ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

องค์กรอนามัยโลก (WHO) กำหนดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อมีปริมาณมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนประเทศไทยกำหนดอันตรายระดับของฝุ่น PM 2.5 คือไม่เกิน  50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 คือ การที่เกือบทุกเมืองสำคัญทั่วโลกล้วนมีระดับปริมาณของฝุ่นที่เป็นอันตราย อย่างในกรุงเทพฯ เคยมีปริมาณสูงเกือบ 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณริมถนน บริเวณที่มีการก่อสร้าง หรือมีการจราจรหนาแน่น  ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กจนขนจมูกไม่สามารถกรองออกไปได้ ด้วยขนาดที่เล็กเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดแดง (5 ไมครอน) ดังนั้นเมื่อฝุ่นพิษนี้ผ่านจากจมูกเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเข้าสู่ระบบเลือดผ่านเส้นเลือดฝอย และกระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ มีลักษณะเป็นขุยคล้ายก้อนสำลี จึงมีน้ำหนักเบา และสามารถเป็นพาหะนำสารอื่น ๆ เข้ามาในร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นแคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร

ส่วนมากเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ในรถยนต์ชนิดต่าง ๆ ดังนั้นในช่วงที่การจราจรคับคั่งในช่วงเช้า และเย็นหลังเลิกงานจึงมีปริมาณฝุ่นที่สูงกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ  ในฤดูหนาวที่อากาศนิ่ง และแล้ง ก็จะส่งผลให้ฝุ่นไม่สามารถลอยขึ้นที่สูงได้ ยิ่งเมื่อมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 มาก ๆ ก็ยิ่งทำให้ระดับของฝุ่น เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเมืองแออัดอย่างกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยตึกสูงปิดกันเส้นทางลมที่ช่วยระบายฝุ่น ก็ยิ่งทำให้ปัญหาฝุ่นรุนแรงมากขึ้น หรือในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้จากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มมวลฝุ่น และทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ฝุ่นลักษณะนี้ยังเกิดจากไนโตรเจนไดออกไซด์  (NO2) ที่เมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมากก็จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับโอโซน และแสงแดด กลายเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ    ไนโตรเจนไดออกไซด์คือ ก๊าซที่เกิดจากการสันดาปภายในของเครื่องยนต์ดีเซลของรถยนต์นั่นเองTiny Dust PM 2.5

ปัญหาต่อสุขภาพของฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ปัญหาต่อสุขภาพ เมื่อฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก จึงเป็นฝุ่นที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจและปอด บางส่วนอาจเข้าสู่กระแสเลือดและไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และก่อปัญหาทางสุขภาพในภายหลังได้ ปัญหาต่อทางเดินหายใจ และปอด  มลพิษในอากาศย่อมส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และปอดโดยตรง เมื่อฝุ่น PM 2.5 ผ่านเข้ามาทางจมูกก็จะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือกระตุ้นให้ผู้ที่มีสุขภาพดีเกิดอาการหอบหืดได้เช่นกัน ยิ่งสะสมไปนาน ๆ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้น  ปัญหาต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้นเมื่อเกิดการสะสมในเลือดไปสักระยะเวลาหนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดการตะกอนขึ้นในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ และยังส่งผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ  และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้   ปัญหาต่อสมอง ฝุ่น PM 2.5 ที่เข้าสู่กระแสเลือดและสะสมในร่างกายไหนาน ๆ จะส่งผลให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืดผิดปกติ ซึ่งจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในสมอง และหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว  อันเป็นสาเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือรุนแรงถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5

หน้ากาก หน้ากากคืออุปกรณ์ป้องกันไม่ให้สูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไป แต่จะต้องพิจารณาเลือกหน้ากากที่มีคุณสมบัติในการกรองอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กนี้ได้ โดยหน้ากาก N95 ถือเป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถกรองฝุ่นได้มากกว่า  95% แต่ก็มีราคาค่อนข้างสูง และเพื่อประสิทธิภาพที่ดีจำเป็นต้องสวมอย่างถูกต้อง และควรหมั่นจัดกระชับหน้ากากไม่ให้หลวมอยู่เสมอ ห้ามนำหน้ากากมาใช้ซ้ำใหม่  หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน การออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งจะเพิ่มโอกาสนในการสัมผัส และสูดดมฝุ่น PM 2.5 เข้าไป จึงควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลางแจ้งที่จะยิ่งกระตุ้นให้หายใจแรง และทำฝห้ฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ทางเดินหายใจ และปอดได้มากขึ้น  เมื่ออยู่ในบ้านก็ควรปิดประตูหน้าต่างให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM 2.5 เข้ามาในบ้าน หรือเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดปริมาณอนุภาคของฝุ่นละอองขนาดเล็กให้ลดน้อยลง  งดการสูบบุหรี่หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน การสูบบุหรี่ หรือเผาไหม้สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดควันก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณฝุ่น PM 2.5 ให้มากยิ่งขึ้น จึงควรพยายามลดกิจกรรมเหล่านี้ให้น้อยลง

อุปกรณณ์ช่วยลด PM 2.5 ในบ้าน

เพื่อลดการสัมผัส PM2.5 ที่บ้าน มีผลิตภัณฑ์และมาตรการหลายอย่างที่คุณสามารถพิจารณาได้ โปรดทราบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่งเสริมความพยายามในวงกว้างในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร และการจัดการแหล่งที่มาของมลภาวะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์บางส่วนที่จะช่วยป้องกัน PM2.5 ที่บ้านมีดังนี้
  • เครื่องฟอกอากาศ:
      • เครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA) สามารถกรองอนุภาคต่างๆ รวมถึง PM2.5 ออกจากอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองหาเครื่องฟอกอากาศที่มีตัวกรอง HEPA และพิจารณาเครื่องฟอกอากาศที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น ตัวกรองถ่านกัมมันต์เพื่อกำจัดกลิ่น
  • ตัวกรองอากาศ HEPA สำหรับระบบ HVAC:
      • ติดตั้งตัวกรองอากาศ HEPA ในระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ (HVAC) ตัวกรองเหล่านี้สามารถดักจับอนุภาคละเอียดและปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยรวม
  • ระบบระบายอากาศ:
      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบ้านของคุณมีการระบายอากาศที่ดีโดยใช้พัดลมดูดอากาศ เปิดหน้าต่างเมื่อคุณภาพอากาศภายนอกดี และรักษาการไหลเวียนของอากาศบริสุทธิ์
  • พืชในบ้าน:
    • ต้นไม้ในบ้านบางชนิดสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารได้โดยการกำจัดมลพิษบางชนิด แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัด PM2.5 แต่ก็มีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารมีสุขภาพดีขึ้น
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด