การคลอดธรรมชาติ (Natural Birth) – อันตราย วิธีบรรเทาความเจ็บปวด

การคลอดลูก

ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจจะคลอดลูกเองที่บ้านในอ่างอาบน้ำ หรือเลือกการผ่าตัดคลอด หรือคลอดเองตามธรรมชาติ คุณก็คือซุปเปอร์ฮีโร่ที่ไม่สนใจว่าลูกน้อยของคุณจะมาทางไหนก็ได้แล้ว แต่เมื่อนึกถึงคำว่า “คลอดธรรมชาติ” นั้นย่อมหมายความถึงการคลอดบุตรที่ปราศจากการใช้ยา ในบางรายอาจหมายไปถึงการไม่ใช้แม้กระทั่งยาแก้ปวดในระหว่างคลอดลูกเลยด้วยซ้ำไป บางกรณีอาจมีการอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์บางชนิด เช่น เครื่องติดตามการเต้นหัวใจของทารก หรืออาจไม่ใช้ใดๆเลยก็ได้ เมื่อปราศจากการใช้ยาแก้ปวด ผู้หญิงก็ต้องรู้จักเทคนิคการผ่อนคลาย และรู้วิธีควบคุมการหายใจเพื่อนำมาช่วยในการบรรเทาอาการปวด

การคลอดธรรมชาติ 

หากคุณคิดว่าการคลอดบุตรแบบปราศจากการใช้ยาอาจฟังดูเป็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็มีหลายเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงบางคนจึงยังคงเลือกที่จะทำ เช่น นั้น ยาแก้ปวดอาจส่งผลต่อการคลอดบุตร เช่น อาจเป็นตัวเร่ง หรือทำให้ช้าลง และยังส่งผลกับตัวมารดาเองด้วย เช่น ทำให้ความดันเลือดลดต่ำลง หรือเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอาเจียนขึ้นได้ ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะคลอดบุตร “แบบธรรมชาติ” เพราะว่าพวกเธอต้องการควบคุมกระบวนการคลอดบุตรด้วยตนเอง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องการจัดการกับอาการเจ็บปวด หรือพวกเธออาจรู้สึกว่าการไม่ใช่ยาใดๆจะช่วยทำให้พวกเธอรู้สึกใกล้ชิดกับประสบการณ์คลอดลูก และจดจำช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้ดี และชัดเจนมากกว่า

การคลอดแบบธรรมชาติมีความเสี่ยง หรือไม่ 

ไม่มีอะไรแน่นอนสำหรับสิ่งนี้ แต่ที่แน่ๆที่คุณจะต้องรู้สึกเจ็บปวด แม้คุณจะเคยมีบุตรมาก่อนก็ตาม คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าคุณจะต้องรู้สึกเจ็บปวดมากแค่ไหนในระหว่างคลอด หรือคุณจะรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ดี หรือไม่ ทุกๆการคลอดบุตร ไม่ว่าคุณจะใช้ยาแก้ปวด หรือไม่ใช้ก็ตาม ทุกครั้งย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งสิ้น เช่น อาจเสียเลือดมาก หรืออาจเกิดปัญหากับสายสะดือ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจยากในการระบุ หรือรักษาได้หากปราศจากเครื่องมือทางการแพทย์ หากคุณเลือกที่จะการคลอดปกติโดยไม่ใช้ยาบรรเทาอาการปวด คุณอาจต้องเปิดใจกว้างเผื่อไว้กับทางเลือกอื่น เช่น การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉินหากมีความจำเป็น

ทำไมการคลอดบุตร “แบบธรรมชาติ” อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 

หากคุณมีการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจแนะนำว่าคุณไม่ควรคลอดบุตร “แบบธรรมชาติ” ได้ หญิงตั้งครรภ์ที่ถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงหากคุณมีสิ่งต่อไปนี้:
  • อายุมากกว่า 35 ปี
  • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาในขณะตั้งครรภ์
  • เคยมีการผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน เช่น การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
  • มีประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือมีปัญหาลิ่มเลือด
  • ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน 
  • มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หรือรกมีปัญหา

สิ่งที่คาดหวังจากการคลอด “แบบธรรมชาติ” คือ อะไร

หากคุณปล่อยให้การคลอดเริ่มดำเนินไปตามธรรมชาติ และผ่านกระบวนการโดยไม่อาศัยเครื่องมือทางการแพทย์ใดๆจนถึงเวลาทารกคลอด การตั้งครรภ์นี้ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบใดๆเว้นเสียแต่มีเหตุจำเป็น แต่หากคุณวางแผนจะคลอดบุตรที่โรงพยาบาล แพทย์ หรือผดุงครรภ์สามารถช่วยคุณเลือกเวลาที่ดีที่สุดในการคลอดให้คุณได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน คุณอาจต้องการใช้เครื่องมอนิเตอร์บางชนิด เช่น เครื่องมอนิเตอร์หัวใจของทารก ถ้าคิดว่ามีความจำเป็น หรือมีเครื่องมอนิเตอร์ปกติทั่วไปเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการคลอดจะเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อร่างกายคุณพร้อมแล้ว คุณอาจเลือกการคลอดทางช่องคลอดในท่าคลอดที่คุณรู้สึกสบายที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อสุขภาพของทั้งตัวคุณ และลูกน้อยของคุณ

Natural Birth

ในการคลอดบุตรทุกรูปแบบ การคลอดบุตร “แบบธรรมชาติ” ต้องใช้เวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน เมื่อปราศจากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์คุณอาจต้องรอใช้ระยะเวลาปากมดลูกเปิดขยายเองตามธรรมชาติ และเมื่อไม่ได้ใช้ยาเร่งในการคลอด ดังนั้นระยะการคลอดอาจต้องใช้เวลานานมากขึ้น หรือในอีกแง่หนึ่ง การใช้เครื่องมือทางการแพทย์บางอย่าง เช่น การบล็อคหลังก็อาจทำให้การคลอดล่าช้าได้ เช่น กัน และจำไว้เสมอว่าคนที่เพิ่งเคยคลอดบุตรครั้งแรกมักใช้เวลานานกว่าเสมอ ระดับความเจ็บในการคลอดบุตรมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน มีหลายวิธีในการบรรเทาความเจ็บปวดที่ถูกนำมาใช้ในระหว่างการคลอดบุตร

วิธีในการบรรเทาอาการเจ็บปวดในระหว่างคลอดบุตร

  • เทคนิคการหายใจ
  • การนวด
  • แช่ หรืออาบน้ำอุ่น คุณอาจคลอดบุตรในอ่างอาบน้ำได้ ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของทางโรงพยาบาล
  • หาตำแหน่งท่าทางที่รู้สึกสบายที่สุด
  • เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น เพลง หรือเกมส์
  • ใช้แผ่นประคบร้อน หรือประคบเย็น
  • ใช้ Birthing Ball
  • ใช้การกดจุด
  • สนับสนุนทางด้านอารมณ์
ส่วนใหญ่แม่ที่จะสามารถอยู่กับลูกน้อยหลังการคลอดได้ และเริ่มต้นให้นมบุตรได้เลยหากคุณเลือกที่จำทำ เช่น นั้นได้ทันทีที่คุณพร้อม

จะเกิดอะไรขึ้นหากเกิดเปลี่ยนใจในระหว่างการคลอด 

ผู้หญิงบางคนอาจเกิดเปลี่ยนใจในระหว่างการคลอดได้หากมีอาการเจ็บปวดอย่างหนักหน่วง และก็เป็นเรื่องที่ทำได้เสมอหากคุณต้องการ เช่น นั้น อย่ากดดันตัวเองมากนักหากการคลอดไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ คุณสามารถใช้ยาแก้ปวดได้เกือบตลอดเวลาในการคลอดบุตร ได้นานเท่านานจนถึงเวลาที่ศีรษะของเด็กเริ่มโผล่ออกมา ในช่วงต้นของการคลอดบุตร คุณอาจใช้การบล็อคหลัง หรือฉีดยาชา ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จะยอมให้คุณยังคงตื่นอยู่ และรู้ตัวในระหว่างการคลอด แต่จะมีความเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยาที่ใช้ในการทำให้ชา และบล็อคหลังมีแตกต่างกันหลายชนิด หนึ่งในยาบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ยาแก้ปวดชนิดเสพติด ซึ่งทำงานได้ดีเพราะช่วยบรรเทาความปวดได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการชา และควรไม่ส่งผลต่อทารก เช่น การฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าหลอดเลือดดำ บางชนิดจะเป็นยาที่อาจทำให้รู้สึกชาตั้งแต่เอวลงไป การฉีดยาชาจะเริ่มบรรเทาอาการปวดภายใน 20 นาทีหลังได้รับยา และสามารถอยู่ได้ตลอดการคลอดบุตร ส่วนการบล็อคหลังจะเริ่มบรรเทาเลยทันทีแต่อาจอยู่ได้เพียงหนึ่ง หรือสองชั่วโมงเท่านั้น คุณสามารถเลือกได้อย่างเดียวเท่านั้นในระหว่างการคลอดการบล็อคหลังขึ้นอยู่กับยาที่ใช้ ซึ่งจะทำให้เกิดความยากในการเบ่งคลอด การบล็อคหลังมักใช้ในช่วงท้ายของการคลอด การบล็อคหลังจะช่วยบรรเทาอาการปวดในช่องคลอด และทวารหนัก แต่จะช่วยให้คุณควบคุมกล้ามเนื้อหน้าท้อง และสามารถออกแรงเบ่งได้  แนวโน้มจะเกิดภาวะฉุกเฉิน อาการดังต่อไปนี้อาจเป็นสัญญานของภาวะแทรกซ้อนหลังการคลอดบุตร:
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดมาก
  • มีไข้สูง
  • มึนศีรษะ หรือหน้ามืด
  • ปวดศีรษะรุนแรงที่ไม่ยอมหายไป
  • มีการปวดในขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ขาเจ็บ หรือบวม
  • ปวดท้องแย่ลง หรือมีอาการปวดท้องอันใหม่เกิดขึ้น
หากคุณเป็นกังวลแม้จะไม่มีอาการดังกล่าง ควรปรึกษาแพทย์

เตรียมตัวคลอดแบบธรรมชาติ

การเตรียมตัวสำหรับการคลอดบุตรตามธรรมชาติเกี่ยวข้องกับการเตรียมการทางร่างกาย อารมณ์ และลอจิสติกส์ร่วมกัน คำแนะนำที่ครอบคลุมเพื่อช่วยคุณเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดบุตรตามธรรมชาติมีดังนี้:
  1. การให้ความรู้ก่อนคลอด: 
เข้าร่วมชั้นเรียนก่อนคลอดเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระยะของการคลอด เทคนิคการจัดการความเจ็บปวด และกระบวนการคลอดบุตร ชั้นเรียนเหล่านี้อาจครอบคลุมถึงการฝึกหายใจ เทคนิคการผ่อนคลาย และตำแหน่งสำหรับการคลอด
  1. สร้างแผนการคลอดบุตร: 
สรุปความต้องการด้านแรงงานและการคลอดบุตรในแผนการคลอดบุตร หารือเกี่ยวกับแผนนี้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับความต้องการทางการแพทย์ของคุณและนโยบายของสถานคลอดบุตร
  1. กระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดี: 
ออกกำลังกายสม่ำเสมอและปานกลางตลอดการตั้งครรภ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและรักษาสุขภาพโดยรวม ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณก่อนที่จะเริ่มกิจวัตรการออกกำลังกายใหม่
  1. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย: 
เรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจเข้าลึก ๆ การมองเห็น และการทำสมาธิ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดและลดความวิตกกังวลระหว่างการคลอดได้
  1. ฝึกนวดฝีเย็บ: 
การนวดฝีเย็บอาจช่วยลดความเสี่ยงของการฉีกขาดระหว่างคลอดบุตร ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถแนะนำวิธีการนวดฝีเย็บได้อย่างปลอดภัย
  1. จัดกระเป๋าไปโรงพยาบาล: 
จัดกระเป๋าที่มีสิ่งจำเป็นสำหรับการพักรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงเสื้อผ้าที่ใส่สบาย อุปกรณ์อาบน้ำ ขนม และของใช้ส่วนตัวที่จะทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากขึ้น
  1. แผนการเดินทาง: 
มีแผนการเดินทางไปสถานคลอดบุตร. คำนึงถึงทางเลือกการเดินทางของคุณ รวมถึงใครจะเป็นผู้ขับรถและเส้นทางที่คุณจะใช้
  1. การเตรียมจิตใจและอารมณ์: 
เตรียมพร้อมทั้งจิตใจและอารมณ์ด้วยการคิดบวก มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายสุดท้าย และอยู่รายล้อมตัวเองด้วยบุคคลที่คอยสนับสนุน ลองฝึกสติและเทคนิคการผ่อนคลาย โปรดจำไว้ว่าการคลอดบุตรเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและเปิดรับการปรับเปลี่ยนแผนการคลอดบุตรตามสถานการณ์ สื่อสารอย่างเปิดเผยกับทีมแพทย์และพยาบาลเพื่อแนะนำคุณตลอดกระบวนการ

บทสรุป

แพทย์ ผดุงครรภ์จะสามารถช่วยให้คุณมีความเข้าใจในกระบวนการต่างๆได้ดีขึ้น หากคุณสนใจการคลอดบุตรโดยปราศจากการใช้ยาให้ปรึกษาแพทย์เพื่อความถูกต้อง และหาวิธีที่ดีที่สุดในการวางแผนการคลอดของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://kidshealth.org/en/parents/natural-childbirth.html
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1595040/
  • https://www.babycenter.com/pregnancy/your-body/natural-childbirth_17
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด