วิธีกำจัดกลิ่นเหม็นที่เท้า (Smelly Feet) – อาการ, การรักษา

อาการเท้าเหม็น คือ

โรคโบรโมโดซิส (เหงื่อออกที่เท้า) หรืออาการเท้าเหม็นเป็นภาวะทางการแพทย์ที่พบได้บ่อย ๆ เกิดจากการสะสมของเหงื่อ ซึ่งส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตบนผิวหนัง แบคทีเรียเหล่านี้จะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อรา เช่นโรคน้ำกัดเท้าสามารถนำไปสู่อาการเท้าเหม็นได้ อย่างไรก็ตามอาการเท้าเหม็นนั้นสามารถรักษาได้ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง

การรักษาอาการเท้าเหม็นด้วยตนเอง

เคล็ดลับที่ช่วยลดกลิ่นเท้า คือต้องแน่ใจว่าปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวัง

รักษาความสะอาดของเท้า และทำให้เกลี้ยงเกลาเสมอ

  • ใช้สบู่อ่อน ๆ และแปรงขัดถูเพื่อล้างเท้าอย่างน้อยวันละครั้ง เวลาที่ดีที่สุดคือระหว่างอาบน้ำตอนเช้าหรือตอนเย็น สิ่งสำคัญคือต้องทำให้เท้าแห้งสนิทหลังจากล้างทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณระหว่างนิ้วเท้า เพราะความชื้นจะทำให้แบคทีเรียเติบโตได้ง่าย
  • ตัดเล็บเท้าบ่อย ๆ เพื่อให้เล็บสั้น และต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
  • ขจัดผิวหนังที่แข็งและตายออกจากเท้าด้วยตะไบเท้า ผิวที่แข็งจะเปียกและนุ่มเมื่อเปียก กลายเป็นที่ที่แบคทีเรียชอบอาศัยอยู่
  • เปลี่ยนถุงเท้าอย่างน้อยวันละครั้ง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน ออกกำลังกาย หรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เท้ามีเหงื่อออกมาก อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนถุงเท้าให้บ่อยขึ้น
  • ควรมีรองเท้าอย่างน้อย 2 คู่ไว้ใส่สลับกันในแต่ละวัน ช่วยให้รองเท้าแต่ละคู่แห้งสนิทจากเหงื่อหรือความชื้น ก่อนนำมาสวมใส่อีกครั้ง หรือถอดพื้นรองเท้าที่อยู่ในรองเท้าออกเพื่อช่วยให้รองเท้าแห้งมากขึ้น รองเท้าที่เปียกชื้นจะช่วยให้แบคทีเรียเติบโตบนเท้าได้เร็วขึ้น
  • เลือกถุงเท้าที่ดูดซับความชื้นได้ดี รวมถึงถุงเท้าที่หนาและนุ่มซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ หรือถุงเท้าสำหรับนักกีฬา
  • สวมรองเท้าแตะแบบเปิด เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่อบอุ่น หรือเดินเท้าเปล่าในที่ร่มตามความเหมาะสม เพื่อให้เท้าแห้ง
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าที่คับ หรือกักเก็บความชื้น
  • ใช้สำลีก้อนทาแอลกอฮอล์เช็ดเท้าเล็กน้อยทุกคืน วิธีนี้จะช่วยให้เท้าแห้ง แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีรอยแตกของผิว
  • ทายาต้านเชื้อรา หรือแป้งทาเท้า วันละครั้ง
  • ใส่แผ่นรองพื้นระงับกลิ่นไว้ในรองเท้า
  • หากต้องการลดกลิ่นเท้าอย่างรวดเร็ว แนะนำให้ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเหงื่อหรือกลิ่นเท้า
  • ลองใช้สบู่ต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เหมาะกับเท้าตนเองที่สุด
  • แช่เท้าขในน้ำยาฆ่าเชื้อลิสเตอรีน หรือน้ำส้มสายชู
  • ให้ความสำคัญกับถุงเท้าและรองเท้า
smelly feet
  • สามารถช่วยควบคุมกลิ่นตัวได้ การจัดการความเครียดด้วยเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิหรือโยคะ อาจช่วยลดเหงื่อและกลิ่นเท้าได้เช่นกัน
หากคุณได้ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้แล้ว แต่ยังคงประสบปัญหากลิ่นเท้าอยู่แม้ว่าคุณจะพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม หรือหากคุณสังเกตเห็นอาการอื่นๆ เช่น คัน มีรอยแดง หรือบวม ก็เป็นความคิดที่ดีที่จะปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ในบางกรณี กลิ่นเท้าที่คงอยู่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาวะทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษา

ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเท้าที่เหมาะสม

การรักษาด้วยตนเองตามปกติจะช่วยลดหรือขจัดกลิ่นเท้าได้เป็นอย่างดี แต่หากการรักษาด้วยตนเองไม่สามารถบรรเทาอาการดทเาเหม็นได้ หรือมีความกังวลว่าเหงื่อออกและมีกลิ่นตัวรุนแรง แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อสั่งจ่ายยาระงับเหงื่อ และสบู่สำหรับเท้าที่มีวรรพคุณแรงขึ้น และสามารถขอคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาภาวะเหงื่อออกมากเกินไป (ภาวะเหงื่อออกที่เท้า)

สาเหตุที่ทำให้เท้าเหม็น

เท้าที่ผลิตเหงื่อออกมามาก บริเวณเท้าจะมีต่อมเหงื่อมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ต่อมเหล่านี้จะหลั่งเหงื่อตลอดทั้งวันเพื่อช่วยให้ร่างกายเย็นลง และทำให้ผิวชุ่มชื้น เท้าของทุกคนมีเหงื่อออก แต่วัยรุ่นและสตรีมีครรภ์มักมีเหงื่อออกมามาก เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ผู้ที่ยืนทำงานทั้งวัน มีความเครียดสูง หรือมีโรคประจำตัวก็จะมีเหงื่อออกที่เท้ามากกว่าคนอื่นได้ มีแบคทีเรียบางชนิดที่เท้าตามธรรมชาติอยู่แล้ว แบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยสลายเหงื่อที่ถูกขับออกมาที่เท้าได้ แต่หากมีแบคทีเรียและเหงื่อสะสมรวมกันก็อาจเกิดกลิ่นเหม็นได้ แบคทีเรียที่มากเกินไปมักก่อตัวขึ้นเมื่อมีเหงื่อออกในรองเท้า ควรถอดออก แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่เมื่อปล่อยให้แห้งสนิทแล้ว สุขอนามัยที่ไม่ดีจะผลให้เกิดโรคเท้าเหม็นได้ การล้างเท้าน้อบ หรือไม่เปลี่ยนถุงเท้าอย่างน้อยวันละครั้งอาจทำให้แบคทีเรียส่วนเกินเริ่มเติบโตบนเท้า ทำให้กลิ่นเท้าแย่ลงได้

ภาพรวมอาการเท้าเหม็น

แม้ว่าอาการเท้าเหม็นจะเป็นอาการทั่วไป แต่เมื่อรู้สึกเท้าเหม็นมักทำให้เกิดความไม่มั่นใจได้ แต่อาการเท้าเหม็นนั้นสามารถรักษาได้ง่าย โดยทั่วไปสามารถลดหรือขจัดกลิ่นเท้าได้ภายใน 1 สัปดาห์ เมื่อดูแลอย่างใส่ใจทุกวัน สิ่งสำคัญคือการดูแลสุขอนามัยของเท้าให้เป็นกิจวัตรประจำวัน การรักษาด้วยตนเองจะได้ผลดีมาก แต่หากมีกลิ่นเหม็นที่รุนแรง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อการรักษษที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด