเดือดหรือน้ำมันเดือด เราก็ไม่ควรจะดื่มไนโตรเจนเหลวเช่นกัน นักเขียนชาวิทยาศาสตร์และผู้ร่วมงานของ Royal Society of Chemistry John Emsley บอกว่าหากจำนวนไนโตรเจนเหลวมากกว่า “เล็กน้อย” ถูกดื่มกลืนเข้าไปจะส่งผลให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายมากๆ “หากคุณดื่มไนโตรเจนเหลวมากกว่า 2-3 หยด ประมาณ1 ช้อนชา มันจะเย็นจัดและกลายเป็นของแข็งและเปราะแตกได้เหมือนแก้ว ลองจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากสิ่งนี้เกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหารหรือกระเพาะอาหาร “ของเหลวจะจับความร้อนอย่างรวดเร็ว เดือดและกลายเป็นแก๊ส ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายเช่น การทะลุ หรือเป็นสาเหตุของกระเพาะทะลุได้” เขากล่าว อาหารโมเลกุลทำเงินได้อย่างสวยงาม ข้อมูลปี 2011 การศึกษาเรื่อของเงินรายได้ American Culinary Federation พบว่าอาชีพพ่อครัวมีรายได้สูงสุดจากอุตสาหกรรมนี้  ทาง American Culinary Federation ได้ทำการเพิ่มเติมหลักสูตรหลักวิชาวิทยาศาสตร์ประกอบอาหารเข้าไปในสถาบัน ในสาขาที่เรียนนี้นักศึกษาจะำด้เรียนรู้การใช้ไนโตรเจนเหลวมาใเป็นตัวหล่อเย็นเพื่อทำเมนู smoother batch of ice cream หรือการนำสตอเบอรรี่ไปจุ่มในไนโตรเจนเหลวและจากนั้นนำมาทุบให้แหลกแล้วนำไปโรยบนจานอาหาร เมื่อเรามีการใช้อย่างถูกต้อง มันก็ “ชวนให้น่าหลงใหล” เดฟ อาร์โนล หัวหน้าของ culinary technology at the French Culinary Institute และเพื่อนร่วมงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องของคอกเทลที่ Momofuku’s Booker and Dax bar ใน New York City กล่าวไว้ในข่าว ABC ว่า “ มันก็เหมือนกับของทุกๆสิ่งบนโลกนี้ หากเราเลือกใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็เป็นเรื่องอันตรายทั้งนั้น…แม้กระทั่งแค่หม้อทอดเองก็เป็นอันตรายได้หากคนนำไปใช้โดยไม่ได้รับการฝึกฝน” เขายังกล่าวเพิ่มเติมในการทำคอกเทล หากไนโตรเจนเหลวไม่สามารถเข้ากับคอกเทลได้ คุณจะเห็นมันเพราะมันจะลอย “คุณสามารถเห็นมันลอยวนอยู่รอบๆด้านบนของเครื่องดื่ม” เขากล่าว ดังนั้นควรดื่มอย่างระมัดระวัง 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด