วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine) – ประสิทธิภาพผลข้างเคียง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ อะไร (Rabies vaccine)

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า คือ การนำเชื้อไวรัสเรบีส์มาเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการเฉพาะ จากนั้นทำให้ตายก่อนที่จะนำมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยการฉีดสามารถฉีดได้ 2 ทาง คือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular : IM) และการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal : ID)  วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าสามารถฉีดเพื่อป้องกันโรคไว้ได้แม้จะไม่เคยได้รับเชื้อ เพื่อให้ร่างกายเตรียมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเอาไว้ก่อน และควรฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด หรือทำให้เกิดบาดแผล แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100%

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านมีกี่ชนิด

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่
  1. Lyssavac N (Purified Duck Embryo Cell Rabies Vaccine : PDEV) เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสตัวอ่อนในไข่เป็ดที่ฟักตัวแล้ว (Embryonated D uck Eggs) ซึ่งวัคซีนชนิดนี้แนะนำให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น
  2. SII Rabivax (Human Diploid Cell Rabies Vaccine : HDCV) เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสใน Human Diploid Cell ซึ่งวัคซีนชนิดนี้แนะนำให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น
  3. Rabipur (Purified Chick Embryo Cell Rabies Vaccine : PCECV) เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสใน Primary chick embryo fibroblast cell วัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดได้ทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อ IM และเข้าชั้นผิวหนัง ID
  4. Verorab (Purified Vero Cell Rabies Vaccine : PVRV) เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสใน Vero Cell สามารถฉีดได้ทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อ IM และเข้าชั้นผิวหนัง ID
วัคซีนทั้ง 4 ชนิดรวมกันแล้วจะเรียกว่า วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งจะมีความปลอดภัย และมีความบริสุทธิ์มากกว่าแบบที่นำเชื้อเรบีส์จากสมองสัตว์ที่เป็นโรคมาทำวัคซีน ซึ่งปัจจุบันไม่มีการนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้แล้ว

การฉีดวัคซีน

การฉัดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า สามารถแบ่งการฉีดออกเป็นสองลักษณะ 1. การฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสโรค (Prophylaxis) มักฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกสัตว์กัด เช่น สัตวแพทย์, บุรุษไปรษณีย์, เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเรบีส์ หรือในเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เช่น กัน ขั้นตอนในการฉีดวัคซีน : ต้องทำการฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง  เข็มที่ 1 วันที่ 0 (หมายถึงวันที่ได้รับการฉีดวัคซีนวันแรก) เข็มที่ 2 วันที่ 7 และเข็มที่ 3 วันที่ 21 หรือ 28 หลังจากนั้นอีก 1 ปีอาจฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็ม เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงกว่าระดับที่ป้องกันโรคได้เป็นระยะเวลานาน

Rabies vaccine

2. การฉีดวัคซีนหลังการสัมผัสโรค โดยจะต้องพิจารณาความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยเสมอ สามารถแบ่งเป็นกรณีดังนี้ 2.1 ไม่ต้องฉีดวัคซีน : กรณีที่สัมผัสกับสัตว์แต่ผิวหนังของเราไม่มีบาดแผล หรือรอยถลอกใดๆ เช่น การให้อาหาร ถูกสัตว์เลีย สัมผัสน้ำลาย หรือเลือด ยกเว้น น้ำลาย หรือเลือดของสัตว์กระเด็นเข้าตา หรือปาก จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกราย 2.2 ต้องฉีดวัคซีน : กรณีที่
  • ถูกงับเป็นรอยช้ำที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก
  • ถูกเลีย หรือน้ำลายถูกผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือมีบาดแผล
  • ถูกข่วนที่ผิวหนังโดยไม่มีเลือดออก หรือเลือดออกเล็กน้อย
  • ถูกกัด หรือข่วนจนเกิดแผล และมีเลือดออก
  • มีน้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น เลือด จากตัวสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์ รวมถึงการชำแหละ หรือลอกผิวหนังสัตว์ กระเด็นถูกเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือแผลตามผิวหนัง
ขั้นตอนการฉีดวัคซีน : พิจารณาจากประวัติการได้รับวัคซีน แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนเลย หรือฉีดมาแล้วแต่ฉีดน้อยกว่า  3 เข็ม การฉีดจะคล้ายกับการฉีดก่อนการสัมผัสโรค แต่ต่างกันที่วันแรกของการฉีดจะต้องได้รับยาเป็น 2 เท่า เข็มที่ 1และ 2 วันที่ 0 (หมายถึงวันที่ได้รับการฉีดวัคซีนวันแรก) เข็มที่ 3 วันที่ 7 เข็มที่ 4 วันที่ 28 นอกจากนี้ในรายที่ถูกสัตว์กัด หรือข่วนจนเกิดเป็นแผล และมีเลือดออก หรือถูกกัดบริเวณใบหน้า ศีรษะ ลำคอ มือ และนิ้วมือ หรือเป็นแผลลึก ฉกรรณ จะต้องได้รับการฉีดอิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulin : IG) โดยเร็วที่สุด บริเวณโดยรอบบาดแผลี่วมกับวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 ในวันแรก (วันที่ 0) เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม โดยฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือน ในกรณีนี้จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 2 เข็มเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เข็มที่ 1 วันที่ 0 เข็มที่ 2 วันที่ 3 โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลิน ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม โดยฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีนี้จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพียงเข็มเดียว โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลิน  อิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulin : IG) เป็นโปรตีนภายในร่างกาย ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถผลิตได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้วนำเลือดออกมาสกัดแยกเซรั่มในการผลิตอิมมูโนโกลบุลินต่อไป ซึ่งสามารถทำการฉีดประตุ้นจนกระทั้งร่างกายมีแอนติบอดีอยู่ในระดับที่สูงพอ ปัจจุบันมีอิมมูโนโกลบุลินที่ผลิตจากม้า และจากมนุษย์ โดยอิมมูโนโกลบุลินจากม้ามีอุบัติการณ์การแพ้มากกว่าอิมมูโนโกลบุลินจากมนุษย์

ประสิทธิภาพ

ไม่มีระยะเวลาป้องกันของวัคซีนที่ชัดเจน ดังนั้นหากได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นภายหลังฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือนขึ้นไป ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันทันที หรือขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าพบได้น้อย แต่อาการที่เป็นไปได้ภายหลังการฉีด ได้แก่ กรณีที่มีประวัติแพ้สาร หรือวัคซีนตัวอื่น รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเรื้อรัง หรือการใช้ยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ (Steroids) ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

ข้อควรระวัง

หากลืมมาฉีดวัคซีนตามนัด ให้รีบเข้ารับการฉีดวัคซีนต่อจนครบให้เร็วที่สุด ซึ่งมีข้อมูลระบุว่า หากล่าช้าไม่เกิน 2-3 วัน จะไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน หากล่าช้าเกิน 3 วันไปแล้วอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ในสตรีมีครรภ์ไม่มีข้อห้ามในการเข้ารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เนื่องจากวัคซีนทำจากเชื้อตาย รวมไปถึงอิมมูโนโกลบุลินก็ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดแก่สตรีมีครรภ์เช่นกัน

ข้อเท็จจริงของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคไวรัสร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์ด้วย วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ข้อมูลสำคัญบางประการเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีดังนี้
  • ประเภทของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า:
      • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีสองประเภทหลักๆ ได้แก่ การป้องกันโรคก่อนสัมผัส (PrEP) และการป้องกันภายหลังการสัมผัส (PEP)
        • PrEP:นี่คือชุดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ฉีดก่อนที่จะมีโอกาสสัมผัสกับไวรัส มักแนะนำสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัส เช่น สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
        • PEP:นี่คือชุดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อไวรัส การให้ยา PEP เพื่อป้องกันการเกิดอาการและการลุกลามของโรคภายหลังการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
  • กำหนดการบริหาร:
      • โดยทั่วไปวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าจะฉีดเป็นชุดตามระยะเวลาที่กำหนด กำหนดการอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการได้รับยาสี่หรือห้าโดสในช่วงสองสามสัปดาห์
  • ประสิทธิผล:
      • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหากฉีดก่อนหรือหลังสัมผัสไม่นาน การป้องกันภายหลังการสัมผัสจะมีประสิทธิภาพเมื่อให้ทันทีหลังจากได้รับสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น ก่อนเริ่มแสดงอาการ
  • การป้องกันโรคก่อนการสัมผัส (PrEP):
      • แนะนำให้ใช้ PrEP สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ควบคุมสัตว์ และบุคลากรในห้องปฏิบัติการที่ทำงานกับตัวอย่างโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ยังให้บริการแก่นักเดินทางที่มาเยือนภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคพิษสุนัขบ้า
  • การป้องกันโรคหลังการสัมผัส (PEP):
      • การให้ยา PEP หลังจากได้รับเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าผ่านการกัด รอยขีดข่วน หรือการสัมผัสน้ำลายจากสัตว์ที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ควรเริ่มการรักษาด้วย PEP โดยเร็วที่สุดหลังจากได้รับเชื้อ
  • บูสเตอร์ช็อต:
      • บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการประกอบอาชีพ อาจได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในขนาดเพิ่มตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์
  • ระยะเวลาของภูมิคุ้มกัน:
      • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ภูมิคุ้มกันยาวนาน หลังจากเสร็จสิ้นชุดแรกแล้ว แนะนำให้ใช้บูสเตอร์ช็อตสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสอย่างต่อเนื่อง แต่ระยะเวลาระหว่างบูสเตอร์อาจแตกต่างกัน
  • ปลอดภัยสำหรับบุคคลส่วนใหญ่:
      • โดยทั่วไปวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีความปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยไม่รุนแรงและรวมถึงอาการปวดบริเวณที่ฉีดและอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เล็กน้อย
  • โกลบูลินภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า (RIG):
    • นอกจากวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ผู้ที่ได้รับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายหลังการสัมผัสเชื้ออาจได้รับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า (RIG) ด้วย RIG ให้ภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟทันทีโดยการจัดหาแอนติบอดีต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือหากบุคคลสัมผัสกับสัตว์ที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า การไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการประเมิน และหากจำเป็น การเริ่มการป้องกันภายหลังการสัมผัสสัตว์ถือเป็นสิ่งสำคัญ โรคพิษสุนัขบ้าถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และการแทรกแซงแต่เนิ่นๆ สามารถป้องกันการเกิดอาการและช่วยชีวิตได้ หากคุณมีข้อกังวลหรือคำถามเฉพาะเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทางเพื่อรับคำแนะนำเฉพาะบุคคลตามสถานการณ์ส่วนบุคคลของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/rabies-vaccine-intramuscular-route/description/drg-20069868
  • https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/rabies.html
  • https://www.nhs.uk/conditions/rabies/vaccination/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด