การรับมือกับเด็กดื้อ (Rebellious Child Dealing)

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
การรับมือกับเด็กดื้อ
ดูเหมือนว่าในทุกๆ ขั้นตอนของพัฒนาการของลูกคุณ จะมีช่วงเวลาที่พวกเขาดื้อรั้น และต่อต้าน บางครั้งก็เป็นช่วงเวลาที่แย่มาก ๆ หรือเป็นช่วงเวลาที่น่าอึดอัดใจของลูกในช่วงวัยเด็ก หรือวัยรุ่น  เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะประสบกับความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และลูก ๆ ของพวกเขาต้องเผชิญปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้สาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมที่ดื้อรั้นของเด็กๆ รวมถึงวิธีจัดการกับความดื้อโดยไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกัน

วิธีปราบลูกดื้อ

คุณเองทราบดีว่าลูกมีชีวิต และจิตใจที่เป็นอิสระจากคุณ บางสิ่งในตัวเขาอาจจะไม่ใช่อย่างที่คุณต้องการ แต่เมื่อเขาแสดงความดื้อรั้นออกมา พ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ไม่ใช่เพียงจัดการ แต่ต้องช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นมันไปได้ ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้ดู เพื่อที่จะก้าวข้ามช่วงเวลานี้ไป พร้อมๆ กับลูก

1. พิจารณาอายุของเด็กที่ชอบดื้อ

การจัดการกับความดื้อที่ดีที่สุด สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ อายุ เพราะการจัดการในเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป แม้ว่าคุณจะสามารถพูดคุยอย่างตรงไปตรงมากับเด็กวัยรุ่นได้ แต่การพูดคุยกับเด็กวัยหัดเดิน เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กประถมตอนต้นนั้นอาจจะไม่สามารถใช้เหตุผลได้ทั้งหมด แต่สำหรับเด็กเล็ก ให้สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรมดื้อรั้นให้สั้นลง โดยใช้ถ้อยคำง่ายๆ สั้นๆ ที่เด็กจะเข้าใจ ยกตัวอย่างคำพูดง่ายๆ สำหรับเด็กเล็ก เช่น “รู้ว่าอารมณ์เสีย แต่ลูกไม่ควรที่จะขว้างสิ่งของแบบนั้นนะ มันไม่น่ารัก” ดีกว่าพูดด้วยถ้อยคำ และน้ำเสียงที่รุนแรงว่า “ขว้างของเล่นทำไม เกลียดจริงๆ ทำพฤติกรรมแบบนี้!”

2. ควบคุมอารมณ์ให้ได้

การควบคุมอารมณ์เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณมีส่วนร่วมในการควบคุมการกระทำที่ดื้อรั้นของลูก แต่การถูกกระตุ้นทางอารมณ์จากพฤติกรรมของลูก อาจจะส่งผลต่อการโต้ตอบของคุณ แและเมื่อใช้อารมณ์จะทำให้จัดการกับความดื้อของลูกๆ ได้ยาก เพราะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ นอกจากนี้คุณควรจะใช้วิธีที่ถูกต้องในการแสดงความรู้สึก เช่น การแสดงอาการไม่มีความสุข หรือหงุดหงิดกับลูกของคุณ เป็นการยากที่จะเกลี้ยกล่อมเด็กที่ดื้อรั้นในวัยต่างๆ เพราะ การด่าว่า และตะโกนใส่ ไม่ใช่วิธีการจัดการที่เลย สิ่งสำคัญ คือ เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าการตะโกน ในระหว่างที่ไม่พอใจนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ สำหรับการดูแลเด็กเล็ก ให้เน้นการระงับอารมณ์ ด้วยวิธีการอย่างเช่น  การนับ 1 ถึง 10 หรือ หายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้ใจเย็นลง

3. อย่าเป็นเผด็จการกับเด็กดื้อรั้น

พ่อแม่เป็นผู้ปกครองก็จริง แต่คุณไม่ควรใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบเผด็จการ แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งที่จะจัดการกับทางเลือก หรือเรื่องต่างๆ ของเด็กๆ ได้ง่าย แต่สิ่งที่ควรรู้วิธีการเผด็จการไม่สามารถใช้ได้อย่างยั่งยืน แม้แต่เด็กวัยหัดเดินก็ควรได้รับตัวเลือกในการเลือกอย่างน้อย 1-2 อย่าง ในแต่ละวัน มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยพฤติกรรมวัยรุ่นที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ผู้ปกครองแบบเผด็จการในวัยก่อนเรียน เปรียบเทียบกับเด็กที่เป็นประชาธิปไตย และมีส่วนในการตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ในชีวิต พบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงมาแบบประชาธิปไตยสามารถเรียนรู้ และปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้ง่ายกว่า หากลูกของคุณดื้อรั้นในสิ่งที่ไม่ได้เป็นอันตรายมากอย่างเช่นพวกยาเสพติด คุณควรพิจารณาที่จะให้อิสระกับเขาบ้าง สำหรับเด็กเล็กๆ เราสามารถให้เขามีส่วนร่วมได้ง่ายๆ เพียงแค่ปล่อยให้พวกเขาเลือกชุดสำหรับวัน หรืออาหารมื้อต่อไป สำหรับลูกที่โตแล้วควรให้อิสระกับเขาภายในขอบเขตที่ดี สามารถใช้แรงจูงใจในการจัดการกับความดื้อของเด็กๆ เช่น การออกไปเที่ยวกับเพื่อน การเพิ่มเบี้ยเลี้ยง หรือการได้ของเล่นใหม่ๆ เป็นต้น พัฒนาการเด็ก มีอะไรบ้าง อ่านต่อที่นี่ Rebellious Child Dealing

4. สร้างขอบเขตชัดเจน

เด็ก ๆ มักดื้อรั้น เพราะต้องการทดสอบขอบเขตของพ่อแม่ เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถไปได้ไกลแค่ไหนก่อนที่จะเผชิญกับผลที่ตามมา  ดังนั้นหากคุณไม่ได้ทำให้ชัดเจนว่าขอบเขตเหล่านั้นอยู่ที่ใด คุณก็จะไม่สามารถควบคุมความดื้อได้ การสร้างขอบเขตจำเป็นต้องมีการทบทวน และปรับปรุงให้เหมาะสมกับช่วงวัย และสภาพแวดล้อมของเด็กๆ ไม่มีใครอยากอยู่ใต้การบังคับอย่างไม่มีกำหนด คุณคงไม่อยากทำงานให้กับเจ้านายที่ดูแลจัดการแบบจุกจิก และบังคับทุกเรื่อง  ดังนั้นหากลูกของคุณไม่ได้ทำเรื่องเสียหาย หรืออันตราย ควรให้อิสระแก่พวกเขา โปรดจำไว้ว่าการสื่อสาร คือ กุญแจสำคัญ และในทุกๆ การตัดสินใจเรื่องสำคัญ ควรให้พวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และรับผลที่จะตามมา

5. ยึดตามกฎระเบียบ

เมื่อได้สร้างกฎระเบียบขึ้นในครอบครัวแล้ว โปรดยึดมั่นในการทำตามกฎระเบียบต่างๆ เพราะกฎจะไร้ความหมายหากเด็กๆ แหกกฎแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย

6. ทำความเข้าใจว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ

โปรดเข้าใจว่าไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ ลูกๆ ที่ดื้อก็เช่นกันอาจจะมีช่วงเวลาที่พลาดพลั้งทำตัวไม่น่ารัก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ให้ทุกอย่างอยู่ในขอบเขต มองถึงเรื่องเชิงบวกของพวกเขา อย่ามัวแต่จดจ่อกับแง่ลบ หรือทำเหมือนการพลาดพลั้งของเขาเป็นสิ่งที่คุณ หรือเขาล้มเหลว

7. ส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวก 

 มุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกและไว้วางใจกับลูกของคุณบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน การเอาใจใส่ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน ทำกิจกรรมที่พวกเขาชอบ และแสดงความสนใจในชีวิตของพวกเขาอย่างแท้จริง ความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกที่แข็งแกร่งสามารถช่วยผ่านพ้นช่วงเวลาที่ท้าทายและส่งเสริมพัฒนาการที่ดีได้
  1. ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็น 
 หากพฤติกรรมของลูกของคุณรุนแรงหรือต่อเนื่อง หรือหากคุณกำลังดิ้นรนที่จะจัดการกับการดื้อรั้นของพวกเขาด้วยตัวเอง ให้ลองขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดหรือที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถให้คำแนะนำ กลยุทธ์ และการสนับสนุนที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของครอบครัวของคุณได้

บทสรุปจัดการกับเด็กดื้อ

แม้ว่าพ่อแม่ไม่อยากที่จะเห็นลูกดื้อ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนี่คือเส้นทางการเติบโตของพัฒนาการพวกเขาที่พ่อแม่ และเด็กๆ ต้องก้าวข้ามไปด้วยกัน หากไม่สามารถรับมือกับความดื้อของเด็กๆ ได้โดยลำพัง โปรดปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อที่จะวางแผนจัดการได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย และสภาวะแวดล้อมของเด็กๆ การสามารถค้นหาสาเหตุของการดื้อ จะทำให้การรับมือ และพัฒนาการของเด็กๆ ก้าวหน้าอย่างประสบความสำเร็จ ทั้งพัฒนาการด้านอารมณ์ ด้านพฤติกรรม และพัฒนาการด้านการปรับตัว รวมทั้งการเผชิญกับปัญหาที่ต้องแก้ไข
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด