ภาวะลิ้นติด (Tongue-Tie) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ภาวะลิ้นติด

ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie) เป็นมากกว่าคำเปรียบเทียบสำหรับการพูดที่ติดขัด เป็นสภาพภายในช่องปากที่เป็นปัญหาตั้งแต่การดูดนมแม่  การพูดไปจนถึงสุขภาพของฟัน

ยังมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาอยู่สำหรับภาวะลิ้นติดและมีหลายสิ่งที่เข้าใจผิด หากบุตรหลานของคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะลิ้นติด สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เพื่อค้นหาขั้นตอนต่อไป

ภาวะลิ้นติดคืออะไร

ปัญหาในช่องปากเช่นลิ้นและริมฝีปากเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์เป็นผลมาจากการกลายพันธ์ุของยีนส์ที่ส่งต่อเป็นลักษณะเด่น

เด็กแรกเกิดที่มีภาวะลิ้นติด หรือพังผืดใต้ลิ้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Ankyloglossia มักจะมีเยื่อสั้นๆและหนา เรียก Frenulum ไปรั้งการเคลื่อนไหวของลิ้นเอาไว้ โดยเยื่อดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นเส้นเนื้อเยื่อเล็กๆที่ยื่นมาจากฐานใต้ลิ้น

ภาวะลิ้นติดมักถูกจำแนกในลักษณะต่างๆ ผู้ให้บริการทางการแพทย์บางรายก็จัดประเภทของภาวะลิ้นติดตามระบบการจำแนกประเภทของ the Coryllos I–IV (the Coryllos I–IV classification system)ได้แก่ ชนิด I, ชนิด II, ชนิด III และชนิด IV

การจำแนกประเภทของภาวะลิ้นติดด้วยตัวเลขจะมีลักษณะไม่เหมือนกันกับตัวเลขที่ระบุระดับความรุนแรงในโรคมะเร็ง ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นในการบอกแนวทางการวินิจฉัยหรือการรักษา แต่ใช้เพื่ออธิบายว่าเยื่อพังผืดติดดับลิ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นได้จำแนกภาวะลิ้นติดเพียงแค่ว่าอยู่ด้านหน้า (Anterior) หรือด้านหลัง (Posterior) ขณะเดียวกันก็ใช้เครื่องมือในการประเมินของ  the Hazelbaker assessment tool for lingual frenulum function (HATLFF) ในการประเมินหน้าที่ของลิ้น

โดยแบบประเมิน HATLFF เป็นเครื่องมือในการประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการประเมินการทำงานของลิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรส่วนใหญ่ใช้ HATLFF ในการประเมินว่าเด็กทารกอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ (จากนั้นทำการส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ)

การรักษาภาวะลิ้นติด

การตัดสินใจในการรักษาภาวะลิ้นติดมักขึ้นอยู่กับความรุนแรง ผู้ให้บริการบางรายจะใช้วิธีการรอดูในรายที่ไม่รุนแรงมาก ขณะที่คนอื่นจะแนะนำให้ทำการติดเยื่อพังผืดออก (Fremotomy/Frenectomy) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการคลายเยื่อพังผืด (Lingual frenulum)

การตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นออกเป็นเรื่องง่ายโดยปกติจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการผ่าตัด และสามารถทำในห้องตรวจได้ และผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Aeroflow Breastpumps กล่าวว่าผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือเลือดออกเพียงเล็กน้อย

แม้ว่าการตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นมักเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างง่าย  แต่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลต้องหมั่นยืดเนื้อเยื่อที่ถูกตัดออกหรือเลเซอร์ออกไปเป็นประจำทุกวันอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์หลังจากออกจากโรงพยาบาล เหล่านี้ทำเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อที่งอกใหม่ตึงเกินไประหว่างการฟื้นหาย

การยืดไม่ซับซ้อน แต่ทารกส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบมัน และทำให้เกิดความยากลำบากแก่ผู้ปกครอง

ขั้นตอนนี้มักเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จากการศึกษาในปีค.ศ.2016 พบว่าการผ่าตัดภาวะลิ้นติดและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะลิ้นติดด้านหลัง ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าการปรับปรุงเกิดขึ้นในช่วงต้น 1 สัปดาห์ภายหลังขั้นตอน และปรับปรุงต่อเนื่องหลายสัปดาห์

การรักษาภาวะลิ้นติดขึ้นอยู่กับความรุนแรง, อายุ และอาการ มีเทคนิกการผ่าตัดภาวะลิ้นติดด้านหน้าแบบง่ายๆซึ่งเป็นวิธีที่ทำมากที่สุด แต่หลายคนรู้สึกว่าไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้คลายภาวะลิ้นติดด้านหลัง

ความยากในการรักษาร่วมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กทารกที่เข้ารับการผ่าตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นออกยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าขั้นตอนจะมีความเสี่ยงต่ำ บางคนยังสงสัยว่าจำเป็นต้องเอาเยื่อพังผืดออกเพื่อช่วยในการป้อนนม

ภาวะแทรกซ้อนจากขั้นตอนดังกล่าวได้แก่ เลือดออก, การติดเชื้อ, ลิ้นหรือต่อมน้ำลายถูกทำลาย หรือหากไม่ได้มีการยืดเนื้อเยื่อหลังผ่าตัด เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่ใต้ลิ้นอาจจะมีความตึง

ท้ายที่สุดแล้วการตัดสินใจคลายภาวะลิ้นติดควรอยู่ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือผู้ปกครอง ในกรณีนี้คือแพทย์และผู้ปกครอง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์อย่างนี้

หากการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออกไม่ถูกแนะนำ หมอแมดเดน กล่าวว่าวิธีอื่นในการจัดการภาวะลิ้นติด ได้แก่ เครนิโอเซครัล เธราพี (Craniosacral therapy) เป็นเทคนิกที่ผ่อนคลายลดการตึงของระบบประสาท, การให้นมบุตร, การทำกายภาพ/กิจกรรมบำบัด และการบำบัดกลไกในช่องปาก

ภาวะลิ้นติดส่งผลต่อการให้นมอย่างไร

ภาวะลิ้นติดมีผลกระทบต่อการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญทั้งสามกล่าว ภาวะลิ้นติดทำให้ปากปิดสนิดและหากไม่ปิดสนิดจะทำให้เด็กดูดนมไม่ได้ หมอกาเฮอริกล่าว ในกรณีเหล่านี้เขากล่าวว่าทารกจะใช้ริมฝีปากและเหงือกในการยึดซึ่งเป็นการเริ่มต้นของอาการต่างๆ

Tongue-Tie

ภาวะลิ้นติดอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อให้นมลูก เนื่องจากลิ้นไม่สามารถขยายและยกระดับเพื่อยึดเข้ากับหัวนมและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งความเจ็บปวดและการดูดนมที่ไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ปริมาณน้ำนมที่ลดลง, การกลืนอากาศ และความล้มเหลวในการเจริญเติบโตหรือการเพิ่มน้ำหนักที่ไม่ดี หมอแมดเดนกล่าว อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่าเราต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะลิ้นติดกับทารก

ผลในระยะยาวของการไม่รักษาภาวะลิ้นติด

เราทราบกันดีว่าภาวะลิ้นติดสามารถนำไปสู่ปัญหาการเพิ่มน้ำหนักและความล้มเหลวในการเจริญเติบโตในวัยทารก แต่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่รักษาภาวะลิ้นติดไม่ได้จบลงเมื่อลูกของคุณหยุดดูดนมจากเต้า

นอกเหนือกจากปัญหาการให้อาหารแล้ว ภาวะลิ้นติดยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการสบฟันและสุขภาพฟัน แต่เป็นอีกครั้งที่คุณหมอกาเฮอริกล่าวว่าหลักฐานยังคงปรากฏอยู่

การเปล่งเสียงพูดและชีวกลศาสตร์ในช่องปากอาจได้รับผลกระทบจากภาวะลิ้นติดตามรายงานของสถาบันสุขภาพเด็กสแตนฟอร์ด (Stanford Children’s Health) แม้ว่าความสามารถในการเรียนรู้การออกเสียงจะไม่ใช่ปัญหา แต่ภาวะลิ้นติดที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหากับวิธีในการออกเสียงคำศัพท์ของเด็ก

บางครอบครัวเลือกที่จะไม่รักษาภาวะลิ้นติดเพราะได้รับคำแนะนำว่าเยื่อพังผืดจะยืดออกเมื่อเวลาผ่านไป ขณะที่ผู้ให้บริการจำนวนมากยืนยันตามคำกล่าวอ้างนี้ แต่มีงานวิจัยใหม่ๆที่กล่าวว่า เยื่อพังผืดใต้ลิ้น(frenulum) ประกอบไปด้วยเซลล์คอลลาเจนจำนวนมากซึ่งไม่สามารถยืดได้

ถึงอย่างนั้น ในบางรายก็ไม่มีผลในระยะยาวของการไม่รักษาภาวะลิ้นติด เมื่อเด็กโตขึ้น การทำงานของช่องปากสามารถชดเชยการเคลื่อนไหวที่จำกัดของลิ้นได้

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะลิ้นติด

ภาวะลิ้นติด  เป็นภาวะที่แถบผิวหนังใต้ลิ้น (Frenulum ของลิ้น) สั้นกว่าปกติ ซึ่งจำกัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของลิ้น แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของลิ้นติดอาจไม่ชัดเจนเสมอไป แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงและความเกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นหลายประการที่ได้รับการระบุ:
  • พันธุกรรม:มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการผูกลิ้นอาจมีองค์ประกอบทางพันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลิ้นติด ความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดมาพร้อมกับอาการลิ้นติดอาจสูงขึ้น
  • เพศ:การศึกษาบางชิ้นระบุว่าการลิ้นติดอาจพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ความแตกต่างทางเพศไม่ได้เด่นชัดมากนัก
  • เชื้อชาติ:กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มอาจมีการลิ้นติดสูงกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจแตกต่างกันไปตามประชากร และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสร้างรูปแบบที่ชัดเจน
  • การพัฒนาของทารกในครรภ์: ลิ้นติดอาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของทารกในครรภ์ ความผิดปกติในการก่อตัวของโพรงลิ้นในระหว่างตั้งครรภ์สามารถส่งผลต่อภาวะนี้ได้
  • การคลอดก่อนกำหนด:ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะลิ้นติด สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาของเยื่อลิ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม:ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมบางอย่างในระหว่างตั้งครรภ์อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการลิ้นติด แต่การวิจัยในพื้นที่นี้มีจำกัด
  • เงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ:ลิ้นติดมีความเกี่ยวข้องกับอาการบางอย่างและภาวะที่มีมาแต่กำเนิด หากทารกเกิดมาพร้อมกับปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ โอกาสที่จะลิ้นติดอาจเพิ่มขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้รับประกันว่าบุคคลนั้นจะมีอาการลิ้นติด  ลิ้นติดอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไปและบ้าง

การติดกันของอย่างอื่นภายในช่องปาก

ริมฝีปากและแก้มที่ติดกันเป็นสองอย่างที่คุณอาจพบการติดกันเกิดขึ้นในทารก คล้ายกับภาวะลิ้นติด แต่เป็นริมฝีปากบนติดหรือส่วนบนของเยื่อที่ยึดเหงือกกับริมฝีปาก (labial frenulum)

เด็กแรกเดิกทุกคนจะมีความแนบของริมฝีปากบนในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาในการให้อาหารอาจเกิดขึ้นหากริมฝีปากบนไม่สามารถขยับได้เนื่องจากเยื่อพังผืดที่ริมฝีปากตึงหรือแข็งมาก ภาวะริมฝีปากติดที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การเกิดฟันผุและปัญหาทางทันตกรรมเมื่อเด็กเริ่มมีฟันขึ้น

ในขณะที่ทารกบางคนอาจมีภาวะแก้มติด วึ่งเป็นความผิดปกติของเยื่อที่ยื่นออกมาจากแก้มไปถึงเหงือก

แม้ว่าการศึกษาจำนวนมากสนับสนุนการรักษาภาวะลิ้นติดด้านหน้าเพื่อบรรเทาปัญหาในการดูดนม ภาวะริมฝีปากบนติดยังพึ่งเริ่มทำการศึกษาเพื่อรับคำแนะนำตามหลักฐานเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการรักษา

การดูแลที่บ้าน

การคลายภาวะลิ้นติดเป็นขั้นตอนที่ง่ายและปลอดภัย ช่วยแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หากคุณกำลังประสบปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือคิดว่าลูกของคุณมีภาวะลิ้นติด ให้ติดต่อแพทย์, ผดุงครรภ์ หรือผู้ให้คำปรึกษาเรื่องหารให้นมบุตร พวกเขาสามารถประเมินและแนะนำคุณสำหรับการรักษาได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tongue-tie/symptoms-causes/syc-20378452

  • https://www.nhs.uk/conditions/tongue-tie/

  • https://www.webmd.com/children/tongue-tie-babies

  • https://www.childrens.health.qld.gov.au/fact-sheet-tongue-tie-in-babies/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด