ภาพรวม
การคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นเมื่อมีการหดตัวผิดปกติที่ส่งผลปากมดลูกเปิดหลังจากตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และก่อนการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 การคลอดก่อนกำหนดเป็นผลทำให้เด็กคลอดก่อนเวลา ซึ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์สูง เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด เด็กพรีมี่อาจมีความพิการทางกาย หรือจิตใจในระยะยาว สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดนั้นไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงที่แน่ชัด ปัจจัยความเสี่ยงบางอย่างอาจเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด แต่การคลอดก่อนกำหนดก็สามารถเกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงอาการ
สัญญานและอาการของการคลอดก่อนกำหนดเช่น:- มีอาการเกร็งงที่หน้าท้องบ่อยหรือผิดปกติ (การหดตัว)
- ปวดหลัง
- รู้สึกมีแรงกดที่หน้าท้องส่วนล่างหรือกระดูกเชิงกราน
- ปวดเกร็งที่หน้าท้องไม่รุนแรง
- มีเลือดออกจางๆหรือเป็นจุดจากช่องคลอด
- ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด – มีของเหลวไลหรือหยดหลังจากเนื้อเยื่อรอบๆตัวเด็กแตกหรือมีการฉีกขาด
- ตกขาวมีการเปลี่ยนแปลง – เป็นน้ำคล้ายเมือกมูกหรือเลือด
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
หากเคยมีสัญญานหรืออาการ หรือเป็นกังวลควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเป็นเรื่องการเข้าใจผิดเรื่องการคลอดก่อนกำหนดปัจจัยความเสี่ยง
การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกการตั้งครรภ์ สาเหตุคลอดก่อนกำหนดมีปัจจัยมากมายที่มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งรวมไปถึง:- เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ทั้งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง
- ตั้งครรภ์ท้องแฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่า
- ปาดมดลูกสั้น
- มดลูกหรือรกมีปัญหา
- สูบบุหรี่หรือใช้ยาเสพติด
- มีการติดเชื้อบางชนิด โดยเฉพาะที่ปากมดลูกหรือในน้ำคร่ำ
- มีโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง และโรคซึมเศร้า
- มีเหตุการณ์เครียดในชีวิต เช่นการเสียชีวิตของคนที่รัก
- มีน้ำคร่ำมากเกินไป (ภาวะน้ำคร่ำมาก)
- มีเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์
- เคยมีทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด
- มีระยะห่างของการตั้งครรภ์น้อยกว่า 12 เดือน หรือมากกว่า 59 เดือน
- อายุของมารดา ทั้งแบบเด็กหรืออายุมากเกินไป
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนดมักเกิดขึ้นกับตัวเด็ก เช่น มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยเกินไป มีปัญหาการหายใจ อวัยวะและการมองเห็นยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะสมองพิการ การบกพร่องด้านการเรียนรู้และมีปัญหาด้านพฤติกรรมการป้องกัน
คุณอาจไม่สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ – แต่คุณสามารถดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงการตั้งครรภ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น:- พบแพทย์เป็นประจำ การไปพบแพทย์จะช่วยทำให้แพทย์สามารถเฝ้าติดตามดูสุขภาพทั้งของคุณและของลูกน้อยได้ อาจคอยเฝ้าดูสัญญานหรืออาการที่คุณเป็นกังวล โดยเฉพาะหากคุณเคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อนหรือเมื่อมีสัญยานหรืออาการคลอดก่อนกำหนด คุณอาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์บ่อยมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์
- รับประทานอาการที่ดีต่อสุขภาพ การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพที่ดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้รับสารอาหารที่ดี มีคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณมากเพราะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งพบได้ในถั่ว ธัญพืช ปลาและซีดออย
- หลีกเลี่ยงสสารที่สร้างความเสี่ยง หากคุณสูบบุหรี่ ให้เลิกบุหรี่ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโปรแกรมการเลิกบุหรี่
- มีช่วงระยะห่างของการตั้งครรภ์ จากการวิจัยพบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของระยะห่างการตั้งครรภ์ หากพบว่ามีระยะห่างน้อยกว่าหกเดือนหรือมากกว่า 59 เดือน จะมีความเสี่ยงให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดสูง ปรึกษาแพทย์หากคุณมีการตั้งครรภ์ในช่วงระยะเวลาห่างดังกล่าว
- ระมัดระวังเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเจริญพันธุ์ (ART) หากคุณวางแผนจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการตั้งครรภ์ เพราะจะต้องมีตัวอ่อนหลายตัวในการนำไปฝังตัว อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์หลายใบจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงสูงขึ้นในการคลอดก่อนกำหนด
- จัดการโรคเรื้อรัง โรคบางโรคเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน อาตมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการคลอดก่อนกำหนด ปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมโรคเรื้อรังดังกล่าว
การดูแลตัวเองเมื่อคลอดก่อนกำหนด
การฟื้นตัวจากการคลอดก่อนกำหนดเกี่ยวข้องกับการจัดการสาเหตุที่แท้จริง การจัดการภาวะแทรกซ้อน และการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งแม่และทารก ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่อาจดำเนินการในระหว่างกระบวนการกู้คืน:- ยา:
-
-
- ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจสั่งจ่ายยา เช่น ยาโทโคไลติกส์ เพื่อป้องกันหรือชะลอการหดตัว อาจให้คอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อเร่งการพัฒนาปอดของทารกในครรภ์
-
- การรักษาโรคติดเชื้อ:
-
-
- หากการติดเชื้อเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด อาจให้ยาปฏิชีวนะหรือการรักษาอื่นๆ ที่เหมาะสม
-
- การติดตามและติดตามผลการนัดหมาย:
-
-
- การติดตามทั้งแม่และลูกจะดำเนินต่อไป จะมีการกำหนดการนัดหมายเพื่อติดตามผลเพื่อประเมินความคืบหน้าของการตั้งครรภ์และแก้ไขข้อกังวลต่างๆ
-
- การสนับสนุนทางอารมณ์:
-
-
- การต้องคลอดก่อนกำหนดอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์ ขอการสนับสนุนจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ครอบครัว และเพื่อนฝูง ลองเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือขอคำปรึกษาเพื่อช่วยรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวล
-
- การศึกษาและการให้คำปรึกษา:
-
-
- ทีมดูแลสุขภาพของคุณอาจให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด สาเหตุ และมาตรการป้องกัน การให้คำปรึกษายังช่วยให้คุณเข้าใจแง่มุมทางอารมณ์ของประสบการณ์ได้อีกด้วย
-
- ข้อจำกัดของกิจกรรม:
-
-
- ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำข้อจำกัดในการทำกิจกรรม เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือการออกกำลังกายหนัก เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
-
- ความชุ่มชื้นและโภชนาการ:
-
-
- การรักษาความชุ่มชื้นและโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านอาหารที่ได้รับจากทีมดูแลสุขภาพของคุณ
-
- การติดตามพัฒนาการของทารกอย่างใกล้ชิด:
-
-
- อัลตราซาวนด์ปกติและวิธีการติดตามอื่น ๆ จะถูกนำมาใช้เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
-
- การป้องกันการเกิดซ้ำ:
-
- ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจหารือเกี่ยวกับมาตรการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดซ้ำในการตั้งครรภ์ในอนาคต
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.marchofdimes.org/complications/preterm-labor-and-premature-birth-are-you-at-risk.aspx
- https://www.webmd.com/baby/guide/premature-labor
- https://www.acog.org/womens-health/faqs/preterm-labor-and-birth
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น