รกเกาะต่ำ (Placenta Previa): อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
รกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำคืออะไร 

รกเกาะต่ำ (Placenta Previa) คือภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมดในช่วงเดือนท้ายๆของการตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด  รกจะมีการพัฒนาในมดลูกของผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์ รกมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจนจากมารดาเข้าสู่ทารก และยังแลกเปลี่ยนของเสียของทารกออกสู่มารดา รกมักถูกเรียกว่า “อาฟเตอร์เบิร์ธ” เพราะมันจะถูกนำออกจากร่างกายหลังจากที่ทารกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ รกจะก่อตัวขึ้นและเจริญเติบโตอยู่ในมดลูก ในผู้หญิงตั้งครรภ์ทั่วไปรกควรจะเกาะต่ำในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ในขณะที่การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปนั่นเอง รกก็จะขยายตัวและเคลื่อนตัวขึ้นไปสู่ด้านบนของมดลูก โดยในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ รกควรจะอยู่ด้านบนสุดของมดลูกตรงตำแหน่งที่เป็นการเปิดทางให้ปากมดลูกหรือทางออกด้านล่างสุดของมดลูกเปิดเตรียมพร้อมในการคลอดบุตร  แต่หากรกเกิดเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่างใกล้กับปากมดลูกก็อาจไปปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดไว้ หากเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆของการตั้งครรภ์เราจะเรียกภาวะนี้ว่า placenta previa หรือภาวะรกเกาะต่ำ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องนอนพักนิ่งๆบนเตียง

อาการร่วมของภาวะรกเกาะต่ำ

อาการหลักๆที่พบคือจะมีเลือดไหลตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปริมาณมากจากช่องคลอด แต่ก็อาจเกิดอาการด้านล่างร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันที:
  • มีอาการปวดหรือเจ็บแปลบ
  • เริ่มมีเลือดออกจากนั้นก็หยุด ก่อนจะกลับมามีเลือดออกอีกครั้งในช่วง2-3วันหรือในช่วงสัปดาห์ต่อมา
  • มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกในช่วงระหว่างครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจพัฒนาไปสู่ภาวะรกเกาะต่ำ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจพัฒนาไปสู่ภาวะรกเกาะต่ำคือ:
  • ตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์: ก้น(เอาก้นออกก่อน) หรือแบบขวาง(การนอนแนวขวางกับมดลูก)
  • การผ่าตัดในอดีตรวมไปถึงการผ่าตัดมดลูก การผ่าคลอดทางหน้าท้อง การผ่าตัดเอาเนื้องอกในมดลูกออก การขูดมดลูก
  • การตั้งครรภ์แฝดหรือมีจำนวนทารกในครรภ์มากกว่า1คน
  • ผ่านการแท้งบุตรมาก่อน
  • รกมีขนาดใหญ่
  • มดลูกมีรูปร่างที่ผิดปกติ
  • การตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่2เป็นต้นไป
  • เคยมีภาวะรกเกาะต่ำในอดีต
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไป
  • เป็นคนเอเซีย  
  • มีพฤติกรรมสูบบุหรี่

วินิจฉัยรกเกาะต่ำได้อย่างไร?

ตามปกติแล้วนั้นสัญญานแรกของรกเกาะต่ำจะแสดงอาการให้เห็นในช่วงสัปดาห์ที่20ของการตั้งครรภ์โดยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวด์ แต่สัญญานเริ่มต้นนี้อาจยังไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล เพราะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ก็สามารถพบเจอรกที่เกาะต่ำได้บ่อยด้วยเช่นกัน ตามปกติแล้วนั่นรกมักจะแก้ไขได้ด้วยตัวของมันเอง ตามผลการวิจัยของRoyal College of Obstetricians and Gynaecologists พบว่ามีเพียงแค่10เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะรกเกาะต่ำเต็มตัว หากพบว่ามีเลือดไหลออกมาในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์จะติดตามดูตำแหน่งของรกโดยวิเคราะห์จากวิธีใดวิธีหนึ่งจากวิธีดังต่อไปนี้:
  • การอัลตราซาวน์ผ่านทางช่องคลอด :แพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจดูภายในช่องคลอดและปากมดลูก 
  • การอัลตราซาวน์ทางหน้าท้อง โดยแพทย์เทคนิคจะทาเจลที่บริเวณหน้าท้อง จากนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าตัวแปลงสัญญาน (transducer) ไปทั่วบริเวณหน้าท้องเพื่อตรวจดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ซึ่งภาพจะปรากฎบนหน้าจอของเครื่อง
  • การตรวจผ่านเครื่องMRI (เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า)ภาพที่ได้จะสามารถชี้ชัดถึงตำแหน่งของของรกได้อย่างแม่นยำ 

ประเภทของรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำแบ่งได้ 4 ประเภท แบ่งตามอาการตั้งแต่น้อยถึงมาก แต่ละประเภทจะส่งผลกับมารดาในการตัดสินใจว่าจะคลอดบุตรตามวิธีปกติหรือมีความจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง การดูแลรักษาภาวะรกเกาะต่ำจะขึ้นอยู่กับประเภทที่เป็นว่าเป็นชนิดใด

แบบ Partial

รกจะปิดขวางหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกบางส่วน การคลอดทางช่องคลอดยังอาจเกิดขึ้นได้

แบบ Low-Lying

รกเกาะต่ำประเภทนี้มักเกิดขึ้นในช่วงต้นถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ รกจะอยู่บริเวณด้านล่างใกล้กับขอบของปากมดลูก แต่ยังสามารถคลอดได้ทางช่องคลอดได้ตามปกติ

แบบ Marginal

รกจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของมดลูก และจะดันถูกปากมดลูก และเพราะว่าบริเวณตรงขอบรกจะโดนกับปากมดลูกที่เปิดอยู่ภายใน การคาบเกี่ยวกันด้วยลักษณะเช่นนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดไหลเล็กน้อยได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ

แบบ Major or complete

ประเภทนี้เป็นแบบที่รุนแรงที่สุด รกจะปิดหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกทั้งหมด เป็นสาเหตุให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติไม่ได้ จึงแนะนำให้ผ่าคลอด ในรายที่เป็นรุนแรง อาจเกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด  ในทุกๆประเภท หากพบว่ามีเลือดไหลมากและไม่หยุด มีความจำเป็นต้องผ่าตัดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องตัวมารดาและทารกในครรภ์

การรักษารกเกาะต่ำ

แพทย์จะทำการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาภาวะรกเกาะต่ำขึ้นอยู่สิ่งต่างๆดังต่อไปนี้:
  • ปริมาณของเลือดที่ไหลออกมา
  • ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์
  • สุขภาพของทารก
  • ตำแหน่งของรกและตัวทารก
แพทย์จะพิจารณาถึงปริมาณของเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดเป็นหลักว่าจะใช้แนวทางใดในการรักษา

กรณีที่ไม่มีเลือดหรือมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย

ในกรณีที่ไม่มีเลือดหรือมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักอยู่บนเตียงที่บ้าน ซึ่งหมายถึงการนอนบนเตียงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลุกขึ้นหรือนั่งลงได้ในเฉพาะเวลาที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการออกกำลังกาย หากยังคงมีเลือดไหลในช่วงระหว่างเวลานี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

กรณีที่มีเลือดออกมาก

ในกรณีที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักที่โรงพยาบาล ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเลือดที่เสียไป คุณอาจจำเป็นต้องให้เลือดเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป แพทย์อาจใช้ยาป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในรายที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจแนะนำให้เตรียมผ่าคลอดทางหน้าท้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แพทย์อาจจะมีการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์(corticosteroid) เพื่อเร่งการพัฒนาปอดของทารก 

กรณีที่มีเลือดไหลไม่หยุด

ในรายที่มีเลือดไหลไม่หยุดแพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน

ภาวะแทรกซ้อนของรกเกาะต่ำ

ในช่วงระหว่างเจ็บท้องคลอด ปากมดลูกจะเปิดออกเพื่อยอมให้ทารกเคลื่อนตัวออกมาจากช่องว่างของช่องคลอด หากรกเกาะต่ำอยู่ตรงบริเวณด้านหน้าของปากมดลูก รกจะฉีกขาดในขณะที่ปากมดลูกเปิดเป็นสาเหตุทำให้เลือดออกภายใน และอาจต้องผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าจะยังไม่ครบกำหนดคลอดก็ตาม มิฉะนั้นมารดาอาจเสียเลือดจนถึงแก่ขีวิตได้หากยังไม่ทำการใดๆ การคลอดทางช่องคลอดเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะคนที่เคยการตกเลือดรุนแรงมากก่อนทั้งในขณะเจ็บท้องคลอดและคลอดบุตร หรือหลังจากคลอดบุตรไปสองสามชั่วโมงแล้วก็ตาม

การจัดการและให้ความช่วยเหลือสำหรับมารดา

การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะรกเกาะต่ำอาจสร้างความตื่นตระหนกให้กับมารดาที่เต็มไปด้วยความหวัง   ให้ความรู้ความเข้าใจ: ยิ่งคุณรู้มากเท่าไรคุณจะยิ่งควรรู้ว่าต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ควรหาข้อมูลติดต่อกับหญิงตั้งครรภ์คนอื่นๆที่เคยผ่านการตั้งครรภ์ในภาวะรกเกาะต่ำ ควรเตรียมใจไว้สัหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง: ด้วยประเภทแต่ละชนิดของการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ บางชนิดอาจไม่สามารคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ ต้องจำเป้าหมายสูงสุดในการตั้งครรภ์ไว้ให้ดี เรื่องสุขภาพของมารดาและเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด รู้สึกสนุกกับการนอนพักผ่อนบนเตียง: หากคุณเคยเป็นคนที่ทำกิจกรรมตลอดเวลา การต้องนอนพักอยู่บนเตียงอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนถูกกักขัง คุณควรนำเวลาที่มีนี้มาใช้อย่างชาญฉลาดโดยการเริ่มทำงานโปรเจคเล็กๆน้อย อย่างเช่น
  • การจัดอัลบั้มรูป
  • การเขียนจดหมาย
  • ลงมืออ่านหนังสือเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนไป
ตามใจตัวเองบ้าง: ปล่อยใจไปกับความพึงพอใจเล็กๆน้อยๆ เช่น:
  • ซื้อชุดนอนสบายๆใหม่ 
  • อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม
  • ดูทีวีรายการโปรด
  • ลงมือเขียนบันทึกสิ่งดีๆที่เรารู้สึกขอบคุณ

การป้องกันรกเกาะต่ำ

  • การดูแลตัวเองก่อนคลอด
    • การดูแลตัวเองก่อนคลอดตั้งแต่เนิ่นๆและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ เข้าร่วมการตรวจสุขภาพก่อนคลอดตามกำหนดเวลาทั้งหมดของคุณ เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถติดตามการตั้งครรภ์ของคุณและตรวจพบปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงรกเกาะต่ำได้โดยเร็วที่สุด
  • การตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยง
    • ตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับรกเกาะต่ำ เช่น ประวัติของรกเกาะต่ำในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน การตั้งครรภ์แฝด (แฝด แฝดสาม หรืออื่น ๆ ) อายุมารดาขั้นสูง การผ่าตัดมดลูกก่อน (เช่น การผ่าตัดคลอดหรือการผ่าตัดมดลูก) การกำจัดเนื้องอก) และการสูบบุหรี่ หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ โปรดปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติด
    • การสูบบุหรี่และการใช้สารบางอย่างในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรกเกาะต่ำได้ หากคุณสูบบุหรี่หรือใช้ยาเสพติด ให้ขอความช่วยเหลือในการเลิกหรือลดการใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
    • การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างรกเกาะต่ำและการบาดเจ็บที่ปากมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมทางเพศที่รุนแรง การฝึกมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและอ่อนโยนในระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่ปากมดลูกได้
    • ส่วนที่เหลือของกระดูกเชิงกราน:หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีรกต่ำหรือรกเกาะต่ำ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำให้พักผ่อนในอุ้งเชิงกราน ซึ่งหมายถึงการหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศและงดเว้นการสอดสิ่งใดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการระคายเคืองหรือมีเลือดออกอีก
  • การผ่าตัดคลอด หากได้รับการวินิจฉัยว่ารกเกาะต่ำและมีรกคลุมปากมดลูก มักแนะนำให้ทำการผ่าตัดคลอด (C-section) เพื่อป้องกันเลือดออกรุนแรงระหว่างการคลอด ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณจะเป็นผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดตามความรุนแรงของอาการของคุณ
โปรดจำไว้ว่ารกเกาะต่ำไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป เนื่องจากบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้เองแม้จะไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงก็ตาม หากคุณสงสัยว่าคุณอาจมีรกเกาะต่ำหรือมีความเสี่ยง การสื่อสารอย่างเปิดเผยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาสามารถติดตามการตั้งครรภ์ของคุณอย่างใกล้ชิดและให้คำแนะนำตามสถานการณ์เฉพาะของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/placenta-previa/symptoms-causes/syc-20352768
  • https://www.webmd.com/baby/guide/what-is-placenta-previa
  • https://medlineplus.gov/ency/article/000900.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด