ใส่ส้นสูงเสี่ยงกระดูกพรุน (Wearing High Heels Is The Risk Of Osteoporosis)

ข้อควรรู้

  • การสวมรองเท้าส้นสูงทุกวันไม่ดีต่อสุขภาพของกระดูก
  • การสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนระยะต้นและอาการปวดหลังถาวร
  • ดังนั้นสำหรับสตรีที่สวมรองเท้าส้นสูงบ่อยๆจึงควรไปสวมรองเท้าพื้นแบน, รองเท้าสวมๆแบบไม่มีเชือก,รองเท้าแตะบ้างเพื่อเป็นการป้องกันกระดูกของคุณเอง
ผู้หญิงที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนระยะต้นหรือเกิดอาการปวดหลังแบบถาวรได้ การสวมรองเท้าส้นสูงตลอดเวลาทำให้กระดูกของผู้หญิงได้รับแรงกระแทกและทำให้กระดูกพรุนและมีอาการปวดหลังแบบถาวร จากการสำรวจโดย Max Healthcare (MHC) — “ กระดูกของสตรีและปัญหาโรคกระดูกและข้อ” จากผู้หญิงมากกว่า 500 รายในคูร์เคาน์ กรุงเดลลี ที่มีช่วงอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปีและมากกว่านั้น  ‘ผู้ที่หลงใหลรอองเท้าส้นสูง ควรระวัง การสวมส้นเข็มตลอดทั้งวันสามารถส่งผลต่อกระดูกของพวกคุณได้ และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนในระยะต้นและอาการปวดหลังแบบถาวร Wearing High Heels, Risk Of Osteoporosis “จากการสำรวจพบว่ามีผู้หญิงราว 48.5 เปอร์เซ็นต์ที่สวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำวันหรือเมื่อต้องไปออกงานสังคม รองเท้าส้นสูงทำให้มีผลกระทบต่อแผ่นหลัง, นิ้วเท้าและข้อต่อบริเวณข้อเท้าและเข่า   หากคุณคิดว่าคุณได้หารองเท้าส้นสูงสวมใส่สบายแล้วจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ เรื่องนั้นไม่เป็นความจริง “การเพิ่มแรงกดมหาศาลให้กับกระดูกสันหลังสามารถทำให้โครงสร้างกระดูกทุกส่วนและท่าทางทารทรงตัวของผู้หญิงเสียไปได้ รองเท้าส้นสูงจะทำให้ข้อเท้าของผู้หญิงผิดปกติและมีรูปทรงที่ผิดเพี้ยนไป ซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณเท้าถูกขัดขวาง” Marya กล่าวเสริมไว้  จากการสำรวจพบว่ามีผู้หญิงอายุระหว่าง 20-30 ปี ราว 37.5 เปอร์เซ็นต์สวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำทุกวัน และราว 85.4 เปอร์เซ็นต์ที่สวมรองเท้าส้นสูงเฉพาะวันที่ต้องออกไปงานเลี้ยงสังสรรค์ จากข้อมูล ผู้หญิงทำงานประมาณ 43.7 เปอร์เซ็นต์จะสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่มีประมาณ 14.6 เปอร์เซ็นต์เท้านั้นที่ไม่ได้สวมรองเท้าส้นสูงหรือสวมบ้างเป็นครั้งคราว และพบว่าผู้หญิงประมาณ 52.9 เปอร์เซ็นต์ที่มีอายุระหว่าง 30-45 ปี และอีกประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป  ในหลายรายพบว่าที่บริเวณที่นิ้วโป้งจะเริ่มมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นผิดปกติ ที่รู้กันในชื่อ “ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง” และมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข  การสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำยังนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนระยะแรกปละอาการปวดหลังแบบถาวร”   “ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงควรสวมรองเท้าส้นสูงบ้างบางครั้งเท่านั้น และควรหันไปสวมรองเท้าพื้นแบน รองเท้าสวมๆชนิดไม่มีเชือกผูกหรือรองเท้าแตะเป็นประจำแทน”    จากการสำรวจพบว่าผู้หญิงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ไม่สนใจเรื่องท่าทางของตนเองและยังคงทำร้ายกระดูกของตัวเองต่อไป

แนะนำการใส่ส้นสูง

ความปลอดภัยและความสบายของรองเท้าส้นสูงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงความสูงของส้นเท้า ลักษณะของรองเท้า กายวิภาคของเท้าของแต่ละบุคคล และความคุ้นเคยกับการสวมรองเท้าส้นสูงของผู้สวมใส่ คำแนะนำทั่วไปที่ควรพิจารณาสำหรับความสูงของส้นเท้าที่ปลอดภัยมีดังนี้:

  • รองเท้าส้นเตี้ย (1-2 นิ้ว) : รองเท้าส้นเตี้ยโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ ช่วยยกกระชับโดยไม่ต้องออกแรงกดบนอุ้งเท้าหรือหลังส่วนล่างมากเกินไป หลายๆ คนพบว่ารองเท้าส้นเตี้ยสวมใส่สบายทุกวัน
  • ส้นกลาง (2-3 นิ้ว) : รองเท้าส้นสูงในช่วง 2 ถึง 3 นิ้วยังคงค่อนข้างสบายและปลอดภัยสำหรับหลายๆ คน ให้ความสูงมากกว่าเล็กน้อยแต่มีแนวโน้มที่จะทำให้รู้สึกไม่สบายหรือปัญหาการทรงตัวน้อยกว่าเมื่อเทียบกับรองเท้าส้นสูง
  • รองเท้าส้นสูง (3-4 นิ้ว) : รองเท้าส้นสูงในช่วง 3 ถึง 4 นิ้วถือเป็นรองเท้าส้นสูงและหลายคนสามารถสวมใส่ได้อย่างปลอดภัยในโอกาสพิเศษหรือในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม การสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปวดเท้า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มหรือข้อเท้าแพลง
  • รองเท้าส้นสูงมาก (4 นิ้วขึ้นไป) : รองเท้าส้นสูงที่สูงกว่า 4 นิ้วถือว่าสูงมากและอาจเป็นเรื่องยากที่จะเดินเข้าไปเป็นเวลานาน พวกเขาสร้างแรงกดดันอย่างมากต่ออุ้งเท้า ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเท้า ส้นเท้าเหล่านี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานในระยะสั้นอย่างดีที่สุด
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าความสบายและความปลอดภัยในรองเท้าส้นสูงนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน ปัจจัยต่างๆ เช่น การรองรับส่วนโค้ง ความพอดีของรองเท้า และการออกแบบของรองเท้า อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสบายและปลอดภัยของความสูงของส้นของแต่ละบุคคล เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการสวมรองเท้าส้นสูงอย่างปลอดภัย:
  • เลือกรองเท้าที่มีการกันกระแทกและรองรับส่วนโค้งเพื่อลดแรงกดบนเท้า
  • เลือกใช้รองเท้าส้นสูงที่มีฐานกว้างกว่าซึ่งให้การทรงตัวที่ดีกว่า
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีขนาดพอดีโดยมีพื้นที่เพียงพอให้นิ้วเท้าของคุณเคลื่อนไหวได้อย่างสบาย
  • ค่อยๆ เพิ่มความสูงของส้นเท้าที่คุณใส่เพื่อให้เท้าและกล้ามเนื้อขาปรับตัวได้
  • ใส่ใจกับความรู้สึกของเท้าขณะสวมส้นเท้า และหลีกเลี่ยงการใช้เป็นเวลานานหากคุณรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บปวด
  • พิจารณาใช้เจลที่พื้นรองเท้าหรือแผ่นรองเสริมเพื่อเพิ่มการรองรับและการรองรับ
ท้ายที่สุดแล้ว กุญแจสำคัญในการสวมรองเท้าส้นสูงอย่างปลอดภัยคือการมีความพอประมาณและความตระหนักรู้ว่าร่างกายของคุณตอบสนองต่อความสูงของส้นเท้าที่แตกต่างกันอย่างไร หากคุณมีข้อกังวลเป็นพิเศษหรือรู้สึกไม่สบายเรื้อรังขณะสวมส้นเท้า ขอแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ซึ่งแก้โรคเท้าหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกซึ่งสามารถให้คำแนะนำและคำแนะนำเฉพาะบุคคลโดยพิจารณาจากลักษณะทางกายวิภาคและความต้องการของคุณ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22983265/
  • https://www.pinterest.com/pin/20055160814056103/
  • https://www.news18.com/news/lifestyle/wearing-high-heels-may-affect-womens-bone-health-2532009.html
  • https://www.womenshealthmatters.ca/health-centres/bone-joint-health/living-with/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด