เหงื่ออกเพราะอะไร (Why am I Sweating) – สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน

เหงื่อ คือ กลไกที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เหงื่อปล่อยของเหลวที่ประกอบไปด้วยเกลือออกจากต่อมเหงื่อ  การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกาย อุณหภูมิภายนอก และภาวะอารมณ์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เหงื่อออก บริเวณที่เหงื่อออกมากที่สุดคือ 
  • รักแร้
  • หน้า
  • ฝ่ามือ 
  • ฝ่าเท้า 
การที่เหงื่ออกในปริมาณปกติเป็นกลไกปกติของร่างกาย  เหงื่อไม่ออก หรือเหงื่อออกมากเกินไปสามารถทำให้เกิดปัญหาได้ เหงื่อไม่ออกอาจเป็นอันตรายเพราะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป เหงื่อออกมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจมากกว่าร่างกาย  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การวัดอุณหภูมิร่างกาย

เหงื่อออกมาได้อย่างไร 

ในร่างกายของเรามีต่อมเหงื่ออยู่ประมาณ 3 ล้านต่อม ต่อมเหงื่อมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่สร้างจากต่อม Eccrine และชนิดที่สร้างจากต่อม Apocrine 

ชนิดที่สร้างจากต่อม Eccrine 

ต่อมเหงื่อ Eccrine มีอยู่ทั่วร่างกาย และสร้างเหงื่อที่มีปริมาณน้อย มีกลิ่นน้อย 

ชนิดที่สร้างจากต่อม Apocrine 

ต่อมเหงื่อ Apocrine พบมากในรูขุมขนของส่วนเหล่านี้ในร่างกาย:
  • หนังศีรษะ 
  • รักแร้
  • ขาหนีบ 
ต่อมเหล่านี้สร้างเหงื่อที่มากกว่า เป็นเหงื่อที่มาจากไขมันที่ทำให้เกิดกลิ่นต่าง ๆ กลิ่นที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากเหงื่อที่แตกตัว แล้วไปผสมกับแบคทีเรียบนผิว  ระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของต่อมเหงื่อ  เมื่ออากาศร้อน หรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการออกกำลังกาย หรือมีไข้ เหงื่อจะถูกปล่อยออกมาจากผิวหนัง มันจะทำให้ผิวชุ่มเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย  เหงื่อนั้นมีองค์ประกอบส่วนมากเป็นน้ำ แต่ 1% ของเหงื่อเป็นไขมัน และเกลือ 

Why I am Sweating

สาเหตุของการเหงื่อออก 

เหงื่ออกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปกติในชีวิตประจำวันของเรา อย่างไรก็ตาม มีสาเหตุหลายอย่างที่กระตุ้นให้เหงื่อออก 

อุณหภูมิสูง

อุณหภูมิในร่างกาย หรืออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้นทำให้เหงื่อออกได้ 

อารมณ์ และความเครียด 

อารมณ์เหล่านี้ทำให้เหงื่อออกได้:
  • โกรธ
  • กลัว
  • อาย
  • กังวล 
  • เครียด 

อาหาร 

การที่เหงื่อออกอาจเป็นการตอบสนองต่ออาหารที่กินเข้าไปเช่นกัน ซึ่งสามารถถูกกระตุ้นได้จาก:
  • อาหารเผ็ด
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ และชา 
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

ยา และความเจ็บป่วย 

การที่เหงื่อออกอาจเกิดจากยาบางชนิด หรือความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น:
  • มะเร็ง 
  • ไข้ และยาลดไข้ 
  • การติดเชื้อ
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ 
  • ยาแก้ปวด เช่น มอร์ฟีน 
  • ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ 
  • กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน (CRPS) มักเกิดขึ้นที่แขน หรือขา 

สตรีวัยหมดประจำเดือน 

ความผันผวนของฮอร์โมนมีความเชื่อมโยงกับสตรีวัยทอง ที่กระตุ้นให้เกิดเหงื่ออกได้ สตรีวัยหมดประจำเดือนมักพบกับอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน และอาการร้อนวูบวาบ 

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตกับเหงื่อ 

เหงื่อที่ออกปกติไม่จำเป็นต้องได้รัลการรักษา คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อให้รู้สึกสบายตัว และลดเหงื่อได้:
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง 
  • ถอดเสื้อผ้าที่สวมทับหลายชั้นออกเมื่อรู้สึกร้อนขึ้น 
  • เมื่อเหงื่อแห้งแล้ว ให้ล้างหน้า หรืออาบน้ำเพื่อให้รู้สึกสบายตัว
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกเหงื่อเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย และยีสต์ 
  • ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มสำหรับออกกำลังกายให้เพียงพอสำหรับเหงื่อที่เสียไป 
  • ใช้โรลออนเพ่อลดกลิ่น และลดปริมาณเหงื่อ 
  • ลดการรับประทานอาหารที่ทำให้เหงื่อออก
หากอาการป่วย หรือยาที่ใช้อยู่ทำให้เหงื่อออกมาก ให้ปรึกษาแพทย์ 

ภาวะแทรกซ้อนจากเหงื่อออก 

เหงื่ออาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เมื่อเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งควรแจ้งให้แพทย์ทราบ: การที่น้ำหนักลดจากการที่เหงื่อออกมากไม่ใช่เรื่องปกติ ควรไปตรวจกับแพทย์  โรคข้างล่างเกิดจากเหงื่อออกมากไป หรือเหงื่อไม่ออก ควรปรึกษาแพทย์หากรู้สึกว่าเหงื่อออกไม่ปกติl:
  • Hyperhidrosis คือ ภาวะเหงื่ออกมากเกินไปจากรักแร้ มือ และเท้า โรคนี้ทำให้เกิดความอับอาย และไม่อยากออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ  
  • Hypohidrosis คือ ภาวะที่เหงื่อไม่ออก การที่เหงื่อออกจากร่างกายเป็นการระบายความร้อน หากคุณมีภาวะขาดน้ำ และมีโอกาสที่จะเป็นโรคลมแดด คุณมีภาวะ Hypohidrosis 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การรักษาโรคลมแดด

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหงื่อ

กลิ่นเฉพาะตัว: 

  • แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วเหงื่อจะไม่มีกลิ่น แต่กลิ่นที่แตกต่างที่เกี่ยวข้องกับเหงื่อนั้นเป็นผลมาจากแบคทีเรียบนผิวหนังที่สลายเหงื่อ กลิ่นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร พันธุกรรม และสุขภาพโดยรวม

ประเภทของเหงื่อ: 

  • ร่างกายมนุษย์มีต่อมเหงื่อสองประเภท: ต่อม eccrine และต่อม Apocrine ต่อม Eccrine กระจายไปทั่วร่างกายและผลิตเหงื่อที่เป็นน้ำและไม่มีกลิ่น ซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ต่อม Apocrine ที่พบในบริเวณที่มีรูขุมขนมีความเข้มข้นสูง จะสร้างสารคัดหลั่งที่หนาขึ้น ซึ่งเมื่อแบคทีเรียถูกทำลายลง อาจทำให้เกิดกลิ่นตัวได้

กลไกการทำความเย็น: 

  • เหงื่อออกเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการระบายความร้อน เมื่อเหงื่อระเหยออกจากผิว มันจะดูดซับความร้อน ซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย กระบวนการนี้มีความสำคัญในระหว่างออกกำลังกายหรือการสัมผัสกับอุณหภูมิสูง

ปริมาณเกลือ: 

  • เหงื่อไม่ใช่แค่น้ำเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโซเดียม ความเค็มของเหงื่ออาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจส่งผลให้มีรสเค็มในบางครั้งเมื่อมีเหงื่อออก

เหงื่อออกและการลดน้ำหนัก: 

  • แม้ว่าเหงื่อออกระหว่างออกกำลังกายอาจทำให้น้ำหนักลดลงชั่วคราวเนื่องจากการสูญเสียของเหลว แต่ก็ไม่เท่ากับการสูญเสียไขมัน การให้น้ำใหม่หลังออกเหงื่อเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากน้ำหนักที่หายไปส่วนใหญ่เป็นน้ำ ไม่ใช่ไขมัน
การทำความเข้าใจความซับซ้อนของการขับเหงื่อเน้นถึงความสำคัญของกระบวนการทางสรีรวิทยาในการรักษาสมดุลของร่างกายและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด