การอยู่ไฟหลังคลอด (Thai Vaginal Care After Giving Birth)

อยู่ไฟหลังคลอดสำหรับในไทยนั้นเป็นเรื่องที่เราเคยได้ยินกันมา แม้ว่าในปัจจุบันจะค่อยๆ เลือนหายไปแล้ว เนื่องจากเข้าสู่ยุคการแพทย์สมัยใหม่ สำหรับแพทย์สมัยโบราณนั้นให้ความสำคัญกับการอยู่ไฟมากๆ เพราะรู้ดีว่าคุณแม่หลังคลอดนั้นต้องเผชิญกับความเจ็บ ความไม่สบายตัว และปวดเมื่อย การอยู่ไฟหลังคลอดจะเป็นวิธีการฟื้นฟูร่างกาย ทั้งจากการคลอดธรรมชาติแบบโบราณ ที่ทำให้ช่องคลอดฉีกขาด หลังการคลอด และยังไม่มีการเย็บได้เหมือนวิธีสมัยใหม่ ดังนั้นการอยู่ไฟเป็นเรื่องสำคัญในการฟื้นฟูความเจ็บปวด และสภาพร่างกายของคุณแม่โดยรวม โดยอาศัยหลักการความร้อน และสมุนไพร

การอยู่ไฟหลังคลอดมีกี่ประเภท

1. การอยู่ไฟหลังคลอดแบบดั้งเดิม (โบราณ)

สำหรับสตรีที่จะเตรียมการคลอดในสมัยโบราณ ทางครอบครัวก็จะเตรียมสถานที่ในการอยู่ไฟให้ด้วยเช่นกัน อาจจะเป็น บ้านหลังเล็กๆ หรือห้องเล็กๆ ที่มิดชิด รวมทั้งเตรียมแคร่ หรือเตียงไม้ สำหรับเตรียมนอนอยู่ไฟข้างกองไฟหลังคลอด เมื่อวันคลอดมาถึง แม่จะทำการคลอดในห้องดังกล่าว ในขณะที่กองไฟข้างๆ แคร่ก็มีการต้มสมุนไพรที่สำคัญ และอบอวลไปทั้งห้องอยู่ไฟ ทำให้ร่างกายได้รับการเยียวยาจากความร้อน และฤทธิ์สมุนไพร การอยู่ไฟปกติอยู่ที่ราวๆ 15 วัน ไปจนถึง 1 เดือน การดูแลอวัยวะเพศหญิงควรทำอย่างไร อ่านต่อที่นี่

2. การอยู่ไฟหลังคลอดแบบผสม (ประยุกต์)

การอยู่ไฟหลังคลอดแบบประยุกต์นั้น เป็นการพัฒนาจากแบบดั้งเดิมมาให้เหมาะกับปัจจุบัน แม้ว่าส่วนใหญ่ชีวิตในเมืองจะไม่มีการอยู่ไฟหลังคลอดกันแล้ว เนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่มาแทนที่ แต่ก็ยังมีในบางคนยังอยู่ไฟหลังคลอดทำอยู่ แต่เป็นการทำแบบประยุกต์ เช่น กระโจมอบสมุนไพร  การอาบน้ำสมุนไพร การใช้ลูกประคบ เป็นต้น กระโจมอบ เป็นการนำไอของสมุนไพรจากภายนอกใส่เข้าไปในกระโจมที่คุณแม่กำลังอยู่ เป็นการช่วยฟื้นฟู และทำให้มดลูกเข้าอู่ ในขณะที่การอาบน้ำสมุนไพร และการประคบช่วยในเรื่องการสมานของแผล และการเจ็บเป็นสำคัญ คลายความเจ็บปวดที่เกิดจากการคลอด แต่ทั้งนี้สรรพคุณของการอยู่ไฟก็ต่างกันไปตามสมุนไพรที่ใช้ Thai-Vaginal care after giving birth

สมุนไพรที่นิยมใช้ในการอยู่ไฟหลังคลอด

สมุนไพรที่คนไทยเราใช้ในการประกอบทำไอสมุนไพรในการอยู่ไฟได้แก่
  • ไพลนำมาใช้ในการอยู่ไฟ เนื่องจากมีฤทธิ์ลดอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ลดความดันโลหิต อาการเจ็บ และฟกช้ำ ให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • การบูรมีกลิ่นที่สามารถช่วยให้ผ่อนคลาย และมีฤทธิ์ขับเหงือ รวมทั้งแก้เคล็ดขัดยอก
  • ตะไคร้ขับเหงื่อขับลม กลิ่นหอม ผ่อนคลาย และลดความดันโลหิต
  • ส้มป่อย บำรุงผิว ลดผื่น และทำให้ร่างกายขับของเสียได้เป็นอย่างดี
  • มะกรูด น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดสามารถลดความเครียด และผ่อนคลาย
  • ขมิ้นชัน จัดการกับฮอร์โมนหลังคลอดให้เข้าสู่สมดุล และทำให้ผิวสุขภาพดี รวมทั้งมีฤทธิ์ต่อต้านการติดเชื้อ และลดปัญหาการอักเสบ
อุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดจากอะไร อ่านต่อที่นี่

สรุปการอยู่ไฟหลังคลอด

เนื่องด้วยปัจจุบันเป็นยุคที่การแพทย์พัฒนาไปอย่างมาก ทำให้ความเจ็บปวดของคุณแม่หลังคลอดลดลงอย่างมาก และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การอยู่ไฟอาจจะเลือนหายไป รวมทั้งคุณแม่สมัยใหม่อาจจะไม่มีเวลาในการอยู่ไฟได้นานถึง 1 เดือน แต่เทคนิคการอยู่ไฟก็สามารถนำไปใช้ประยุกต์ตามความเหมาะสม และความสะดวก เพื่อช่วยเร่งฟื้นฟูให้กับคุณแม่หลังคลอดได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด